ไวรัสลงกระเพาะ ในเด็กเล็ก โรคภัยไข้เจ็บของเด็ก ๆ นั้นสร้างความกังวลให้กับผู้เป็นพ่อและแม่พอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรค “ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก” ซึ่งมีความอันตรายสูง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคนี้และทราบถึงวิธีการป้องกันรักษาในเบื้องต้นทีมงานของเราจึงได้ทำการค้นหาข้อมูลมานำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาและป้องกันดังต่อไปนี้

โรคไวรัสลงกระเพาะในเด็ก

โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (Viral Gastroenteritis) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักและมีความสำคัญอย่างมากนั้นคือ เชื้อไวรัสโรต้า สำหรับการติดต่อนั้นจะเกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง อย่างเช่น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ หรือการคลุกคลีกับผู้ป่วย หรือไปสัมผัสกับสิ่งของที่มีเชื้ออยู่แล้วเอามือเข้าปาก โดยมีช่วงระยะฟักตัวหลังการสัมผัสโรคจนกระทั่งเกิดแสดงอาการจะใช้เวลาสั้นมากเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นจนถึงนานสุด 2 วัน โดยเริ่มจากอาการปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ เป็นเวลานานประมาณ 1 ถึง 5 วันต่อมาอาจมีการถ่ายเหลวอยู่อีกประมาณ 2-3 วัน หรืออาจนานเป้นสัปดาห์ โดยมักจะถ่ายเป็นน้ำในอุจจาระอาจมีมูกเลือด และอาจมีไข้ต่ำหรือสูงก็ได้

การนำอุจจาระไปทำการตรวจวินิจฉัย โรงพยาบาลบางแห่งอาจมีวิธีการตรวจที่จำเพาะกับเชื้อไวรัสโรต้า จึงทำให้สามารถทราบรายละเอียดและข้อมูลได้มากขึ้น ในรายที่มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเหลวรุนแรง จะมีอาการปวดท้องมาก หมอจะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบดูว่ามีอาการของโรคอื่น ๆ ที่คล้ายกันหรือไม่ อย่างเช่น โรคไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตัน โรคลำไส้กลืนกัน หรือ โรคแพ้นมวัว

