ทำอย่างไรดีเมื่อ ลูกหัวเบี้ยว เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ส่วนใหญ่เกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะการที่ลูกหัวเบี้ยวจะทำให้บุคลิกของลูกเมื่อโตขึ้นดูแย่ลงได้ อีกทั้งยังบอกได้ถึงความผิดปกติของกะโหลกศีรษะลูกอีกด้วย แต่ทั้งนี้อาการหัวเบี้ยวในเด็กนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งการจะแก้ปัญหาได้นั้นก็จะต้องทราบถึงสาเหตุก่อน ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจกับปัญหาหัวเบี้ยวในเด็กกันดีกว่า พร้อมวิธีการป้องกันดังนี้

ลูกหัวเบี้ยว เกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุที่ทำให้ลูกหัวเบี้ยวได้ อาจเกิดได้จากหลายกรณีดังนี้

1.หัวเบี้ยวที่เกิดตั้งแต่แรกคลอด

เป็นอาการหัวเบี้ยวที่เกิดตั้งแต่แรกคลอด ซึ่งจะเห็นได้ชัด แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ไม่บ่อยนัก เพราะอาการหัวเบี้ยวของลูกตั้งแต่แรกคลอดนั้นจะเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยอาจเป็นเพราะมดลูกมีขนาดเล็กจึงเกิดการกดทับศีรษะของลูก หรือจากการใช้คีมช่วยดึงตัวเด็กออกมาตอนคลอด จึงทำให้หัวลูกเบี้ยวได้นั่นเอง

2.หัวเบี้ยวที่เกิดภายหลังคลอด

เป็นอาการหัวเบี้ยวที่เกิดภายหลังจากคลอดได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยส่วนมากจะเป็นเพราะการให้ลูกนอนท่าใดท่าหนึ่งนานจนเกินไป จึงทำให้หัวเบี้ยวผิดปกติไปนั่นเอง หรือไม่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เป็นโรคบางชนิด จึงทำให้กะโหลกศีรษะของลูกมีความนุ่มกว่าปกติ กรณีที่เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะคอเอียงตลอดเวลา เป็นต้น

จะทำอย่างไร เมื่อลูกมีอาการหัวเบี้ยว

จะทำอย่างไรดีเมื่อลูกมีอาการหัวเบี้ยว ต้องดูด้วยว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกหัวเบี้ยวนั้นเกิดจากอะไร เช่นหากลูกมีอาการหัวเบี้ยวตั้งแต่เกิด กรณีนี้หลังคลอดประมาณ 2-3 เดือน อาการหัวเบี้ยวของลูกจะค่อยๆ ดีขึ้นแล้วหายเป็นปกติเองในที่สุด แต่หากเป็นกรณีที่ลูกมีอาการหัวเบี้ยวหลังจากคลอดแล้ว ซึ่งเกิดจากสาเหตุอื่น จะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ เช่นเกิดจากการที่ลูกนอนท่าใดท่าหนึ่งมากเกินไป ก็จะต้องสลับให้ลูกนอนท่าอื่นดูบ้าง แต่ก็อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขนานพอสมควรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามหากทำแล้ว ลูกยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจะดีที่สุด และอย่าลืมทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย นอกจากนี้หากไม่สามารถแก้ปัญหาอาการหัวเบี้ยวของลูกได้จริงๆ ก็อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาไว้เป็นวิธีสุดท้ายเท่านั้น

ไม่อยากให้ลูกมีอาการหัวเบี้ยว ป้องกันได้ไหม

หากคุณแม่ไม่อยากให้ลูกมีอาการหัวเบี้ยว จริงๆแล้ว ก็สามารถป้องกันได้ แต่จะป้องกันได้เฉพาะกรณีที่หัวเบี้ยวภายหลังจากคลอดแล้วเท่านั้น โดยมีแนวทางการป้องกันมาแนะนำกันดังนี้

1.สลับท่านอนลูกบ่อยๆ

เพราะอาการหัวเบี้ยวมีสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ลูกนอนท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ดังนั้นจึงป้องกันได้ด้วยการสลับท่านอนของลูกบ่อยๆ เช่นให้ลูกนอนหงาย สลับกับนอนตะแคงซ้ายและตะแคงขวาไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะเป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะของลูกยังอ่อน จึงเกิดความผิดปกติและหัวเบี้ยวได้ง่ายนั่นเอง

Sponsored

2.จับลูกนอนคว่ำในขณะตื่น

ในขณะที่ลูกตื่นนอน แนะนำให้จับลูกนอนคว่ำจะดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันหัวเบี้ยวได้แล้ว ยังช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อคอและไหล่ พร้อมช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้จะต้องทำเฉพาะเวลาที่ลูกตื่นนอนเท่านั้น เพราะหากให้ลูกนอนคว่ำในขณะหลับ จะทำให้เป็นอันตรายได้นั่นเอง โดยเฉพาะในเด็กที่ยังพลิกตัวไม่ได้

ไม่ยากเลยใช่ไหม กับการดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการหัวเบี้ยว เพราะฉะนั้นมาดูแลลูกน้อยของคุณให้ห่างไกลจากอาการหัวเบี้ยวกันดีกว่า

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.7 อาหารแก้แพ้ท้อง สยบอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างได้ผล

2.แพ้ท้องระดับไหน เช็คสิ อาการแพ้ท้องของคุณ รุนแรงหรือไม่