ตุ่มขาวในช่องปาก ของลูกน้อย จะส่งผลให้ลูกเจ็บปวดจนกระทั่งดูดนมไม่ได้หรือเปล่า แล้วถ้าใช้ผ้าอ้อมเปื้อนฉี่ลูกเช็ดดูล่ะ จะช่วยรักษาได้ไหม คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนเกิดความสงสัยและกังวลเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้เราก็จะมาตอบข้อสงสัยนี้กัน ว่าที่จริงแล้วตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บ คืออะไร และจะส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยหรือเปล่า

ตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บ คืออะไร

สำหรับตุ่มขาวในปาก ที่พบในปากของลูกน้อย มีอีกชื่อหนึ่งที่คนโบราณเรียกขานกันว่า หละ ส่วนในทางการแพทย์ เรียกว่า Epithelial pearl หรือ Epstein pearl เนื่องจากมีสีคล้ายไข่มุก และมีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ สีออกขาวเหลือง โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร และจะพบได้ทั่วไปในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งมักจะขึ้นบริเวณกลางเพดานปากและเหงือกของทารก นอกจากนี้ยังสามารถพบตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บนี้ในบริเวณอื่นๆ เช่น ใบหน้า หัวนม และปลายอวัยวะเพศชายได้ด้วย โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตุ่มที่เหงือก จะเรียกว่า Bohn nodule

สาเหตุทำให้เกิดตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บ

คนโบราณเชื่อกันว่าตุ่มขาวในปากนี้เกิดจากเชื้อรา แต่สาเหตุการเกิดที่แท้จริงแล้ว เกิดจากการฝังตัวของ Keratin ที่อยู่บนผิวชั้นบนสุดของหนังกำพร้า โดยการรวมตัวกัน ทำให้เห็นเป็นตุ่มขาวๆ นั่นเอง อย่างไรก็ตามคุณแม่ต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นตุ่มขาวที่เกิดจากอะไรกันแน่

ตุ่มขาวในปากทารกอันตรายหรือไม่

เนื่องจากตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บที่พบเกิดขึ้นจากการกระจุกตัวรวมกันของเซลล์เยื่อบุ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อลูกน้อย โดยลูกสามารถดูดนมได้ตามปกติ ไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บปวด และการดูดนมนั้นยังทำให้เกิดการเสียดสีขึ้นด้วย จึงส่งผลให้ตุ่มขาวๆ นี้หลุดออกไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ รวมทั้งยังไม่เหลือรอยแผลเป็นใดๆ ไว้อีก ยกเว้นเสียแต่มีตุ่มขาวขึ้นเป็นจำนวนมาก หรือเป็นนานไม่หายเสียที คุณแม่อาจจำเป็นต้องพาลูกมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดโรคต่อไป

รักษาตุ่มขาวขุ่นในปากอย่างไร

การเกิดตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บ ของเด็กทารกถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งพบได้ถึง 80% ของทารก ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ต้องกังวล ซึ่งการรักษาก็แค่ปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร แล้วตุ่มขาวๆ นี้จะหลุดออกไปได้เอง ซึ่งคุณแม่ท่านไหนที่กำลังคิดว่าจะเอาเข็มมาบ่งล่ะก็ ขอเตือนว่าอย่าทำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกติดเชื้อและเป็นอันตรายได้นั่นเอง

สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อลูกมีตุ่มขาวในปาก

คุณแม่ที่มีผู้เฒ่าผู้แก่อาศัยอยู่ร่วมบ้านด้วย อาจต้องอธิบายถึงสาเหตุการเกิดตุ่มขาวหรือเม็ดสาคู ในปากนี้ รวมทั้งข้อไม่พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.ไม่บีบ

เมื่อคุณพบตุ่มขาวในช่วงแรกๆ อาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต่อมไขมัน เหมือนเช่นในผู้ใหญ่ ถ้าไปบีบเขา จะส่งผลให้ลูกเจ็บปวด รวมทั้งการนำมือเข้าปากลูกก็เสมือนเอาเชื้อโรคเข้าปากลูกด้วย