จะทำอย่างไรเมื่อลูกป่วยเป็นโรคไวรัสลงกระเพาะ

  1. การดูแลรักษาในเบื้องต้นนั้น คือการให้ยาระงับอาการ อย่างเช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้อาเจียน ยาขับลม ยาแก้ปวดท้อง ดังนี้
    1 ยาแก้อาเจียน จะให้ยา Domperidone หรือ Motilium ขนาดช้อนชา (2.5 ซีซี) ต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม ให้ทานก่อนอาการครึ่งชั่วโมง วันละประมาณ 3-4 ครั้ง ไม่ควรกินยาแล้วกินอาหารในทันทีเพราะอาจทำให้เกิดการอาเจียนอีกได้
    1.2 ยาลับลมจะให้ยา Smimethicone แก้ท้องอืด และลดแก๊สในกระเพาะ กินครั้งละ 0.5 – 1 ซีซี ทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง
    1.3 ยาแก้ปวดท้องจะให้ยา Berclomine ให้ในรายที่มีอาการปวดเกร็งปวดบิด โดยให้ขนาดยาเหมือนกับยาแก้อาเจียน แต่จะกินหลังอาหาร
  2. ควรให้อาหารอ่อนย่อยได้ง่าย โดยให้ครั้งละน้อย ๆ เช่น ข้าวต้มให้ครั้งละ 5-6 คำ แต่ต้องให้บ่อย ๆ ไม่เลี่ยนมัน ควรชงนำให้จางกว่าปกติ ให้ดื่มครั้งละไม่เกินครึ่งหนึ่งของการดื่มปกติ เพื่อลดการทำงานหนักของลำไส้
  3. ให้จิบน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อลดอาการอ่อนเพลียจากการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย และไม่ควรให้น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเกลือแร่สำหรับผู้เสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา เพราะจะมีปริมาณน้ำตาลที่เข้มข้นมากจะทำให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้น
  4. งดของแสลง จนกว่าจะมีอาการที่ดีขึ้น เช่น ผักผลไม้ นมวัว ไข่ โดยอาจเปลี่ยนมาเป็นนมสูตรพิเศษ หรือนมแพะ หรืออาจเป็นนมถั่วเหลืองก็ได้ หากลูกไม่ยอมเปลี่ยนนม อาจชงนมเดิมให้กินแต่ให้อยู่ในปริมาณที่เจือจางให้มากที่สุด
  5. สำหรับเด็กที่ทานอาหารเสริมแล้ว หากชงนมผสมเจือจางแล้วยังมีอาการถ่ายเหลวไม่หยุด และไม่ยอมกินนมถั่วเหลือง ให้เน้นกินข้าวต้ม หรือโจ๊กใส่เนื้อสัตว์เล็กน้อย และใส่เกลือเล็กน้อย ควรงดนมวัวไปเลย พออาการดีขึ้นจึงค่อยกลับไปกินอาหารตามเดิมปกติ ไม่ควรรีบร้อนกลับไปกินอาหารเช่นเดิมโดยทันที เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียขึ้นใหม่ได้ กรณีลูกดูดนมแม่ สามารถให้ได้ตามปกติไม่ต้องงด
  6. ควรระวังก้นแดงจากการถ่ายบ่อย ต้องคอยเปลี่ยนผ้าอ้อมในทันทีอย่าปล่อยแช่เอาไว้นาน และควรพาไปล้างก้นด้วยน้ำธรรมดา ไม่ต้องอุ่นหรือใช้สบู่ เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งและเป็นผื่นได้ง่าย อาจทาวาสลีน หรือปิโตรเลียมเจลเคลือบผิวบริเวณก้น เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองจากเศษอุจจาระ และสามารถช่วยป้องกันก้นแดงได้
  7. ห้ามให้ยาหยุดถ่ายในเด็ก เพราะจะทำให้เชื้อโรคคั่งในร่างกายจนอาจเป็นอันตราจหรือมีอาการปวดม้วนท้องมากขึ้นได้

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยทันที

  • ลูกมีอาการอาเจียนอยู่ทั้งที่รับยาแก้อาเจียนไปแล้ว
  • ไม่มีอาการอาเจียนแต่กินอะไรไม่ได้เลย ซึมลง อ่อนเพลียมาก มีอาการขาดน้ำ และปัสสาวะออกน้อย
  • ถ่ายมีมูกเลือด มีกลิ่นแรง เหม็นคาว หรือถ่ายรุนแรงมากเป็นน้ำตลอด ควรนำอุจจาระไปให้โรงพยาบาลตรวจด้วย เพื่อส่งเข้าตรวจห้องปฏิบัติการและเพาะเชื้อ

การป้องกันไวรัสลงกระเพาะในเด็ก

Sponsored
  • ควรล้างมือเด็กให้สะอาด ก่อนจะหยิบอาหารเข้าปาก
  • กินอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น และไม่มีแมลงวันตอม
  • หลีกเลี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย หรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่เป็นโรค
  • ให้ลูกดื่มนมแม่ เพราะในนมแม่นั้นมีสารต้านไวรัสและแบคทีเรียรวมถึงเป็นการลดโอกาสการปนเปื้อนจากภาชนะที่ไม่สะอาด
  • ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคนี้ในเด็กเล็กแล้ว เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน

อย่างไรก็ตามหากพบอาการเบื้องต้นและเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อช่วยทำการวินิจฉัย และหาทางรักษาโดยด่วน เนื่องจากในตัวเด็กนั้นจะมีภูมิต้านทานน้อยกว่าผู้ใหญ่มากดังนั้น การถึงมือแพทย์ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก ๆ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าคะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ดัด ยืด ทำสีผมระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

2.ท้องแล้วก็สวยได้....วิธี สวยแบบปลอดภัย สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์