ตรวจทริปเปิลสกรีน การตรวจร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ ก็เพื่อหาภาวะความผิดปกติของลูกน้อย ด้วย Triple Screen หรือ Triple Test นั้นถือว่าเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำมากถึง 70% การตรวจทริปเปิลสกรีน (Triple Screen) เป็นการตรวจโดยการเจาะเลือดของคุณแม่ เพื่อหาค่าของสารเคมีในเลือด ซึ่งสารเคมีดังกล่าวที่อยู่ภายในเลือดของคุณแม่นั้น มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันค่ะ นั่นก็คือ AFP (alpha-fetoprotein) เป็นโปรตีนที่สร้างจากตัวอ่อน, HCG (human chorionic gonadotropin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรก และ Striol (estriol) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากทารก และรก

การตรวจร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ ก็เพื่อหาภาวะความผิดปกติของลูกน้อย ด้วย Triple Screen หรือ Triple Test นั้นถือว่าเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำมากถึง 70% เลยทีเดียวค่ะ ในการตรวจ Triple Test นั่นก็เพื่อคัดกรอง 3 โรค ได้แก่ Down-syndrome กลุ่มอาการดาวน์, Open neural tube defect (ONTD) ความผิดปกติของท่อประสาทชนิดเปิด และ Trisomy 18 (โครโมโซมคู่ที่ 18 เกิน)

ตรวจทริปเปิลสกรีน Triple Screen Test

การตรวจแบบนี้ คุณแม่ต้องตั้งครรภ์ได้ 16 – 20 สัปดาห์ เพราะหลักการตรวจ Triple screening จะดูจากความสูงต่ำของสารที่ตรวจเป็นเกณฑ์ เพื่อหาค่าความผิดปกติที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ในกลุ่มอาการดาวน์ จะตรวจพบว่ามีค่า AFP, UE3 ซึ่งต่ำว่าปกติ และจะพบค่า HCG สูงกว่าการตั้งครรภ์ปกติ สำหรับทารกที่มีภาวะของ ONTD จะมีค่า AFP สูงกว่าปกติ และหากทารกกลุ่มอาการ Trisomy 18 จะมีค่า AFP, HCG และ UE3 ต่ำกว่าปกติทั้ง 3 ตัวนั่นเองค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ท่านใดที่ควรตรวจด้วย Triple screen

การตรวจแบบ Triple screening ควรตรวจกับคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีทุกคน ส่วนคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องการเจาะน้ำคร่ำ คุณแม่บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไม การตรวจแบบ Triple Screen ควรทำในคุณแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี นั่นเป็นเพราะ Triple screen เป็นการตรวจคัดกรอง ซึ่งสามารถทำได้ในหญิงตั้งครรภ์ปกติ เพราะคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะต้องรับการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโรคอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าการทำ Triple Test จะมีผลออกมาเป็น ลบ หรือ บวกก็ตามค่ะ

การเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อนำไป Triple Screen

แพทย์จะเจาะเก็บ Clotted blood จำนวน 5 มิลลิลิตร ในช่วงอายุครรภ์ 16 – 20 สัปดาห์ พร้อมกับกรอกข้อมูลใน Request Form แล้วจัดส่งไปยังห้องปฏิบัติการโดยแช่เย็น (ประมาณ 2 – 8 องศาเซลเซียส)

ความผิดปกติที่อาจพบได้

การตรวจ Triple screen เป็นการวัดฮอร์โมน 3 ตัวอย่างที่เราได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งมีทั้งสูงและต่ำ การแปลผลจึงต้องนำเอาอายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ เชื้อชาติ ประวัติการตั้งครรภ์ เพื่อมาประเมินความเสี่ยงว่าจะเกิดความพิการของทารกในครรภ์มากน้อยเพียงใด