2.ไม่บ่ง

การใชัเข็มเล็ก ไปสะกิดที่บริเวณตุ่มขาวไม่ว่าจะในปากหรือตามใบหน้า และร่างกายย่อมทำให้ลูกเจ็บปวดและทำให้ลูกติดเชื้อโรคเพราะความสกปรกของเข็มได้

3.ไม่กวาดคอ

มีคุณแม่หลายคนเมื่อลูกเจ็บป่วยมักพาไปให้หมอโบราณกวาดคอให้ ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าลูกมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นควรพาไปลูกไปพบแพทย์แผนปัจจุบันดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสีย จากยาและมือที่สกปรกของหมอ ที่สำคัญตุ่มขาวในปากสามารถหายเองได้อีกด้วย

Sponsored

4.ไม่เช็ดด้วยผ้าอ้อมเปื้อนฉี่

คุณแม่ต้องหนักแน่นกับความคิดของตนเอง เพราะแพทย์ในปัจจุบันได้ยืนยันแล้วว่า ตุ่มขาวจะสามารถหายไปได้เอง จึงไม่ควรนำผ้าอ้อมที่เปื้อนฉี่ลูกมาเช็ดภายในปาก ด้วยหวังว่าจะทำให้ตุ่มขาวนั้นหายดังความเชื่อของคนโบราณ

ความรู้เพิ่มเติม จากคุณหมอ

ลักษณะตุ่มขาวแบบไหน ที่อาจเป็นอันตราย

ถึงแม้ว่าตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย แต่ก็ยังมีตุ่มขาวที่เกิดจากสาเหตุอื่น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้เหมือนกัน โดยคุณแม่บางคนอาจจะแยกไม่ออกและรู้สึกสับสนว่าตุ่มขาวที่พบในปากลูกนั้นปกติหรือไม่ ดังนั้นเราจะพาคุณแม่ไปดูกันว่า ตุ่มขาวแบบไหนที่อันตราย และควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วน

ตุ่มขาวในปากที่เกิดจากเชื้อรา

สำหรับตุ่มขาวที่เกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • เป็นตุ่มขาวนูนขึ้นมา
  • มีตุ่มขึ้นเยอะมาก
  • มักจะพบบริเวณเพดานปาก และกระพุ้งแก้ม
  • มีอาการเจ็บปวด ทำให้ลูกไม่ค่อยดื่มนม

ซึ่งหากพบว่ามีตุ่มขาวที่น่าจะเกิดจากเชื้อรา คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ ควรใช้ยาสีหมึกทาในปากลูก บริเวณที่มีตุ่มขาว โดยทาเป็นประจำต่อเนื่องวันละ 1-2 ครั้ง ตุ่มขาวจากเชื้อราก็จะค่อยๆ ยุบลงและหายเป็นปกติในที่สุด แต่ทั้งนี้หากทำแล้วอาการไม่ดีขึ้น ตุ่มขาวไม่ยุบลงเลย ก็ควรพาลูกไปหาหมอจะดีที่สุด

ตุ่มขาวที่ไม่ทราบสาเหตุ

บางครั้งในปากของลูกน้อยก็อาจมีตุ่มขาวที่ไม่ทราบสาเหตุได้เหมือนกัน โดยอาจขึ้นบริเวณใดในปากก็ได้ และมีอาการเจ็บ ซึ่งหากคุณแม่สังเกตดูแล้วไม่น่าจะเกิดจากเชื้อรา และไม่ใช่ตุ่มขาวปกติด้วย เพราะถ้าเป็นตุ่มขาวปกติจะไม่มีอาการเจ็บ ก็ให้พาลูกไปหาหมอทันที เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาอย่างถูกวิธีนั่นเอง

เมื่อคุณแม่รู้จักที่มาที่ไปของตุ่มขาวในปาก ไม่เจ็บดีแล้ว คงช่วยทำให้คลายความกังวลใจไปได้บ้าง แต่ทั้งนี้หากตุ่มขาวที่เกิดขึ้น มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น บวมและมีอาการเจ็บปวด ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ในทันที

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.6 คุณประโยชน์ของนมแพะ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

2.นมแพะดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยเสริม ที่ดีต่อลูกรัก