เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพตา … เด็กเล็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต เพื่อให้พร้อมกับการเรียนรู้ และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ จึงมีความพร้อมในการเรียนรู้มากกว่า เด็กที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์ หรือมีความบกพร่องทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นส่วนของแขน ขา โดยเฉพาะในส่วนของสายตา ที่คุณแม่ควรให้ความดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาทางสายตาของลูกในอนาคต การดูแลตาของลูกอาจจะเป็นเรื่องยากแต่ถ้าคุณแม่เข้าใจ และรับรู้ข้อมูลสำคัญ เราเชื่อว่า คนเป็นแม่ทุกคนไม่ว่าจะยากแค่ไหนก็สามารถทำได้ใช่ไหมค่ะ ดังนั้น ลองศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสายตาดูค่ะ เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้น
อาการของโรคทางสายตาในเด็ก
เด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายยังไม่สมบูรณ์ อวัยวะส่วนต่าง ๆ ยังทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ และยังต้องได้รับการเสริมสร้างพัฒนาจากคุณแม่อีกมาก ดังนั้น เด็กวัยนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องของสายตามาก โดยส่วนใหญ่เด็กวัยนี้จะเป็นโรคทางกล้ามเนื้อตา เช่น ตาเขเข้า และโรคตาขี้เกียจที่จะพบในวัยเรียน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณแม่ควรเฝ้าระวังและพาลูกไปพบจักษุแพทย์ทันทีเมื่อพบความผิดปกติเหล่านี้ค่ะ
วิธีการสังเกตอาการเกี่ยวกับโรคทางจอประสาทตาในเด็ก
- อาการสายตาสั้น คุณแม่สามารถสังเกตได้จากการที่ลูกชอบมองในสิ่งของใกล้ หรือหยิบของมาติดตา ดูโทรทัศน์ใกล้เกินไป ซึ่งการดูโทรทัศน์ใกล้ไม่ได้ทำให้สายตาสั้น แต่เป็นสัญญาณที่แสดงให้ทราบว่าลูกมีโอกาสสายตาสั้นค่ะ
- คุณแม่สามารถหาความผิดปกติโดยการดูรูปหน้าเปรียบเทียบกันว่าสมดุลกันดีหรือไม่ ด้านซ้ายด้านขวาแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าเห็นความผิดปกติ คุณแม่ต้องพาลูกไปตรวจตาทันที เพื่อป้องกันอาการทางสายตาที่รุนแรงได้ในอนาคต
- อาการตาเหล่ เป็นอาการที่พบมากในเด็กวัย 5 – 6 ขวบค่ะ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่สามารถทำงานประสานกันได้ คุณแม่สามารถแก้ไขได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อตา หรืออาจใช้แว่งตาช่วยก็ได้ แต่ถ้าพบว่าลูกมีอาการตาเหล่มากขึ้น คุณแม่จะต้องพาลูกไปพบจักษุแพทย์ในทันทีนะคะ
- อาการตาเข หรือตาเอก เป็นลักษณะของตาเขเข้า ตาเขออก คุณแม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะตาดำของลูกทั้งสองข้างไม่ขนานกัน หรือพูดง่าย ๆ คือ ไม่ได้อยู่ตรงกึ่งกลางตาขาว ลูกไม่สามารถมองพร้อมกันทั้งสองตาได้
- ตาเขปลอม มีลักษณคล้ายกับตาเขจริง แต่เกิดจากเด็กที่มีหนังตาสองข้างคลุมลูกตา มีตาดำมากเกินไป และเด็กเล็ก ๆ ยังไม่มีสันจมูกโด่งพอ ตาจึงมีลักษณะคล้ายกับตาเข แต่เมื่อคุณแม่นำไปตรวจแล้วจะไม่ความผิดปกติแต่อย่างใด เด็กจะหายเองเมื่อเริ่มโตขึ้นค่ะ
ทั้งนี้ คุณแม่ควรสังเกตถึงความผิดปกติทางด้านอื่นๆ พร้อมกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เพราะความผิดปกติทางร่างกายของลูกอาจจะทำให้ลูกมีความเครียดและหงุดหงิดง่ายกว่าเด็กปกติทั่วไปได้ค่ะ
กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสายตา
- เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เพราะร่างกายไม่แข็งแรง อวัยวะต่าง ๆ ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
- คุณแม่มีประวัติเป็นหัดเยรมันในขณะตั้งครรภ์ในระยะสามเดือนแรกค่ะ ซึ่งโอกาสที่ลูกมีปัญหาทางสายตานั้นสูงมากกว่าเด็กที่คุณแม่มีร่างกายปกติ
- คุณแม่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด ต้องได้รับออกซิเจนในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ สำหรับทารกในครรภ์ ส่งผลให้ระบบการเจริญเติบโตของเด็กบกพร่อง เป็นผลให้อวัยวะทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ค่ะ
- ประวัติครอบครัวของพ่อแม่ เป็นโรคเกี่ยวกับตา เช่น มะเร็งจอตา ตาเหล่ สายตาสั้นมาก เช่นนี้ลูกจึงมีโอกาสเป็นโรคตามากขึ้นนั่นเอง
- เด็กที่มีภาวะร่างกายไม่แข็งแรง เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคทางตาได้ในอนาคตค่ะ
เคล็ดลับการดูแลดวงตาของลูกน้อย
- ดูแลสุขภาพร่างกายของลูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ ให้รับประทานอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นให้ลูกรับประทานวิตามินที่มีอยู่มากในผัก และผลไม้ ถ้าลูกไม่ยอมทานผักคุณแม่ควรเริ่มมองหาอาหารเสริมที่บำรุงสายตาเพิ่มขึ้นค่ะ
- นอนหลับเป็นเวลา ให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะเด็กบางคนนอนดึก การนั่งดูโทรทัศน์เป็นเวลานาน หรือการดูหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อตาเมื่อยล้าได้ค่ะ
- เมื่อถึงเวลาที่ต้องอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน ควรให้เขานั่งในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ปรับระยะห่างระห่วางสายตาและหนังสืออย่างน้อย 1 ฟุต
- ไม่แนะนำให้ลูกดูคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานมากเกินไป เพราะแสงสีฟ้า (Blue Light) เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา ถ้าต้องการให้ดูจริง ๆ ควรจะกำหนดระยะเวลาในการดู ให้ดูวันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยให้ดูครั้งละ 20 นาทีก็พอค่ะ
อย่างที่คุณแม่ทราบดีว่า ร่างกายของเจ้าตัวน้อยยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ การดูแลเอาใจใส่น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมมากที่สุดค่ะ การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่า ในวันหนึ่งที่คุณไม่อาจแก้ไขได้ และถ้าจะให้ดีควรพาลูกไปตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งนะคะ เพื่อความสบายใจและถ้าเกิดพบปัญหาจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ
ขอบคุณรูปภาพ : howtoadult.com
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..