ค่า AFP สูง อาจหมายถึงทารกมีความผิดปกติของระบบประสาท อย่างเช่น Spina bifida หรือ anencephaly ทั้งนี้ สาเหตุของค่า AFP ที่สูงนั้น อาจจะมาจากการที่คุณแม่จำวันประจำเดือนผิด จึงทำให้การคำนวณอายุครรภ์ผิดตามไปด้วย สำหรับค่า AFP ต่ำ และมีความผิดปกติของค่า HCG และ Estriol อาจจะมีความผิดปกติของพันธุกรรม อย่างเช่น Trisomy 21 (Down syndrome), Trisomy 18 (Edwards Syndrome) และโครโมโซมชนิดอื่น ๆ

การแปลผล

ในการตรวจ Triple Test เป็นการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเท่านั้น การตรวจนี้เพียงบอกว่าทารกอาจจะมีความเสี่ยงของพิการแต่กำเนิด หากผิดปกติแพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจซ้ำ และทำ Ultrasound แต่ถ้ายังเกิดผิดปกติอีก แพทย์อาจแนะนำให้การตรวจใหม่โดยการเจาะน้ำคร่ำอีกครั้ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เองค่ะ

Sponsored

การแปลผล จะมี Negative / positive test ถ้า positive test ต้องดูว่าโรคใด หาก positive for Down syndrome จะมีค่า HCG สูงกว่าปกติ (>2.0 MoM: MoM คือ Multiple of Median สูงเป็นกี่เท่าของค่ามัธยฐานของคนทั่วไป) ในขณะที่ AFP, UC3 ต่ำกว่าปกติ (<0.7 MoM) หมายถึง ทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลุ่มอาการดาวน์สูงกว่า คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 35 ปี (สูงกว่า 1:270)

แต่ถ้า positive for trisomy 18 นั่นคือทั้ง 3 ค่าต่ำมาก หมายถึงทารกจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Trisomy 18 สูงกว่า 1:100 และควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และหาก positive for ONTD หรือมีค่า AFP สูงกว่าปกติมาก ๆ (>2.5 MoM) แต่ค่าอื่นปกติ หมายถึง ทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Open NTD สูง โดยตรวจพบ AFP สูงกว่าค่าปกติเกิด 2 เท่า (Multiples of Median, MoM) ในกรณีเช่นี้ คุณแม่ควรทำการตรวจค่า AFP เพื่อยืนยันอีกครั้งค่ะ

ความแม่นยำในการตรวจ

  1. สามารถตรวจพบทารกเกิดภาวะ ONTD ได้มากกว่า 90%
  2. สามารถตรวจพบทารกเกิดภาวะกลุ่มอาการดาวน์ ONTD ได้ 70%
  3. สามารถตรวจพบทารกเกิดภาวะ Trisomy 18 ได้ถึง 60%

เมื่อผลการตรวจ Triple Test ผิดปกติ ทำไมต้องตรวจชนิดอื่นเพิ่มเติม

การที่ต้องตรวจเพิ่มเติมก็เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และเริ่มวางแผนในการรักษาต่อไปค่ะ สำหรับวิธีการตรวจแบบอื่น ๆ มีดังนี้

  • การเจาะตรวจน้ำคร่ำ
  • การตรวจอัลตราซาวด์
  • การตรวจเนื้อเยื่อรก
  • การเจาะเลือดจากสายสะดือ
  • การตรวจเลือด (Serum Screening)
  • การตรวจวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก (Nuchal Trnslucency)
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจ Nifty Test
  • การตรวจ Quad Test

ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ จะช่วยยืนยันอาการของทารกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น การตรวจของโรคต่าง ๆ ล้วนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้นค่ะ ถ้าหากคุณเกิดความสงสัยในการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ สามารถสอบถามไปยังแพทย์โดยตรงได้ เพื่อขอให้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์ และมีความหวังว่าลูกน้อยจะออกมาดูโลกภายนอกได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์ ควรรับการตรวจ และไปตามที่แพทย์นัดทุกครั้งด้วยนะคะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ฝากครรภ์ ทำไมต้องตรวจปัสสาวะทุกครั้ง เรามีคำตอบ

2.ฝากครรภ์ช้า แม่รู้ไหม ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด