น้ำเดินก่อนกำหนดคลอด น้ำคร่ำที่อยู่ภายในถุงที่จะช่วยกันกระแทกและช่วยไม่ให้สายสะดือถูกกดทับจากตัวของทารก โดยปกติแล้วถุงน้ำคร่ำจะแตกหลังจากเริ่มเจ็บครรภ์จริงเมื่อครบกำหนดคลอด

น้ำเดินก่อนกำหนดคลอด

แต่การที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอดนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บครรภ์ และจะคลอดลูกน้อยในเวลาต่อมา และถ้าอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด ร่างกายของเด็กจะยังไม่แข็งแรงพอ เนื่องจากปอดและหัวใจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ลูกน้อยอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ ความแข็งแรง และน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งจะต้องอยู่ในตู้อบ หรือห้องไอซียู

เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก จะมีน้ำไหลออกมาทางช่องคลอดคล้าย ๆ กับปัสสาวะ ซึ่งจะไหลเรื่อย ๆ ทีละนิด แต่ไม่มีกลิ่นเหมือนปัสสาวะ ซึ่งเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้วคุณแม่จะต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะ เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้วลูกน้อยจะไม่สามารถลอยในน้ำคร่ำได้อีกต่อไป แต่จะตกลงมาที่ส่วนล่างของมดลูก และอาจไปกดทับสายสะดือได้ ทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะขาดเลือดกะทันหัน โดยที่คุณแม่นั้นอาจไม่รู้สึกปวดอะไรเลย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการน้ำเดินก่อนกำหนดคลอด

  1. มดลูกขยายตัวมากเกินไป เนื่องจาก ครรภ์แฝด เนื้องอกในมดลูก หรือน้ำคร่ำเยอะเกินไป
  2. ได้รับอุบัติเหตุที่กระทบต่อท้อง
  3. การสูบบุหรี่
  4. การดูแลสุขภาพของแม่ท้องที่ไม่ดีพอ
  5. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือช่องคลอด
  6. มีเลือดออกผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์
  7. เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน

การรักษาเมื่อมีน้ำเดินก่อนกำหนดคลอด

  1. แม่ท้องมีอาการติดเชื้อ

คือ มีไข้ น้ำคล่ำมีกลิ่นเหม็น กดที่มดลูกแล้วเจ็บ แม่ท้องจะถูกกระตุ้นเพื่อเร่งคลอดทันที เพราะการติดเชื้อนี้จะเป็นอันตรายได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อย โดยหลังคลอดแล้วคุณแม่และน้อยจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะไปอีก 2 สัปดาห์

Sponsored

2.  แม่ท้องไม่มีอาการติดเชื้อ โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ ดังนี้

  • อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะให้คุณแม่นอนพัก ฉีดยากระตุ้นความสมบูรณ์ของปอดทารกทุก 12 ชม. รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ให้ยาฆ่าเชื้อ 1 สัปดาห์ และถ้าเกิดคุณแม่เจ็บท้องขึ้นมา คุณหมอจะให้ยาหยุดการหดรัดตัวของมดลูก พร้อมกับวัดไข้และตรวจเลือดของคุณแม่เป็นระยะ เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ จนอายุครรภ์ของคุณแม่ได้ 34 สัปดาห์ หรือมากกว่านี้ ค่อยกระตุ้นให้คลอดลูกน้อย
  • อายุครรภ์ 34 – 37 สัปดาห์ คุณหมอจะกระตุ้นให้คลอดเลย ซึ่งแล้วแต่ดุลยพินิจของคุณหมอค่ะ และขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลนั้น ๆ ด้วยว่าจะดูแลเด็กที่คลอดก่อนกำหนดได้มากน้อยแค่ไหน
  • อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ คุณหมอจะกระตุ้นให้คลอดเลย เพราะถ้าคุณแม่มีน้ำเดินเกิน 24 ชม. จะเสี่ยงติดเชื้อทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยด้วยค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ฝากครรภ์ ทำไมต้องตรวจปัสสาวะทุกครั้ง เรามีคำตอบ

2.ฝากครรภ์ช้า แม่รู้ไหม ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด