คุณแม่ที่เป็นมือใหม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เด็กทารกแรกคลอดนั้นกระหม่อมจะยังไม่ปิดสนิท และเมื่อสัมผัสดูก็จะรู้สึกถึงรอยบุ๋มจนน่าตกใจ เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนอันตรายกับกระหม่อมที่บอบบางของลูกน้อย วันนี้เราจึงได้นำวิธีดูแลทารกแรกเกิดที่ กระหม่อมบาง มาฝาก จะมีวิธีดูแลอย่างไรบ้างนั้นตามมาดูกันเลย

ทารกกระหม่อมบาง ดูแลอย่างไร

กระหม่อมของเด็กทารกถือเป็นจุดที่บอบบางบนศีรษะของลูกที่คุณแม่จะต้องคอยระมัดระวังให้มากๆ เพราะเด็กทารกแรกเกิด กระหม่อมบาง อ่อนนุ่มและยังมีรอยบุ๋มที่ยังปิดไม่สนิททั้งด้านหน้าผากและตรงท้ายทอย การดูแลกระหม่อมของเด็กทารกจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนทางศีรษะ โดยการดูแล กระหม่อมทารก แรกเกิดนั้นก็จะมีวิธีดูแลดังนี้

1.ระวังการถูกกระแทก กระทบกระเทือน

เนื่องจากทารกแรกเกิดนั้น กระหม่อมบาง ยังไม่ปิดสนิทมีเพียงเนื้อเยื่อบางๆ ที่ปกป้องเอาไว้ ช่วงระยะเวลา 0 – 3 เดือนนี้คุณแม่จะต้องระมัดระวังในเรื่องการถูกกระแทก หรือกระทบกระเทือนใดๆ เพราะข้างในมีสมองแต่ยังไม่มีกะโหลกห่อหุ้มอย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจะต้องคอยดูแลอย่างดี หากต้องสัมผัสจะต้องทำอย่างเบามือที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนกับศีรษะของลูกน้อย

2.ระวังเรื่องอุณหภูมิ

ทารกแรกเกิดที่กะโหลกยังไม่ปิดสนิท กระหม่อมบาง จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิห้อง ไม่ให้ร้อน หรือหนาวเกินไป เพราะจะทำให้เด็กป่วยไม่สบายได้ ทั้งนี้การอาบน้ำสระผมจะต้องคอยระมัดระวังประคองศีรษะลูกอย่างเบามือที่สุด และใช้น้ำอุ่นทุกครั้งที่อาบน้ำสระผมให้ลูก ถึงแม้อากาศข้างนอกจะร้อนก็ตาม

3.ท่านอนที่เหมาะสม

เด็กทารกแรกเกิด กระหม่อมบาง การให้ลูกนอนท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ จะทำให้หัวของเด็กบิดเบี้ยวได้ คุณแม่บางท่านกลัวว่าลูกจะนอนคว่ำและเกิดอันตรายจึงจับลูกนอนหงายตลอดเวลา จนทำให้ลูกหัวแบน ซึ่งท่านอนที่เหมาะสมเพื่อให้ศีรษะของลูกกลมสวย คุณแม่ควรจัดท่านอนให้ตะแคงซ้าย ขวา และนอนหงายสลับกัน ทั้งนี้หากห่วงเรื่องลูกนอนคว่ำและเกิดอันตรายควรหาหมอนหลุมสำหรับเด็กมาให้ลูกนอนจะทำให้มีศีรษะที่กลมสวยได้รูป

4.สังเกตดูกระหม่อมของลูกประจำ

ต้องคอยสังเกตดูกระหม่อมของลูกเป็นประจำ หากกระหม่อมยุบลง หรือนูนขึ้น ถ้าพบว่า กระหม่อมทารก ยุบลง และลูกมีอาการท้องเสีย อาเจียน และมีอาการตาโหลลึก อาการนี้แสดงให้เห็นว่าลูกอาจจะเกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง แต่หากกระหม่อมของลูกนูนขึ้น ไม่เต้นไปตามจังหวะของชีพจร พร้อมทั้งมีไข้ อาการนี้แสดงว่าลูกมีปัญหาด้านประสาทและสมอง ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

