เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ย่างเข้าไตรมาสที่ 2 ซึ่งช่วงนี้คุณแม่หลายท่านอาจจะทุเลาจากอาการแพ้ท้องลงบ้างแล้ว และสามารถกินอาหารได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตามปกติแล้วทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ แต่ในคุณแม่บางคนกลับพบว่าทารกน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร โดยเกิดจากอะไร และหากลูกในครรภ์โตช้าจะเป็นอันตรายไหม ก็ต้องไปดูกันเลย
สาเหตุทำให้ลูกในครรภ์โตช้า
การที่ลูกในครรภ์โตช้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1.สาเหตุจากคุณแม่
สาเหตุที่มาจากคุณแม่ทำให้ทารกเติบโตช้า จากการสำรวจพบว่าในคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจทำงานผิดปกติ หรือคุณแม่ที่อยู่ในภาวะซีด จนเป็นสาเหตุทำให้การส่งออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ไม่ดีพอ ทำให้ทารกมีการเติบโตช้า นอกจากนี้ยังพบว่าในคุณแม่ที่ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อลูกในครรภ์ โดยเฉพาะทำให้เกิดความปกติต่อรก ทำให้รกเสื่อมเร็ว จึงไม่สามารถนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ปกติ ส่งผลให้ทารกในครรภ์เติบโตช้าในที่สุด
2.สาเหตุจากลูกน้อย
สำหรับสาเหตุจากทารกนั้น เกิดมาจากการที่โครโมโซมผิดปกติ เช่น เด็กดาวน์ซินโดรม ซึ่งมีความผิดปกติพิการแต่กำเนิดหรือในรายที่มีครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ทำให้การเชื่อมต่อของหลอดเลือดผิดปกติ เพราะมีการถ่ายเทเลือดระหว่างเด็กด้วยกันที่ไม่ปกตินั่นเอง จึงทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ก็อาจเกิดจากการที่ทารกติดเชื้อหัดเยอรมันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งทำให้เซลล์ในร่างกายของทารกไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ทารกจึงตัวเล็กกว่าเกณฑ์นั่นเอง
3.สาเหตุจากมดลูก รก หรือสายสะดือ
สาเหตุที่เกิดจากมดลูกส่วนใหญ่จะส่งผลให้มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นในมดลูกจึงทำให้ขนาดของมดลูกแคบลงการเจริญเติบโตของทารกได้ไม่ดีพอ หรือเนื้องอกที่มดลูกทำให้มดลูกเกิดบิดเบี้ยวผิดรูป นอกจากนี้ยังเกิดจากการที่รกเกาะต่ำ รกเสื่อม หรือมีเนื้องอกของรก และรวมถึงการที่สายสะดือพันกันผูกเป็นปมจนทำให้สารอาหารส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ไม่ดีพอ เป็นสาเหตุทำให้เด็กน้ำหนักตัวไม่ดี และมีการเจริญเติบโตช้า
ลูกในครรภ์โตช้าอันตรายไหม
เมื่อลูกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ซึ่งคุณแม่ได้ทราบสาเหตุแล้ว ก็อาจจะมีความกังวลใจว่าอาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตลูกในครรภ์หรือไม่ จากการที่มีเคสคนไข้ศึกษาของแพทย์ จึงทำให้ทราบว่าการที่ทารกเจริญเติบโตช้าหากอยู่ในระดับไม่รุนแรงมาก สามารถแก้ไขได้ทัน ก็จะไม่ส่งผลเสียถึงขั้นเสียชีวิต เช่น ในกรณีที่คุณแม่มีโรคประจำตัวเมื่อได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดก็สามารถรักษาและแก้ไขได้ทัน จึงทำให้ลูกในครรภ์เจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่วนในรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งเป็นเคสที่ทารกมีความพิการแต่กำเนิด หรือเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ก็จะเป็นการยากที่จะให้ทารกมาเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือลูกในท้องได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงส่งผลไปถึงอวัยวะอื่นด้วยทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างเต็มที่ ทารกผลิตปัสสาวะได้น้อย จึงทำให้ปริมาณน้ำคร่ำนั้นมีปริมาณน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งในกรณีที่รุนแรงมากอาจทำให้น้ำคร่ำไม่มีเหลืออยู่เลย จึงทำให้ถูกสายสะดือกดทับมากขึ้น และมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง เป็นผลให้ทารกขาดเลือด หากตรวจพบแพทย์ก็จะทำการผ่าคลอดก่อนกำหนดทันที เพราะอาจทำให้หัวใจทารกในครรภ์เต้นผิดจังหวะ ถ้าเกิดในคุณแม่ที่ครรภ์ยังไม่ครบกำหนดคลอด ก็จะทำให้ทารกที่ได้รับการช่วยเหลือผ่าคลอดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะปอดไม่ขยายตัว ไม่สามารถหายเองได้ อาจมีเลือดออกในสมองร่วมด้วย ตลอดจนทำให้ลำไส้ขาดเลือดและผลเสียต่างๆ ตามมาอีกมาก ทารกอาจมีความพิการ หรือเสียชีวิตได้เลย
วิธีรับมือและป้องกันทำอย่างไร
การป้องกันรับมือปัญหาลูกในท้องโตช้าสามารถทำได้ แต่ก็ไม่อาจป้องกันได้ทั้งหมด ซึ่งดังที่ทราบอยู่แล้วว่าสาเหตุบางอย่างก็อยู่เหนือการควบคุม แต่ทั้งนี้คุณแม่ก็สามารถช่วยป้องกันได้ด้วยตัวคุณแม่เอง โดยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ดังนี้
- คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวให้ควบคุม และรักษาดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- รับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ และตัวคุณแม่ในปริมาณที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือสูดดมสารที่อาจก่ออันตรายให้เกิดต่อทารกในครรภ์
- พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักจนเกินไป
- สังเกตอาการ และจดบันทึกจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่แออัด หรือชุมชนเพื่อป้องกันการติดเชื้อชนิดต่างๆ
คุณแม่ที่ตรวจพบเจอว่าทารกในครรภ์เติบโตช้า เนื่องจากการที่คุณแม่มีโรคประจำตัวก็ควรจะรักษาและควบคุมโรคให้ดี กินยาและดูแลตัวเองตามที่คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลใจเรื่องยาว่าจะส่งผลเสียต่อการให้นมลูกในวันที่ลูกคลอดแล้ว เพราะหากแพทย์ได้จ่ายยามาให้แล้ว ย่อมแสดงว่าปลอดภัยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อลูกน้อยนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกตายคาท้อง เพราะพยาบาลไม่ใส่ใจ แม่สลด!! ร้องขอความเป็นธรรม
2.เตือนภัย!! ลูกเกือบตาย เพราะอันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ทันคาดคิด