เทคนิคเลี้ยงลูกน้อย ต้องยอมรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่ โลกยุคทุนนิยม ทำให้พ่อแม่อย่างเรา ๆ จะนิ่งนอนใจปล่อยเลยตามเลยเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการ “วางแผนการใช้ชีวิต” เพื่อจะได้สร้างสุขภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคตสำหรับลูกน้อย มาดูกันว่าเราจะรับมือกับเรื่องนี้ยังไง

เทคนิคเลี้ยงลูกน้อย สำหรับยุคโลกทุนนิยม ที่พ่อแม่ควรหาทางรับมือ

การเชื่อมต่อโลกด้วยปลายนิ้ว เทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น และเราเองก็หลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธกระแสบริโภคนิยมได้ยาก ถ้าเทียบให้เห็นชัด ๆ คือชีวิตคนเมืองหลวง ที่รายล้อมไปด้วยโฆษณาเชิญชวนต่าง ๆ ทั้ง Billboard โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ทำให้สินค้าที่ฟุ่มเฟือยกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่เราขาดไม่ได้ และไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่อย่างเราเท่านั้นที่มีผลกระทบ แต่ปัจจุบันเด็ก ๆ ก็ได้รับอิทธิพลจากสิ่งเหล่านี้ด้วย เช่น เด็กนักเรียนชั้นประถมอยากให้พ่อแม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้ หรือซื้อไอแพดให้ เพราะอยากถ่ายภาพ เล่นเกม โทรคุยกับเพื่อน ฟังเพลง รวมถึงแชทต่าง ๆ หรือเด็กหญิงอนุบาลร้องไห้อยากได้รองเท้ามีส้นรูป Barbie เพราะเห็นในทีวีและเพื่อน ๆ ในห้องเรียนก็มีคนใส่ด้วย รวมถึงอื่น ๆ อีกมากมาย  ทั้งที่หากดูอายุแล้วจะเห็นว่าในวัยเด็กอายุประมาณเท่านี้ ยังไม่สมควรซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือยต่าง ๆ เพื่อปรนเปรอให้ลูกน้อย ดังนั้นพ่อแม่จึงควรคิดคำนึงกับเรื่องนี้ให้ดี

พ่อแม่คือ ตัวอย่างดีสำหรับลูกน้อย

เด็กจะรับข้อมูลได้ดีกว่าผู้ใหญ่ ถึงในชีวิตประจำวันของเราจะไม่ได้ฟุ่มเฟือยอะไรมากนัก แต่หากพบว่าลูกน้อยยังคงร้องไห้งอแงจะเอานั่นเอานี่ตามเพื่อนเสมอ พ่อแม่ก็ควรหาแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันกับเรื่องนี้ โดยการพูดคุยทำความเข้าใจกับเขาก่อนเบื้องต้น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก หากเราพูดคุยแล้วยังร้องไห้งอแงจะเอานั่นเอานี่เวลาที่อยากได้ของ ยิ่งคนมองเยอะก็ยิ่งเพิ่มความดราม่าเข้าไปใหญ่ การรับมือที่ดีไม่ใช่ว่าครั้งต่อไปจะไม่เดินผ่านที่นี่อีก เพราะนี่คือการหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ใช่การแก้ปัญหา ทางที่ดีควรคุยกับลูก เช่น

“วันนี้แม่มีเงินไม่พอสำหรับซื้อของให้ ถ้าวันหลังลูกอยากได้เราช่วยกันเก็บเงินหยอดกระปุกกันนะลูก พอครบเดี๋ยวแม่จะพามาซื้อ แม่ก็จะหยอดกระปุกมาซื้อลิปสติกแท่งใหม่เหมือนกัน” เป็นการยกตัวอย่างและทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น ซึ่งผลที่ได้ลูกจะเข้าใจมากกว่าการพูดอธิบายเพียงอย่างเดียว

