คุณพ่อคุณแม่ที่ยังเป็นมือใหม่อาจจะตกใจ หากพบว่าลูกมีอาการบิดตัวบ่อยๆ เพราะกลัวว่าลูกน้อยจะเป็นอะไรหรือไม่ และทำไมลูกน้อยถึจึงทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบาย มีอาการบิดตัวแบบนี้ อาการบิดตัวของเด็กทารกนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะถือเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติของเด็กอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการที่ ทารกบิดตัวบ่อย เกิดจากอะไร และจะเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านได้รู้กัน
สาเหตุที่ทำให้ ทารกบิดตัวบ่อย
อาการ ทารกบิดตัวบ่อย เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน ถือเป็นปฏิกิริยาทางร่างกายโดยธรรมชาติของเด็ก ซึ่งก็มีทั้งเป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย โดยทางการแพทย์คุณหมอเคยกล่าวไว้ว่า เด็กนอนบิดตัวบ่อยๆ เพราะเป็นอาการคลายความกังวล โดยแสดงปฏิกิริยาออกมาทางร่างกาย ซึ่งคล้ายๆ กับผู้ใหญ่หลังจากที่นอนตื่นแล้วมักจะมีการบิดตัวเพื่อให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ทางการแพทย์เรียกปฏิกิริยานี้ว่าการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย หลังจากที่ใช้เวลานอนเป็นเวลานานๆ
ทารกบิดตัวบ่อยอันตรายไหม
ทารกบิดตัวบ่อย เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน แต่ก็มีทั้งอันตรายและไม่เป็นอันตราย หากเป็นการบิดตัวตามธรรมชาติก็ไม่น่ากังวล แต่ถ้าเป็นการบิดตัวที่เกิดจากความผิดปกติในร่างกาย หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงก็อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทารก 2 เดือนจะเริ่มมีการบิดตัว คุณแม่จึงควรสังเกตให้ดีว่าลูกบิดตัวเพราะอะไรกันแน่
อาการบิดตัวจากการดื่มนมมากไป
อาการ ทารกบิดตัวบ่อยที่เกิดจากการดื่มนมหรือที่เรียกว่าภาวะ (Over Feeding) หรือการให้นมมากเกินไปจนเกิดอาการผิดปกติทางเดินอาหารของเด็ก เนื่องจากว่าระบบย่อยของเด็กยังไม่แข็งแรงในเมื่อคุณแม่ให้ดื่มนมมากจนเกินไป จึงทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายตัว ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
1.บิดตัวไปมาผิดปกติและแหวะนมบ่อย
เด็กทารกเมื่อให้นมมากเกินไปจนร่างกายไม่สามารถย่อยได้ก็มักจะมีปฏิกิริยาแหวะนมออกมาหรือมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งอาการนี้ไม่เกี่ยวกับความสะอาดของนมแต่อย่างใด แต่มาจากคุณแม่ให้ลูกดื่มนมมากจนจนทำให้ลูกไม่สบายตัว เป็นไข้ หากลูกมีอาการบิดตัวบ่อยๆ คุณแม่พยายามสังเกตให้ดี ว่าอาการบิดตัวนี้เกิดจากเมื่อยหรือเกิดจากท้องเสีย
2.ลูกมีเสียงร้องผิดปกติ
เนื่องจากว่าเด็ก ทารก 2 เดือน ยังไม่สามารถที่จะสื่อสารแสดงความรู้สึกใดๆ ออกมาได้เมื่อไม่สบายตัวจึงมักจะร้องไห้ออกมาเสียงคล้ายแกะคล้ายแพะโดยเฉพาะหลังจากที่ดื่มนม หากพบว่าลูกน้อยมีอาการนี้หลังจากดื่มนมจากขวดหรือหลังจากออกจากเต้า ร้องเหมือนมีอะไรติดอยู่ในลำคอ นั่นแสดงว่าเป็นอาการรับนมมากจนเกินไป
3.ลูกร้องเสียงครืดคราด
โดยปกติแล้วเด็กทารกจะมีกระเพาะความจุอาหารค่อนข้างน้อย และระบบย่อยอาหารยังไม่แข็งแรง หาคุณแม่ให้นมมากเกินไปจนท้องอืด ลูกน้อยจะมีอาการปฏิกิริยาทางร่างกายออกมาคือ ร้องไห้ งอแง และมีเสียงดังครืดคราดในลำคอคล้ายๆ กับมีเสมหะอยู่ข้างใน นั่นหมายความว่าลูกได้รับนมมากเกินไปจนล้นออกมาในลำคอ ซึ่งทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนมบ่อยด้วยนั่นเอง
อาการบิดตัวจากโคลิค
อีกหนึ่งอาการที่พบบ่อยจากการบิดตัวของเด็กทารก นั่นก็คือ บิดตัวเพราะเกิดจากโรคโคลิค อาการโคลิคในเด็ก หรือเด็กที่มีอาการร้องไห้ติดต่อกันยาวนานโดยหาสาเหตุไม่เจอ โคลิคเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกที่มีอายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึง 3 เดือน ซึ่งเด็กจะมีภาวะร้องไห้หนักและร้องไห้นานแต่หาสาเหตุไม่ได้ โดย ทารกบิดตัวบ่อย ที่เกิดจากโคลิกก็จะมีอาการดังนี้
1.ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
หากพบว่า ทารกบิดตัวบ่อย ร้องไห้ บิดตัวไปมาคล้ายกับเด็กเอาแต่ใจ โดยที่หาสาเหตุไม่เจอ ไม่ว่าจะพาไปพบแพทย์มาแล้วแต่ก็ยังไม่รู้สาเหตุ อาจเกิดจากการบิดตัวจากโรคโคลิคก็เป็นได้
2.ร้องไห้แผดเสียงคล้ายกับโมโห
ลูกมีอาการร้องไห้ แผดเสียงดังคล้ายกับคนโมโห ร้องไห้แทบขาดใจ เหมือนไม่สบาย มีอาการบิดตัวไปมาเหมือนกับกำลังเจ็บปวด มีปฏิกิริยางอแขน งอขาเข้าหาหน้าท้อง กำมือแน่นคล้ายจะทำร้ายตัวเอง
3.ร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน
หากลูกมีอาการโคลิคจะมีอาการร้องบิดตัวไปมาร้องไห้ทุกวันมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจจะเป็นอยู่นานมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป และจะหายไปเอง
อาการบิดตัวบ่อยในเด็กทารก ที่เกิดจากการให้นมจำนวนมากเกินและอาการของโรคโคลิคนั้นจะทำให้เห็นว่ามีความอันตราย แต่ก็ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นมือใหม่ได้เช่นกัน ซึ่งการที่ ทารกบิดตัวบ่อย คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะได้ทราบแล้วว่าเกิดจากอะไรและอันตรายหรือไม่ หากไม่แน่ใจว่าการบิดตัวของลูกน้อยนั้นมีสาเหตุจากอะไรกันแน่ สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาได้เพื่อที่จะได้หาวิธีรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธีนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่