มดลูกเอียง สาว ๆ หลายคนคงจะรู้จักกันแล้วว่ามดลูก เป็นที่ฝังตัวของรกและเป็นที่อยู่ของเด็กทารกตลอด ระยะเวลาของการตั้งครรภ์โดยเด็กทารกจะอยู่ในโพรงมดลูก หุ้มด้วยถุงน้ำคร่ำแล้วนั้น

มดลูกเอียง

มาทำความรู้จัก มดลูกเอียงกันดีกว่าว่าคืออะไร  จะมีบุตรยากมั้ย และถ้ามีบุตรจะแท้งมั้ย มดลูกเอียงเกิดจากภาวะเยื่อบุโพรง มดลูกเจริญผิดทำให้เกิดเนื้องอก หรือพังผืดขึ้นได้ เยื่อบุโพรงมดลูกคือส่วนที่บุอยู่ภายในมดลูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างประจำเดือนในแต่ละรอบเดือน  ผู้หญิงทุกคนต่างก็มีโอกาสที่จะเกิดการไหลย้อนทางของ ประจำเดือนในช่วงที่มีรอบเดือน และมีโอกาสที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะแพร่กระจายผ่านทางหลอดเลือด และท่อน้ำเหลืองกันทั้งนั้น เพียงแต่ความเสี่ยงที่มีอาจไม่เท่ากัน โดยพบว่าผู้หญิงที่มีระยะห่างระหว่างรอบเดือน ที่สั้นแต่ระยะเวลาที่มีประจำเดือนในแต่ละรอบยาวนาน มีโอกาสเกิดการไหลย้อนทางของประจำเดือนได้มากกว่า จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดเยื่อบุโพรงมดลูก เจริญผิดที่ อย่างไรก็ตาม การไหลย้อนทางของประจำเดือนก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรคนี้ในผู้หญิงทุกราย ทั้งนี้เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้ได้ ยกเว้นในบางรายที่การทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์ ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น อาการที่พบได้บ่อยได้แก่ เจ็บในอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia) ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และภาวะมีบุตรยากซึ่งสัมพันธ์กับการอักเสบและการเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกรานจากตัวโรคการวินิจฉัยโรค เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจภายในและ/หรือการตรวจทางทวารหนักเป็นสำคัญ เพื่อหาตำแหน่งและช่วยในการประเมินความรุนแรงของโรค ความผิดปกติที่อาจตรวจพบ ได้แก่ มดลูกเอียงหรือคว่ำหลังจากการมีพังผืดดึงรั้ง

หากรอยโรคของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไม่รุนแรงและผู้ป่วยมีภาวะมีบุตรยากร่วมด้วย การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดอาจไม่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ในกรณีนี้ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยเทคนิค ช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การกระตุ้นการตกไข่และฉีดน้ำเชื้อ การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นต้น

มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำ ภายหลังการผ่าตัดในการผ่าตัดเอารอยโรคของ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ออกนั้นทำได้เฉพาะกับรอยโรคที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเอาออกไม่หมด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาต่อภายหลังการผ่าตัดพบว่า มีโอกาสที่โรคจะกลับเป็นซ้ำได้ราวร้อยละ 5 ถึง 20 ต่อปี หรือร้อยละ 40 ในเวลา 5 ปี ดังนั้นผู้ป่วยที่ยังไม่ต้องการมีบุตรในทันทีจึงควรได้รับการรักษาต่อเนื่องด้วยการใช้ยาฮอร์โมน ส่วนในรายที่ต้องการมีบุตรนั้น ช่วงเวลาดีที่สุดที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์อยู่ในช่วง 1 ปีแรกภายหลังการผ่าตัด ซึ่งหากยังไม่ประสบผลสำเร็จ ก็ควรได้รับการรักษาด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ต่อไป ส่วนในกรณี ที่รอยโรคค่อนข้างรุนแรงและผู้ป่วยไม่ต้องการมีบุตรแล้ว การผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกทั้งหมด จะช่วยให้หายขาดจากโรคได้ แต่ก็มีข้อเสีย คือ ทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนเวลาอันควร ในกรณีนี้จึงอาจจำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยลดอาการต่าง ๆ ของภาวะวัยทอง ซึ่งฮอร์โมนที่ให้เสริมในวัยทองนี้  มีปริมาณฮอร์โมนน้อยเมื่อเทียบกับฮอร์โมนจากรังไข่จึงแทบไม่มี ผลกระตุ้นให้โรคกลับเป็นซ้ำในระหว่างที่ใช้ยา

ที่มา si.mahidol

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

Sponsored

1.15 วิธีผ่อนคลาย ความเครียดในคนท้อง จะรับมืออย่างไร

2.7 อาหารแก้เครียด ที่แม่ท้องควรกิน เช็คสิมีอะไรบ้าง