ผลตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจสุขภาพครรภ์เริ่มได้ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ  ตรวจครรภ์โดยฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกน้อยในครรภ์ และการสอบถามถึงอาการต่าง ๆ ของคุณแม่ หากคุณแม่คนใดที่ตรวจพบว่า มีน้ำหนักตัวขึ้นน้อย และท้องมีขนาดเล็กกว่าปกติไม่เหมาะกับอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น

ผลตรวจอัลตราซาวด์

คุณหมอมักจะวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินดูภาวะของทารกน้อยในครรภ์ โดยคุณหมอจะตรวจวัดสัดส่วนของทารกตั้งแต่ศีรษะ ท้อง และกระดูกต้นขา ซึ่งจะสามารถคำนวณน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ได้ โดยใช้การตรวจอัลตราซาวนด์ และจะแสดงค่าให้เห็นที่ตัวเครื่องตรวจได้เลย

เรื่องน่ารู้ ผลตรวจอัลตราซาวนด์แม่นยำแค่ไหน??

สำหรับความแม่นยำในการตรวจประเมินทารกจากเครื่องอัลตราซาวนด์อาจเกิดคำถามขึ้นในใจของคุณพ่อคุณแม่ได้ว่า  จะแม่นยำแค่ไหน???

ทั้งนี้ขอบอกว่าขึ้นอยู่กับความชำนาญของคุณหมอที่ตรวจวัดด้วยค่ะ

คุณหมอที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการตรวจมาอย่างดี  เรียกว่า เชี่ยวชาญนั้น  แน่นอนว่า ผลการตรวจย่อมจะมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ถึงขนาดที่คุณหมอสามารถตรวจท่าทางของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในลักษณะใด  และสามารถตรวจวัดได้ดีหรือไม่ เช่น ถ้าศีรษะของทารกเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานมาก ขนาดของศีรษะจะล้ำเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานทำให้ไม่สามารถทราบขนาดจริงของศีรษะทารกได้

รวมถึงปริมาณของน้ำคร่ำที่มีอยู่ก็มีส่วนสำคัญ เพราะถ้าน้ำคร่ำน้อยก็จะทำให้การคาดคะเนหรือวัดสัดส่วนของทารกทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย

อายุครรภ์ที่มาตรวจหากอยู่ในไตรมาสแรกจะมีความแม่นยำสูงสุด แต่ถ้าอยู่ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จะมีความคลาดเคลื่อนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการเคลื่อนไหวของทารกน้อยขณะตรวจด้วยนะคะ

โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการทราบเพศ บางทีเจ้าหนูหนีบขาเอาไว้ก็ทำให้ไม่สามารถคาดเดาหรือคาดเดาผิดพลาดได้ หรือคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผนังหน้าท้องหนา เป็นต้น ล้วนมีผลต่อการตรวจได้ทั้งสิ้น

การชั่งน้ำหนักและประเมินขนาดมดลูกของคุณแม่ในการมาฝากครรภ์แต่ละครั้ง จะช่วยประเมินน้ำหนักของทารกในเบื้องต้นได้

ขนาดของมดลูก

สำหรับขนาดของมดลูก ถ้ามีขนาดเล็กผิดปกติ ไม่เหมาะสมกับอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น นั่นอาจหมายถึง ทารกตัวเล็กหรือน้ำหนักตัวน้อยได้ เช่น

ถ้าอายุครรภ์ 20 สัปดาห์หรือ 5 เดือน  มดลูกควรมีขนาดประมาณเท่ากับระดับสะดือ

Sponsored

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือ 8 เดือน มดลูกควรมีขนาดประมาณใต้ลิ้นปี่ สัก 1 ฝ่ามือ  เป็นต้น

หากคุณแม่ที่มีลักษณะของมดลูกที่ผิดปกติหรือมีผนังหน้าท้องหนาก็จะประเมินได้ยาก และเกิดความคลาดเคลื่อนสูง จำเป็นต้องใช้การอัลตราซาวนด์มาประตรวจประเมินร่วมด้วย

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวน้อยและการดูแลสุขภาพครรภ์

1.การพักผ่อน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง และควรหลับสนิทตลอดคืนจึงถือว่าเป็นการพักผ่อนที่มีคุณภาพ  แต่ในช่วงอายุครรภ์มากๆ อาจทำให้การนอนหลับไม่ค่อยสะดวกสบายมากนัก อาจใช้วิธีการนอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางวันก็จะดีมากค่ะ

2.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงผัก ผลไม้ที่มีกากใยจะช่วยในการขับถ่ายและลดอาการเกิดริดสีดวงในช่วงตั้งครรภ์ด้วย  รวมถึงดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8 – 10 แก้ว / วัน

3.ออกกำลังกาย  การออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์  การเดินถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกน้อย ด้วยการเดินเหยาะ ๆ วันละ 30 นาทีดีต่อสุขภาพครรภ์จริงๆนะคะ

4.ทำจิตใจให้แจ่มใส  อ่านหนังสือ  ฟังเพลง  พูดคุยกับคุณพ่อให้สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย  ถ้าได้นั่งสมาธิวันละ 10 -20 นาทีจะมีประโยชน์ต่อสมองของลูกน้อยอย่างยิ่งค่ะ

ร่วมแชร์บทความเพื่อมอบสาระความรู้เกี่ยวกับแม่ท้องและเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงวิธีการการเลี้ยงดูทารก และสารพันความรู้อีกมากมาย  ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอื่น ๆ มาร่วมสร้างสังคมออนไลน์ที่มีคุณภาพเต็มเปี่ยมไปด้วยสาระและเกร็ดความรู้ดี ๆกับเพจทีมคนท้องกันนะคะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์