5.ระวังอย่าให้เกิดการกระทบกระเทือน

เพราะกระหม่อมของเด็กทารกบอบบางและยังไม่ปิดสนิท หากพบว่าลูกได้รับการกระแทกหรือกระทบกระเทือนทางศีรษะ กระหม่อมบาง และเด็กมีอาการซึม ไม่ยอมดื่มนม ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลด่วน เพราะนี่อาจจะเกิดการกระทบกระเทือนทางสมอง อาจจะอันตรายกับลูกได้

Sponsored

กระหม่อมทารกจุดไหนบอบบาง ต้องระวังที่สุด

เด็กทารกจะเกิดมาพร้อมกับกะโหลกศีรษะ 4 แผ่นมาประกอบกัน โดยส่วนของ กระหม่อมบาง จะอยู่ตรงด้านหน้าผากมีเยื่อบางๆ เชื่อมกระดูกทั้ง 4 แผ่นเอาไว้ให้ติดกัน แต่กะโหลกจะยังไม่ปิดสนิท ซึ่งจุดที่ยังไม่ปิดสนิทนั้นจะเรียกว่ากระหม่อม โดยมีเพียงเยื่อบางๆ ห่อหุ้มไว้เท่านั้น สำหรับจุดที่บอบบางและคุณแม่ควรระวังมากที่สุดก็มีดังนี้

  • บริเวณหน้าผาก เพราะจุดนี้จะยังไม่ปิดสนิทมีเพียงเนื้อเยื่อบางๆ ห่อหุ้มไว้เท่านั้น หากถูกการกระทบกระเทือนจะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้ เราจะสังเกตเห็นจุดนี้คือมีชีพจรเต้นตุบๆ อยู่ตลอดเวลา
  • บริเวณท้ายทอยที่กะโหลกยังไม่ปิดสนิท การดูแล กระหม่อมบาง นี้ไม่มีอะไรมากเพียงแค่ไม่ไปจับหรือกดตรงบริเวณนั้นแรงๆ และบ่อยเกินไป

กระหม่อมทารกจะปิดสนิทเมื่อไหร่

กระหม่อมเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะที่ยังไม่ปิดสนิท ซึ่งจะอยู่ถัดจากส่วนที่สูงที่สุดลงมากลางใกล้ๆ กับหน้าผาก เป็นส่วนที่ศีรษะยังไม่เชื่อมต่อกันหรือปิดสนิท จึงเกิดเป็นช่องบุ๋มนิ่มๆ บนศีรษะจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตำแหน่งคือ กระหม่อมที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม บริเวณเลยหน้าผากขึ้นมา และกระหม่อมที่เป็นรูป 3 เหลี่ยมบริเวณท้ายทอย กระหม่อมทารก ด้านหน้าจะปิดเมื่ออายุประมาณ14 – 18 เดือน และกระหม่อมท้ายทอยจะปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไปนั่นเอง

เพราะเด็กทารกแรกเกิดจะยังไม่มีกะโหลกศีรษะที่ครบถ้วน จะยังมีรูบุ๋มบริเวณ กระหม่อมบาง และท้ายทอย มีเพียงเยื่อบางๆ คอยห่อหุ้มไว้เท่านั้น เพราะฉะนั้นการดูแลลูกน้อยวัยทารกแรกเกิดคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยระมัดระวังให้มากๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนศีรษะและสมองของลูกน้อย และไม่ควรใช้มือจับหรือกดบริเวณศีรษะที่ยังบุ๋มอยู่ เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้ หากพบว่าเกิดการกระทบกระเทือนศีรษะของลูกน้อย และลูกน้อยมีอาการซึม ไม่ยอมดื่มนม ให้รีบมาพบแพทย์ เพราะอาจจะเกิดการกระทบกระเทือนศีรษะจนอันตรายไปถึงสมองได้นั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่ https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about growing up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.8 วิธีให้ อาหารลูกน้อย กินแล้วสุขภาพดี

2.เริ่ม อาหารเสริมลูกน้อย อย่างไรให้ปลอดภัย