โรคคอพอก เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีความอันตรายไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคนี้โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการขาดสารไอโอดีน แม้ว่า อาการคอพอก จะไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตทันทีเหมือนกับโรคอื่น ๆ แต่หากเกิดขึ้นแล้วไม่รู้จักรักษาอย่างถูกต้องก็อาจส่งผลกระทบหรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน วันนี้เราเลยจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่าเป็นอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร พร้อมกับวิธีดูแลและการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะการที่เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว

อาการคอพอก เกิดจากอะไร

โรคคอพอก เกิดได้จากหลายปัจจัยแต่โดยสาเหตุหลักที่พบมากที่สุดก็ คือ ภาวะขาดไอโอดีน ซึ่งถือเป็นสารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อร่างกายของคนเราได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลกระทบทำให้ต่อมไทรอยด์ต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ จนกระทั่งทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น และนอกจากนี้ผู้ที่ได้รับไอโอดีนจากอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กและทารก จะยิ่งมีความเสี่ยงก่อให้เกิด อาการคอพอก พร้อมกับส่งผลต่อการพัฒนาการทางสมองอีกด้วย ทำให้การได้รับสารไอโอดีนอย่างเพียงพอเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

โรคคอพอก มีอาการอย่างไร

อาการคอพอก  ที่เรามักจะเห็นได้อย่างเด่นชัดนั่นก็ คือ ต่อมไทรอยด์จะค่อย ๆ โตขึ้นจนทำให้ลำคอ บริเวณคอหอยบวม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการบวมเพียงเล็กน้อย และจะไม่มีอาการผิดปกติหรืออาการข้างเคียงใด ๆ แต่ในรายที่มี อาการคอพอก ขั้นรุนแรงอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยอาการที่แสดงชัดเจนมีดังนี้

  • อาการคอพอก  ชนิดเป็นพิษ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้าง และหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานตลอดเวลา พร้อมกับส่งผลให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว และแรง ใจสั่น เหนื่อยง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หงุดหงิด กินจุแต่น้ำหนักไม่ขึ้น น้ำหนักลด ขับถ่ายบ่อย กล้ามเนื้อต้นแขนต้นขามักอ่อนแรง
  • อาการคอพอก  ชนิดไม่เป็นพิษ เมื่อร่างกายขาดสารไอโอดีนจะทำให้มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ อาการที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ก็จะมีทั้งชนิดที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้นชัดเจน และชนิดที่ต่อมไทรอยด์ไม่โตกว่าปกติ ลักษณะอาการจะมีความเชื่องช้า ไม่กระฉับกระเฉง เหนื่อยง่าย เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมร่วงง่าย ท้องผูก พูดช้า เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนไทรอกซินต่ำ และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ได้ง่ายอีกด้วย หากพบในกลุ่มเด็ก และวัยรุ่นที่ขาดสารไอโอดีนก็จะมีพัฒนาการช้า ร่างกายแคระแกร็น ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อปัญหาด้านสติปัญญา

วิธีการรักษาโรคคอพอก

หลายคนเกิดคำถามว่าเมื่อมี อาการคอพอก เราจะสามารถรักษา โรคคอพอกนี้ได้อย่างไร ซึ่งก็จะมีการรักษาตามการวินิจฉัยของแพทย์ ดังนี้

  1. รักษาด้วยการรับประทานยา แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยที่มี อาการคอพอก ที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือภาวะไฮโปไทรอยด์ รับประทานยาที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ ในส่วนของผู้ป่วยไทรอยด์อักเสบอาจให้รับประทานยาต้านอักเสบ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาเอ็นเสด เป็นต้น
  2. รักษาด้วยการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดใหญ่มาก จนส่งผลกระทบต่อการหายใจ หรือการกลืนอาหาร แพทย์อาจจะวินิจฉัยการรักษาโดยการตัดเนื้อเยื่อบางส่วน หรือต่อมไทรอยด์ทั้งหมด และอาจจะใช้วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีก้อนเดี่ยวในต่อมไทรอยด์แบบมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้เช่นกัน

การป้องกันโรคคอพอก

สำหรับโรคนี้เป็นโรคที่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเราเองและคนรอบข้างได้ง่าย ๆ โดยมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังนี้

  1. โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะขาดไอโอดีน โดยปกติคนเราควรได้รับไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน หรือปริมาณเท่ากับเกลือเสริมไอโอดีน 1 ช้อนชา ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีนอย่างเพียงพอ เช่น อาหารทะเล และอาหารเสริมไอโอดีน โดยเฉพาะเกลือเสริมไอโอดีนที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสามารถช่วยป้องกันโรคได้
  2. เลือกทานอาหารที่หลากหลาย เน้นการกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก และสังกะสี เช่น ตับ เลือด ผักใบเขียว ไม่ว่าจะเป็น ผักคะน้า ถั่วเหลือง ผักโขม เห็ด ฟักทอง ถั่วขาว เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยอาหารเหล่านี้จะช่วยปรับสมดุลการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลา จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้ควรเลือกทานเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุด เพื่อการมีสุขภาพที่ดีในด้านอื่น ๆ ด้วยนั่นเอง

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคคอพอก เพราะฉะนั้นแล้วถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่อยู่ในกลุ่มร้ายแรง แต่การไม่เกิดโรคถือเป็นเรื่องที่ดีกว่าอย่างแน่นอน ดังนั้นเพื่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดี สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และถูกสุขลักษณะ จะช่วยให้คุณไม่เสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกหนึ่งการดูแลสุขภาพที่ดี ที่ทุกคนควรทำอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน

Sponsored

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่www.konthong.com
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์