เมื่อคุณแม่มีลูกชายก็ย่อมจะมีความรูสึกดีใจที่จะได้มีลูกไว้สืบสกุล การมีลูกชายถึงแม้ว่าจะเลี้ยงดูง่ายกว่าลูกสาว แต่ก็มีบางรายที่เด็กชายเกิดก่อนกำหนดจะมีปัญหาเกี่ยวกับลูกอัณฑะไม่ไปอยู่ในที่ที่ควรอยู่ จนบางครั้งอาจจะมีผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวันของลูกได้ ซึ่งสาเหตุที่อัณฑะไม่ลงถุงเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ และการคลอดก่อนกำหนดมีผลต่อการเกิดอัณฑะไม่ลงถุงอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากคุณแม่กันแล้ว

อัณฑะไม่ลงถุงเป็นอย่างไร

โดยปกติลูกอัณฑะจะอยู่ในถุงอัณฑะซึ่งมี 2 ลูก ซ้ายและขวา แต่ในรายที่ถุงอัณฑะไม่ลงถุง จะทำให้มีการเคลื่อนตัวของลูกอัณฑะไปยังจุดอื่น ๆ เช่นอาจจะอยู่บริเวณขาหนีบ หรือในช่องท้อง โดยส่วนใหญ่จะรู้จักกันว่าโรคไส้เลื่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีการคลอดลูกที่โรงพยาบาลและมีการพบแพทย์ได้ง่ายกว่าในอดีต จึงทำให้สามารถแก้ไขได้ตั้งแต่การพบวัยแรกเกิด ทีมแพทย์จะให้คำปรึกษาและวางแผนในการรักษาในขณะที่ลูกยังเป็นเด็กเล็ก จึงสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

สาเหตุที่ทำให้อัณฑะไม่ลงถุง

อัณฑะไม่ลงถุงเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุกันเลย

1.ทารกมีน้ำหนักน้อยแรกเกิดน้อยเกินไป

2.ร่างกายสร้างเซลล์ต่าง ๆ ได้ไม่ดีพอจึงทำให้เกิดความพร่องในการทำหน้าที่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

3.เกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่ทำให้เซลล์ทำงานได้ไม่เต็มที่ เช่นในเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม

4.ได้รับสารเคมีบางอย่าง หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ หรือพ่อแม่สัมผัสกับสารเคมีที่กำจัดแมลงศัตรูพืช สารเหล่านี้จึงขัดขวางฮอร์โมนเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของอัณฑะ

5.เด็กอาจมีร่างกายที่ผิดปกติ โดยเฉพาะช่วงผนังหน้าท้อง ทำให้มีการขัดขวางการเคลื่อนตัวของอัณฑะ

6.แม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์

7.แม่อาจจะมีภาวะเบาหวานหรือเป็นโรคอ้วน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็มีดังต่อไปนี้

1.อาจจะส่งผลเสียในอนาคต คือเด็กจะเกิดภาวะเป็นหมัน หรือมีบุตรยากเนื่องจากการสร้างอสุจิผิดปกติ

2.เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ช่วงก่อนวัยกลางคน อาจมีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดเป็นมะเร็งบริเวณอัณฑะได้สูงกว่าคนปกติหลายเท่า

3.ในรายที่อัณฑะค้างอยู่บริเวณขาหนีบ และยังไม่ได้รับการรักษาให้ตรึงรั้งอยู่กับที่อาจทำให้เกิดอัณฑะบิดตัว หรือกระแทกจนทำให้ได้รับความเจ็บปวดได้ และอันตรายได้

Sponsored

วิธีการรักษา

การรักษาอัณฑะไม่ลงถุง แพทย์จะใช้การคลำดูว่าลูกอัณฑะของเด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติหรือไม่ แล้วก็มีการฝังตัวอยู่ในท้องของทารก หากคลำเจอลูกอัณฑะอยู่บริเวณหน้าท้องของทารก แพทย์ก็จะใช้วิธีดันให้อัณฑะกลับมาลงอยู่ในถุงอัณฑะ มีหลายรายที่แพทย์แนะนำให้รอดูไปจนเด็กมีอายุย่างเข้าเดือนที่ 4-6เดือนก็อาจจะหายได้เองทั้งนี้หากเด็กอายุครบ 6 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีก็จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและการรักษาทางยาต่อไป

การผ่าตัด

จำเป็นต้องรู้ตำแหน่งของอัณฑะที่คลำเจอด้วยว่าอยู่ตรงส่วนไหน หากพบอัณฑะอยู่บริเวณขาหนีบ ก็สามารถผ่าได้เลย แต่ในเด็กบางรายอาจจะมีลูกอัณฑะอยู่ในช่องท้อง ก็ต้องทำการผ่าทางหน้าท้อง ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่หรืออาจจะใช้การส่องกล้องผ่านทางหน้าท้องแล้วแต่ดุลพินิจของคุณหมอ ที่จะกำหนดเรื่องการผ่าตัด ทั้งนี้ต้องดูการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดด้วยว่าจะสามารถมองเห็นได้ในช่วงอายุ 4-12 เดือนหรือไม่ หากไม่ได้ทำการผ่าตัดในช่วงเวลานี้ ก็จะทำให้สูญเสียเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีที่ปลอดภัยและควรทำที่สุดก็คือช่วงประมาณ 6 เดือนแต่ไม่ควรเกิน 1-2 ปี

การรักษาทางยา

รักษาโดยการให้ฮอร์โมนฉีด 4-6 ครั้ง ซึ่งจะใช้ได้ดีในรายที่อัณฑะไม่ลงถุง 2 ข้าง แต่ก็อาจจะมีผลข้างเคียง คือทำให้เกิดความไม่สมดุลเกิดขึ้นได้ โดยอวัยวะเพศโตไม่เท่ากัน ในปัจจุบันนี้ได้ลดการใช้วิธีรักษาทางยาลงแล้วเนื่องจากให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย

วิธีการป้องกัน

คุณแม่สามารถป้องกันความผิดปกติ อัณฑะไม่ลงถุงได้ดังนี้

1.ฝากครรภ์เร็วที่สุด

การฝากครรภ์ทันทีที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ในการดูแลตัวเอง และทารกในครรภ์ พร้อมทั้งได้ตรวจครรภ์เป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะคลอด หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ก็สามารถแก้ไขได้

2.งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบหรี่และดื่มสุรา เพราะส่งผลเสียต่อตัวแม่และลูกน้อยในครรภ์ จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

3.ดูแลครรภ์ให้ดีเพื่อไม่ให้คลอดก่อนกำหนด

การประคับประคองดูแลครรภ์ไม่ให้มีการคลอดก่อนกำหนด โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้คลอดก่อนกำหนด หากทารกในครรภ์เป็นผู้ชาย ก็จะได้ไม่ประสบกับปัญหาอัณฑะไม่ลงถุง

หากคุณแม่มีกำหนดจะคลอดลูกชาย เมื่อลูกคลอดออกมาแล้วก็ควรลองสำรวจคลำอัณฑะของลูกดูนะคะว่า มีลูกอัณฑะอยู่ในถุงอัณฑะหรือไม่ หากคลำมาพบควรปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อจะได้รับคำแนะนำ และหาแนวทางในการรักษาต่อไปหากคุณแม่ไม่สังเกตและคลำดูแต่เนิ่น ๆ อาจจะส่งผลเสียต่อลูกโดยเฉพาะการเกิดอาการไส้เลื่อนซึ่งจะเจ็บปวดมาก

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม