เมื่อพบว่าตนเองตั้งครรภ์ คุณแม่ทุกคนคงดีใจ ตื่นเต้น กับสิ่งที่เรารอคอยมานานใช้ไหมคะ ยังไงทีมคนท้องดอทคอมก็ขอแสดงความยินดีกับแม่ท้องทุกคนด้วยนะคะ และก็ไม่ลืมที่จะหาเคล็ดลับ การดูแลครรภ์ ตลอด 40 week มาฝากกัน เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้เต็มไปด้วยคุณภาพ มีความสุข และสามารถเข้าใจถึงการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
การดูแลครรภ์ ตลอดอายุครรภ์ 40 week
มาดูกันสิว่า ตลอดอายุครรภ์ 40 week ควรดูแลครรภ์อย่างไรบ้าง โดยเรามีคำแนะนำการดูแลครรภ์มาบอกกันดังนี้
Week 1 : ฟิตร่างกายพร้อม
หากคุณตั้งใจแล้วว่าจะเป็นคุณแม่เร็วๆนี้ คุณจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรงอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ ในระยะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ต้องหลีกเลี่ยงในบริเวณที่มีผู้สูบบุหรี่อยู่ใกล้ๆ และงดการรับประทานยาใดๆ หากจำเป็นจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ยิ่งถ้าสมาชิกในครอบครัวคนใดเคยเป็นโรคร้ายแรง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ รวมถึงการชวนสามีไปตรวจเช็คสุขภาพร่างกายพร้อมๆกันเลยจะดีที่สุด
Week 2 : ช่วงตกไข่
ช่วงเวลานี้อุณหภูมิในร่างกายของคุณแม่จะสูงขึ้น แต่บางครั้งอาจรู้สึกหนาวสั่นได้ นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเร่งทำให้ไข่สุก และช่วงเวลาเดียวกับไข่ที่สุก ร่างกายของคุณแม่ก็ผลิตฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมาในเวลาเดียวกัน
Week 3 : ช่วงฝังตัว
หลังจากไข่ที่ได้รับการผสมแล้วก็จะเดินทางไปฝังตัวในผนังมดลูก ในช่วงระหว่างนี้ถ้ามีเลือดออกมาทางช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อยไม่ต้องตกใจไป นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังจะได้เป็นแม่สมใจแล้ว ที่สำคัญช่วงนี้ควรรับประทานกรดโฟลิคให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัม
Week 4 : ประจำเดือนไม่มา
หลังฝังตัวในผนังมดลูก ตัวอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนตั้งครรภ์เข้าไปในกระแสเลือด และช่วงนี้เองที่คุณแม่จะมีอาการวิงเวียน พะอืดพะอม เป็นลมหน้ามืด การได้พักผ่อนเต็มที่และหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลจึงจำเป็นสำหรับว่าที่คุณแม่ จำไว้ว่าธาตุเหล็กจำเป็นอย่างมากสำหรับคุณแม่และลูกน้อย
Week 5 : ฝากครรภ์
อาการ ต่างๆ รวมถึงการขาดประจำเดือนเริ่มส่งสัญญาณให้คุณเริ่มจะรู้ตัวแล้วว่ามีชีวิต น้อยๆ กำลังก่อกำเนิดขึ้น เพื่อการวางแผนที่ดีต่อสุขภาพลูกน้อยในครรภ์และคุณแม่ ควรรีบฝากครรภ์เสียแต่เนิ่นๆ ซึ่งแพทย์จะนับอายุครรภ์นับจากวันแรกที่ประจำเดือนขาดหายไป พร้อมกับกำหนดวันคลอดให้กับคุณ

Week 6 : อาการแพ้ท้อง
อาการแพ้ท้อง ช่วงนี้เป็นช่วงที่ว่าที่คุณแม่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย อาการแพ้ต่างๆ จะเกิดขึ้นนั่นก็เพราะตัวอ่อนมีการเติบโตอย่างเต็มที่ในช่วงนี้ แต่ถ้ามีอาการแพ้มากหรือกินระยะเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ สูตรที่ได้ผลในช่วงนี้คือ ควรกินอาหารแต่น้อยแต่ให้บ่อยครั้ง จะทำให้คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่องแม้ในยามแพ้ท้องทานอะไรไม่ค่อยได้
Week 7 : ตั้งครรภ์สมบูรณ์
ในช่วงนี้คุณแม่ก็ควรดูแลด้านอนามัยบริเวณช่องคลอดให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณควรระวังในเรื่องการตกขาว ซึ่งอาจเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากเป็นมากอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จนลุกลามเข้าไปในโพรงมดลูกและมีอาการอักเสบร่วมด้วยจะส่งผลกระทบต่อการฝังตัวของตัวอ่อนในผนังมดลูก และมีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในระยะ 3 เดือนแรก
Week 8 : ตรวจเช็คสุขภาพ
คุณสามารถป้องกันปัญหาจากการตั้งครรภ์ได้ ด้วยการดูแลสุขภาพครรภ์ให้ดีเสียแต่เนิ่นๆ ถึงแม้เป็นที่แน่นอนแล้วว่าคุณตั้งครรภ์ แต่ในบางครั้งการไปพบแพทย์ตามนัดอยู่เสมอจะช่วยให้คุณมั่นใจกับการผ่านพ้นอาการเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นท้องนอกมดลูก คลอดก่อนกำหนด โรคครรภ์เป็นพิษ เลือดออกทางช่องคลอดเพราะอาการเหล่านี้จะแสดงอาการออกมาในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
Week 9 : รูปร่างที่เริ่มเปลี่ยน
รูปร่างของคุณแม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะฮอร์โมน hCG หลั่งออกมาในระดับสูงสุด เช่น เต้านมเริ่มคัดเจ็บขยายใหญ่ ผิวหนังเริ่มตึง การมองหาชุดชั้นในใหม่ที่เหมาะสมกับสรีระของคุณแม่คงจะเริ่มในช่วงนี้
Week 10 : ต่อมไทรอยด์บวม
ระดับฮอร์โมนที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่หลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการทำให้ต่อมไทรอยด์บวมด้วย ขณะที่ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มีผลต่อพัฒนาการของเด็กหลังคลอด ทั้งในเรื่องกระบวนการคิด พฤติกรรมและการเคลื่อนไหว แต่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยของคุณยังต้องอาศัยฮอร์โมนชนิดนี้จากคุณอยู่
Week 11 : ดูแลน้ำหนักตัว
ตามปกติคุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ ½ – 1 กก. ในช่วงเดือนที่ 4-8 ของการตั้งครรภ์ หลังจากนี้น้ำหนักของคุณจะคงที่ไปจนคลอด เนื่องจากส่วนสูงจะเป็นสิ่งบอกถึงขนาดของกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ ซึ่งจะทำให้แพทย์พอจะคาดคะเนคร่าวๆได้ว่ามันมีความแข็งแรงพอเพียงสำหรับรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หรือไม่ และทุกครั้งที่คุณแม่ไปตรวจ แพทย์จะชั่งน้ำหนักของคุณแม่เพื่อดูว่าเพิ่มขึ้นตามมาตรฐานหรือไม่
Week 12 : ผ่านพ้นช่วงความเสี่ยง
ความเสี่ยงต่อการแท้งจะอยู่ภายใน 3 เดือนแรก ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้เท่ากับว่าโอกาสเสี่ยงจะลดลง จากการที่คุณแม่ดูแลสุขภาพครรภ์ดีมาตั้งแต่ต้น เมื่อถึงเวลานี้ลูกน้อยในครรภ์ก็มีอวัยวะทุกอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ถ้าหากคุณยังรู้สึกกังวลเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง คุณแม่สามารถขอรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ซึ่งแพทย์จะสามารถอธิบายถึงโครงสร้างทางพันธุกรรม และบอกถึงโอกาสความน่าจะเป็นของโรคที่อาจจะเกิดกับลูกของคุณแม่
Week 13 : ฮอร์โมนเริ่มคงที่
ตอนนี้เองที่จะทำให้คุณแม่เริ่มสบายเนื้อตัวได้อีกครั้ง เพราะคุณแม่เริ่มปรับตัวได้ดี อาการแพ้ท้องค่อยๆ หายไป แต่ว่าพอเข้าปลายระยะสองของการตั้งครรภ์ ความรู้สึกอึดอัดต่างๆจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง นั่นเพราะลูกน้อยในท้องของคุณแม่เริ่มเติบโตขึ้น ทางที่ดีคุณแม่ควรหาโอกาสออกกำลังกาย ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อให้แข็งแรง พร้อมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่กันไป