สร้างคุณค่าและความทรงจำที่ดี

แน่นอนว่าในโลกยุคทุนนิยม สามารถซื้อหาสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย แต่หากเราเปลี่ยนความคิดวางแนวทางให้รู้น้อยเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ อย่างแท้จริง เขาก็จะสามารถเติบโตขึ้นบุคคลคนหนึ่งที่มีคุณภาพในสังคมได้ เช่น ในวันเกิดของเขา อาจจะได้ของขวัญมากมาย ทั้งจาก พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ป้าลุง หลังจากนั้นพ่อแม่ควรลองพูดคุยกับเขาในลักษณะการสร้างคุณค่าให้เขารู้จักแบ่งปัน

“วันนี้ลูกได้ของเล่นมาเยอะมากเลย สงสัยเล่นคนเดียวไม่หมดแน่ ๆ งั้นวันเสาร์เราเอาไปแบ่งให้เพื่อน ๆ คนอื่นเล่นด้วยดีไหมลูก” เพื่อให้เขาซึมซับถึงคุณค่าในการแบ่งปันกับผู้อื่น หรือในวันเกิดพ่อหรือแม่ที่กำลังจะมาถึง ควรฝึกให้เขาเข้าใจว่า การทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถทำได้นั้น มีค่าต่อจิตใจพ่อกับแม่มากกว่าของแพง ๆ หรูๆ  เช่น การ์ดเขียนถึงความรักที่มีต่อพ่อแม่เป็นของขวัญ เชื่อว่าต่อให้เขาจะเขียนไม่ได้ใจความ แต่งแต้มสีเลอะเทอะไปหมด แต่พอพ่อหรือแม่เห็นของขวัญ ก็อาจจะน้ำตาซึมได้

เข้าใจสิ่งรอบข้าง สร้างอนาคตให้เป็นสุข

การทำกิจกรรมสร้างความเข้าใจสิ่งรอบข้าง ย่อมทำให้ลูกน้อยมีความเข้าใจกับชีวิตได้ง่ายขึ้น อันเป็นพื้นฐานที่จะส่งให้เขาอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขเมื่อเขาเติบโตขึ้น  เช่น อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างอาชีพ ว่าทำไมถึงมีความแตกต่างจากกันไป การสอนให้ลูกแยกแยะสิ่งที่เห็น จะช่วยให้เขาเข้าใจเหตุและผล ว่าเกิดจากอะไร เพราะอะไร จะทำอย่างไร และจะได้รับอะไร เช่น

Sponsored

“ถ้าลูกตั้งใจเรียนหนังสือ ต่อไปเวลาเราเรียนจบ ก็จะมีโอกาสในการทำงานที่ดีมากขึ้น แล้วก็จะช่วยให้ชีวิตไม่ต้องลำบากด้วย ” หรือ อาจจะพาเขาไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ ไปดูวิธีการปลูกข้าว วิธีการทำนา ไปทดลองดำนา ว่ากว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเม็ด ต้องทำงานตากแดดต้องลำบากอย่างไร ดังนั้นเมื่อถึงเวลากินข้าวควรรู้คุณค่าของข้าว ไม่กินทิ้งกินขว้าง เป็นการสอนลูกด้วยกรกระทำ เพื่อให้เข้าเห็นคุณค่ากับสิ่งนั้น ๆ

Partner ร่วมอุดมการณ์ วางรากฐานชีวิตให้ลูกน้อย

Partner ร่วมอุดมการณ์ อาจจะเป็นเครือญาติ เป็นคุณครูที่โรงเรียน โดยความสำคัญในเด็กวัยเรียน พ่อแม่ควรเลือกโรงเรียนตามหลักสูตรที่ตรงกับแนวทางที่เราไว้ให้มากที่สุด เช่น มอสเตสซอรี่ ที่จะเน้นสอนด้านพัฒนาการเด็ก และพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ หรือ วอลดอล์ฟ ที่จะเน้นให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นต่าง ๆ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการการใช้อวัยวะต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านการเล่น เช่น ดนตรี ศิลปะ จิตกรรม การทำอาหาร ทำสวน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงการยกตัวอย่าง สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยในยุคทุนนิยมเท่านั้น ซึ่งพ่อแม่คนไหนอยากนำไปใช้ก็ไม่หวงลิขสิทธิ์ค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.6 คุณประโยชน์ของนมแพะ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

2.นมแพะดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยเสริม ที่ดีต่อลูกรัก