ปล่อยลูกร้องไห้ เป็นระยะเวลานาน … พฤติกรรมของเด็กทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน อาจมีความซับซ้อนจนคุณแม่มือใหม่หลายท่านเกิดความกังวล หรือมีความเชื่อความเข้าใจแบบผิด ๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมการร้องไห้ของเด็กเล็ก ที่ว่า การร้องไห้เป็นเวลานานจะทำให้ปอดใหญ่ ถ้าคุณแม่ปล่อยให้ลูกร้องไห้เป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ปอดแข็งแรง และมีร่างกายที่สมูบรูณ์แข็งแรงสามารต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ แต่คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การปล่อยให้ลูกร้องไห้เป็นเวลานาน ๆ อาจมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อพัฒนาการของลูกได้

ทั้งนี้ เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับการร้องไห้ของลูกมาให้คุณแม่ได้ทราบกันว่า การร้องไห้เป็นเวลานานมีผลอย่างไรต่อสุขภาพของลูกรักบ้าง มาค้นหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ

การร้องไห้กับพฤติกรรมของเด็ก

เด็กแรกเกิดโดยทั่วไป คุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกร้องไห้บ่อย แต่ละครั้งใช้เวลานานหลายนาที จนอดสงสัยไม่ได้ว่าการร้องไห้เป็นเวลานาน ๆ ของลูกนั้นจะมีผลอะไรหรือไม่ และต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ลูกร้องไห้เป็นเวลานาน ก่อนอื่นคุณแม่จะต้องทราบก่อนว่า พฤติกรรมของเด็กทารกนั้นเป็นอย่างไร สาเหตุของการร้องไห้งอแงเพราะเหตุใด เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กทารกที่พบว่าชอบร้องไห้ปล่อย ๆ การร้องไห้ในแต่ละครั้งใช้เวลานานหลายนาที หรืออาจจะเป็นชั่วโมงก็มีค่ะ

สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กทารกร้องไห้โดยทั่วไปมีดังนี้ค่ะ

  1. เมื่อลูกรู้สึกหิว เด็กทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนจะตื่นมากลางดึกแล้วร้องไห้ นั่นเป็นเพราะลูกรู้สึกหิวค่ะ แต่การร้องไห้เป็นเวลานานบางครั้งก็ไม่ได้หมายรวมว่า ลูกหิวนะคะ คุณแม่จะต้องสังเกตถึงอาการอื่นๆ เช่น ลูกถ่ายหรือไม่ ลูกมีอาการปวดเมื้อยบริเวณใด หรือลูกไม่สบายตัว แล้วไม่รู้จะสื่อสารให้คุณแม่ทราบได้อย่างไร จึงทำได้เพียงแค่ร้องไห้เท่าอนั้น
  2. ร้องไห้เพราะเหนื่อย หรือถูกกระตุ้นมากเกินไป เช่น ก่อนจะเข้านอนคุณแม่เล่นกับลูกน้อยนาน ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่เสมอ จนลูกเหนื่อย เมื่อยตามตัวจนไม่สามารถนอนหลับได้ จึงทำได้เพียงร้องไห้ให้คุณแม่เข้าไปดูแล เอาใจใส่
  3. เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น เมื่อคุณแม่เคลื่อนไหวร่างกายของลูกเร็วเกินไป การเปลี่ยนเสื้อผ้าในช่วงอากาศเย็น การให้ลูกอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูง และการอุ้มผิดจากท่าปกติ หรือให้ผู้ดูแลอุ้มแทน การกระทำเหล่านี้ส่งผลให้เด็กเกิดอาการกลัว และร้องไห้ออกมาไม่หยุดได้เช่นกันค่ะ

ระยะเวลาในการร้องไห้ของเด็กโดยทั่วไป

ช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังจากลูกน้อยได้สัมผัสกับโลกกว้าง ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่ลูกจะร้องไห้มากที่สุดค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 – 6 สัปดาห์ ลูกก็ยังคงร้องไห้ต่อเนื่องและอาจเพิ่มความรุนแรงขึ้น แต่เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือน การร้องไห้ก็จะค่อย ๆ ลดลงไป ซึ่งเด็กวัยนี้จะร้องไห้เพื่อแสดงความรู้สึกให้คุณแม่ได้รับรู้ โดยเฉพาะเด็กที่ยังพูดไม่ได้ การร้องไห้ของพวกเขาอาจหมายถึงคำว่า “ไม่” เพื่อให้คุณแม่หยุดการกระทำบางอย่างที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น เช่น คุณแม่ต้องการให้อาบน้ำ แต่ลูกร้องไห้ พวกเขาอาจต้องการให้คุณแม่ทราบว่า หนาวไม่อยากอาบ ต้องการให้คุณแม่อุ้มไว้ เป็นต้น