ตั้งครรภ์ 13 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 14 : เพศสัมพันธ์เมื่อตั้งครรภ์
ช่วงนี้เองที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอารมณ์ทางเพศสูงกว่าปกติเพราะฮอร์โมนที่สูงขึ้น แต่ความกังวลใจเกรงอันตรายต่อลูกน้อยทำให้คุณแม่เกิดความสับสน อย่าทำให้ความรู้สึกนี้ทำลายสุขภาพจิตที่ดีของคุณแม่ เพราะความสุขของคุณแม่ขณะได้รับความรักจากคนรักสามารถส่งผ่านให้ลูกสื่อถึงความรู้สึกนี้ไปด้วย เพียงแต่มีข้อจำกัดที่ว่าเพศสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และคุณพ่อจะต้องอยู่ในท่าที่ปลอดภัย นอกเสียจากว่าการตั้งครรภ์ของคุณมีอาการเสี่ยงร่วมด้วย จึงแนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์
ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ อยากรู้จังลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 15 : ท้องขยาย
ตอนนี้เองที่จะเริ่มเห็นว่าคุณเป็นคนท้อง เพราะท้องที่ขยายขนาดขึ้นประมาณปลายเดือนที่สามที่สี่ ได้เวลาที่คุณแม่ควรหาชุดคลุมท้องมาใส่ได้แล้ว
ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ

Week 16 : ตรวจสุขภาพลูกน้อย
การตรวจที่เรียกว่า AFP จะเริ่มขึ้นในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 16-20 นี้ ซึ่ง AFP เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของทารก เช่น การตรวจสอบเลือด เพื่อตรวจดูอาการกระดูกสันหลังไม่ปิด และอาการดาวน์หรือโรคปัญญาอ่อน
ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 17 : เลือดสูบฉีด
ปริมาณเลือดจะถูกสูบฉีดเข้าไปตามเส้นเลือดฝอยที่จมูกและกราม ทำให้บางครั้งคุณแม่อาจมีเลือดกำเดาไหลออกมา หรือมีอาการเหงือกบวมได้ คุณแม่ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และแปรงฟันอย่างเบามือ ที่สำคัญหมั่นพบทันตแพทย์ เพื่อเช็คสุขภาพฟันอยู่เสมอ
ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 18 : ความเคลื่อนไหวภายในครรภ์
คุณแม่จะเริ่มตื่นเต้นกับการเฝ้าดูความเคลื่อนไหวน้อยๆภายในครรภ์ และผลจากขนาดตัวของลูกที่โตขึ้น ขนาดมดลูกที่ใหญ่มากขึ้นจะไปกดทับอวัยวะรอบๆ บริเวณนั้น เช่น ลำไส้ ประกอบกับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นจะทำให้กล้ามเนื้อราบหย่อนตัวลง ทำให้การทำงานระบบย่อยอาหารช้าลง อาจเป็นผลให้คุณมีอาการริดสีดวงทวารขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์นี้
ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 19 : น้ำหนักมากขึ้น
อะไรก็เริ่มโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้ เป็นเพราะน้ำหนักที่มากขึ้น ไล่กันตั้งแต่ ท้อง ก้น สะโพก มดลูกที่ใหญ่มากขนาดนี้ และน้ำหนักตัว จะมีผลต่อท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกาย คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกอึดอัดยามนอน ดังนั้นคุณแม่อาจหาหมอนมาหนุนเพิ่มขึ้นระหว่างขาทั้งสองข้างจะช่วยให้รู้สึกสบาย
ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ อยากรู้จังลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 20 : หายใจไม่สะดวก
นอกจากอาการอาหารไม่ย่อย ปัสสาวะบ่อย สะดือโปน ยังเกิดอาการหายใจขัดเกิดขึ้นได้ เพราะมดลูกขยายจนเข้าไปเบียดพื้นที่ในช่องปอด กระบังลม ทำให้ปอดมีพื้นที่สำหรับการขยายตัวน้อยลง มีผลให้รับออกซิเจนได้น้อยตามไปด้วย การได้นั่งพักและทำสมาธิหายใจเข้า-ออกอย่างช้าๆ จะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ถ้ารู้สึกหน้ามืดจะเป็นลมให้นั่งหรือนอนลง ก้มหัวลงระหว่างขาเพื่อช่วยให้เลือดไหลขึ้นไปเลี้ยงสมองโดยเร็ว
ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 21 : ภาวะโลหิตจาง
คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าร่างกายได้รับธาตุเหล็กเพียงพอที่จะไม่ทำให้ภาวะโลหิตจางเลวร้ายจนเข้าขั้นอันตราย เพราะช่วงนี้ปริมาณเลือดของคุณแม่ยังเพิ่มขึ้นต่อไปตามพัฒนาการของครรภ์ ปริมาณเลือดส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นพลาสมาซึ่งเป็นตัวที่จะไปเจือจางเลือด ทำให้คุณแม่มีภาวะโลหิตจางได้ การเกิดภาวะนี้ในช่วงสัปดาห์นี้ถือเป็นเรื่องปกติ
ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 22 : สร้างประสาทสัมผัส
ช่วงนี้เองที่เซลล์ประสาทสัมผัสของลูกน้อยในครรภ์เจริญเต็มที่แล้ว ลูกน้อยยังพร้อมที่จะเรียนรู้สังเกตจากท่าทางยืดแขนขา เคลื่อนไหว คุณแม่เองยังสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้ด้วยการหมั่นพูดคุยสื่อสารด้วยความรักกับลูกน้อยในครรภ์
ตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 23 : มดลูกหดรัดตัว
อาการหดรัดตัวที่คุณแม่สามารถรู้สึกถึงได้ด้วยการเป็นก้อนแข็งนูนขึ้นมาเป็นระยะๆ โดยที่ไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด นั่นเป็นสัญญาณธรรมชาติที่เป็นการเตรียมร่างกายคุณแม่สำหรับการเจ็บท้องคลอด
ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 24 : น้ำหนักเพิ่ม
เพราะน้ำหนักช่วงนี้จะเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดหลังเหนื่อยล้ารวมถึงปัญหาในกระเพาะปัสสาวะ คุณแม่ลองหาวิธีผ่อนคลายให้ตัวเอง เช่น เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายเท้า หรือการยกเท้าสูงขึ้นเหนือระดับหัวใจบ่อยๆ จะช่วยผ่อนคลายได้ดี
ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 25 : ครรภ์เป็นพิษ
ถ้าคุณมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง หน้ามืดสายตาพร่ามัว คุณแม่ควรบอกให้แพทย์ทราบ เพื่อให้แพทย์ตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบดูว่าคุณแม่มีอาการของโรคครรภ์เป็นพิษหรือไม่
ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 26 : เคลื่อนไหวมากขึ้น
แม้การเคลื่อนไหวมากขึ้นจะเป็นสิ่งบ่งบอกว่าลูกน้อยมีสุขภาพดี แต่การเคลื่อนไหวของลูกอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บชายโครง รวมถึงอาการไม่สบายต่างๆนานา เช่น ปวดหลัง เป็นตะคริวที่ขา ปวดศีรษะ ปวดรอบๆอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลานอน คุณแม่ลองใช้วิธีการนอนตะแคงจะช่วยบรรเทาได้
ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ

Week 27 : คอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอลเป็นโครงสร้างสำคัญสำหรับรองรับฮอร์โมนตั้งครรภ์ต่างๆที่หลั่งออกมาจากรก รวมทั้งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งสำคัญต่อพัฒนาการเต้านม การคลายตัวของเยื่อมดลูกและกล้ามเนื้อเรียบต่างๆ
ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 28 : ตรวจภูมิต้านทาน
การที่แพทย์ตรวจภูมิต้านทานในร่างกายของคุณแม่ นั่นก็เพื่อดูว่าร่างกายของคุณถ่ายทอดภูมิต้านทานเข้าไปในเลือดของทารกหรือไม่ ปฏิกิริยาดังกล่าวมีผลต่อการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป ซึ่งทำให้ทารกคนต่อไปเป็นโรคตัวเหลือง ดีซ่าน และโลหิตจางได้
ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 29 : วางแผนการคลอด
นับวันรอเห็นหน้าลูกน้อยใกล้เข้ามาทุกที ถึงเวลาที่คุณแม่จะหาข้อมูล เพื่อการวางแผนในการคลอด การปรึกษาแพทย์จะทำให้คุณแม่ได้รับคำตอบถึงวิธีคลอดที่เหมาะกับตัว
ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 30 : ปวดเมื่อย
คุณแม่จะมีอาการปวดหลัง เนื่องจากเอ็นยึดและกล้ามเนื้อบริเวณหลังคลายตัวในสัปดาห์นี้ การบริหารยืดกล้ามเนื้อด้วยการนั่งในท่าโยคะง่ายๆ คือ เอาฝ่าเท้าชนกันและมือทั้งสองข้างวางอยู่บริเวณรอบพับที่เข่า ให้หลังตรงชิดฝา จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น
ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 31 : น้ำหนัก
ที่น้ำหนักเฉลี่ยที่ 2.6-9.1 กก. เป็นน้ำหนักที่คุณแม่ควรจะเป็น แต่ถ้ามากหรือเกินจากนี้ควรเน้นการโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะการลดน้ำหนักเป็นสาเหตุให้ลูกในครรภ์ขาดสารอาหาร และเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตในครรภ์ได้
ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อยากรู้จังลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 32 : มดลูกขยาย
เพราะมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะเบียดเข้าไปในอวัยวะข้างใน และมีการคั่งค้างของของเหลว ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดขอด ข้อศอกและนิ้วบวม การสวมแหวนหรือเสื้อผ้าที่คับแน่นเป็นสิ่งที่ไม่ควร ช่วงนี้ศีรษะของลูกอาจเคลื่อนลงและมีลำตัวใหญ่ จนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง และยังเป็นแรงกดจนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บชายโครง ฉะนั้น การนั่งลำตัวตรงจะช่วยลดแรงกดที่ซี่โครงได้
ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 33 : เริ่มนอนลำบาก
เมื่ออายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่จะเริ่มนอนลำบากมากขึ้น เพราะมดลูกขยายใหญ่ทำให้ท้องใหญ่ขึ้นและไปเบียดกับอวัยวะต่างๆ ภายใน จึงทำให้คุณแม่รู้สึกแน่น อึดอัด ซึ่งขอแนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงข้าง จะช่วยลดความอึดอัดได้ดี
ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 34 : มดลูกหดรัดตัว
อาการรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกและค่อยๆคลายตัวลงมาเป็นอาการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งหลายคนมักเข้าใจว่าเป็นการเจ็บท้องคลอด แต่ถ้ามีแนวโน้มว่าจะคลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการเจาะตรวจน้ำคร่ำ เพื่อทดสอบความเจริญเต็มที่ของปอด ถ้าพบว่าปอดของทารกยังมีการเจริญไม่เต็มที่ แพทย์จะทำการฉีดยาสเตอรอยด์ให้เพื่อเร่งขยายปอดให้กับทารก
ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ

Week 35 : คลื่นไส้กลับมาอีกแล้ว