แต่สำหรับเด็กที่มีอายุมากว่า 6 เดือนไปแล้ว ยังพบว่ามีการร้องไห้หนัก ๆ อยู่ โดยไม่ทราบสาเหตุ คุณแม่อาจจะต้องไปพบแพทย์และขอคำปรึกษา เพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไปค่ะ

การร้องไห้เป็นเวลานานมีผลกับสมองอย่างไร

ช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการพัฒนาสมองของลูก ก็คือช่วงแรกเกิดถึง 5 ขวบ สมองของเด็กวัยแรกเกิดจะทำการเชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งพัฒนาการของสมองที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณแม่เป็นหลัก ช่วงเวลานี้เองที่สมองของลูกจะได้รับอิทธิพลจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมโดยรอบ และจากประสบการณ์ทางด้านอารมณ์ของคุณแม่โดยตรง สมองสามารถกำหนดอารมณ์ด้านต่าง ๆ ของลูกออกมาในเบื้องต้นได้ ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณแม่อยู่ค่ะ ไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยรูปแบบใดก็ตาม คุณแม่เคยสังเกตบ้างไหมค่ะ ช่วงเวลาที่ลูกร้องไห้ ลูกจะแสดงอารณ์และสีหน้าที่ต่างกันออกไป จากการร้องไห้นี้สามารถทำให้คุณแม่ทราบถึงความต้องการของลูกในทันที

ผลกระทบที่เกิดจากการร้องไห้ของเด็กนั้น ไม่มีผลอะไรต่อสมองค่ะ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ๆ เกิดจากการที่คุณแม่ปล่อยให้ลูกร้องไห้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปลอบการอุ้มจากคุณแม่ หรือคนในครอบครัวเลย โดยปล่อยให้ลูกร้องไห้ไปอย่างยาวนาน จนกระทั่งลูกเหนื่อยแล้วหลับไปเอง การกระทำเช่นนี้ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของลูกมากค่ะ เพราะการปล่อยให้ลูกร้องไห้เป็นเวลานาน จะทำให้ลูกเกิดภาวะความเครียดอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการพัฒนาต่าง ๆ เนื่องจากเมื่อเด็กเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารเคมีความเครียดออกมาจากสมอง ซึ่งมีผลในระยะยาวต่อสภาวะจิตใจ และการเรียนรู้ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ช้าลงได้ค่ะ ทั้งนี้การที่คุณแม่บางท่านปล่อยให้ลูกร้องไห้นานอาจจะเกิดจากความเชื่อแบบผิด ๆ บางอย่างก็ได้เช่นกัน ซึ่งคุณแม่ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างนี้ดูค่ะ

Sponsored

ความเชื่อแบบผิด ๆ เกี่ยวกับการร้องไห้ของลูกน้อย

คนสมัยก่อน อาจมีความเชื่อที่ผิด ๆ หลายอย่าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูลูก ซึ่งหนึ่งในความเชื่อที่ว่า “การปล่อยให้เด็กร้องไห้เป็นการบริหารปอด ซึ่งอันที่จริงการร้องไห้เป็นเวลานานมีผลต่อสมองและพัฒนาการของเด็กมาก ๆ ค่ะ เพราะการปล่อยให้ร้องไห้เป็นเวลานาน สมองของเด็กจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด “คอร์ติโซล (Cortisol)” ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะหลั่งสารอะดีนารีนออกมา เมื่อร้องไห้นาน ๆ สารตัวนี้จะออกมาในปริมาณที่มาก ซึ่งสารดังกล่าวเป็นตัวการสำคัญในการทำร้ายเซลล์ประสาท และขัดขวางพัฒนาการของสมอง ส่งผลให้สมองของลูกมีพัฒนาการช้า ไม่สมบูรณ์สมวัยนั่นเองค่ะ

ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกร้องไห้ต่อเนื่องเป็นเวลานานนะคะ เพราะอาจทำร้ายลูกในระยะยาวได้ พัฒนาการทางสมองเป็นเรื่องสำคัญ ที่ลูกจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับพัฒนาการด้านต่างๆ ที่ดีสมวัย เมื่อพวกเขาเติบโตก็จะสามารถใช้ความสามารถที่ตนมีได้อย่างเต็มที่ ถ้าคุณรักลูกก็อย่างปล่อยให้พวกเขาร้องไห้นานนะคะ ลองเสียสละเวลาอุ้มบ้าง พูดคุยกับเขาบ้าง การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ และยอมทำตามที่คุณแม่ต้องการโดยง่ายค่ะ

ขอบคุณรูปภาพจาก : livescience

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