การพักผ่อนให้มากๆ จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะได้ แต่ถ้าคุณแม่เป็นคุณแม่ทำงาน (Working Mom) ก็คงต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองว่า ต่อไปนี้คุณแม่ต้องเข้มแข็งทั้งทางใจและแข็งแรงทางกาย ในเมื่ออีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ คุณแม่จะต้องพร้อมเบ่งลูกน้อยออกมาดูโลกแล้ว ทำร่างกายและจิตใจให้เบิกบาน
ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 36 : เตรียมตัวเป็นแม่
คุณแม่อาจมีอาการหายใจลำบากติดขัดยิ่งขึ้นไปอีก รวมถึงอาการเจ็บชายซี่โครง ช่วงแต่นี้ไปคุณแม่ต้องไปพบแพทย์ทุกสัปดาห์เพื่อเข้าคอร์สเตรียมตัวคลอดและเป็นแม่มือใหม่
ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ อยากรู้จัง เจ้าตัวน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 37 : ลูกเริ่มกลับหัว
ช่วงนี้เองที่ทำให้คุณแม่รู้สึกโล่งที่ชายโครงและรู้สึกผ่อนคลาย หายใจสะดวกมากขึ้นแต่มดลูกก็จะกดลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยยิ่งขึ้นไปอีกเพราะศีรษะลูกเริ่มเคลื่อนมาอยู่ที่อุ้งเชิงกราน ขณะเดียวกันร่างกายของทารกยังเติบโตต่อไป และเท้าแตะอยู่ที่ปลายกระดูกสันอกอีกครั้งในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด
ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 38 : เจ็บครรภ์เตือน
แม้ก่อนหน้านี้คุณแม่ก็จะเคยได้สัมผัสอาการเจ็บครรภ์เตือน ซึ่งไม่ใช่การหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนที่มดลูก การเจ็บครรภ์เตือนจะแรงประมาณเดียวกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง ตาการหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ และจะหายไปเมื่อคุณแม่เคลื่อนไหวร่างกาย หากไม่แน่ใจสามารถไปพบแพทย์ก่อนกำหนดได้
ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ อยากรู้จังลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 39 : ปากมดลูกพร้อมเปิด
สัญญาณการคลอดจริงด้วยการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจังหวะสม่ำเสมอและบ่อย รวมถึงสัญญาณอื่นๆ อย่าง ถุงน้ำคร่ำแตก มีเลือดไหลออกมา อย่างไรก็ตาม สัญญาณเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะเข้าสู่การเจ็บครรภ์คลอดระยะแรก
ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
Week 40 : เตรียมพร้อมพบหน้าลูก
ใกล้จะได้พบหน้าลูกน้อยที่รักแล้ว ช่วงนี้ควรจะเป็นช่วงที่คุณแม่ทำใจให้ผ่อนคลายที่สุดเพื่อรอวันพบหน้าลูก ช่วงใกล้คลอดคุณควรฝึกการผ่อนคลายและเทคนิคการหายใจระหว่างที่มีอาการมดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนนูนแข็งหรือระหว่างการเจ็บครรภ์เตือนเมื่อเวลานั้นมาถึง คุณแม่ก็พร้อมเสมอที่จะเบ่ง พร้อมกับเสียงร้องแรกอันแสนไพเราะของลูกน้อยที่ลืมตาออกมาดูโลกในวันที่คุณเป็นแม่ได้สมบูรณ์แบบ
ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อยากรู้จัง ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ : โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียลโชคชัย 4
และนี่ก็คือการดูแลครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 40 วีคนั่นเอง ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ก็อย่าลืมทำตามคำแนะนำเหล่านี้กันด้วย เพื่อการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.รีวิวผ้าอ้อมเด็ก Enfant ใช้คุ้ม! ยิ่งซักยิ่งนุ่ม Anti-Bacteria ได้ด้วย