คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเท้าบวม อาจมีความกังวลใจว่าอาการเท้าบวมคนท้อง จะมีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง อาการเท้าบวมแบบไหนถือว่าเป็นอาการปกติ และแบบไหนผิดปกติ วันนี้เราจะนำข้อมูลเกี่ยวกับอาการเท้าบวมมาบอกให้คุณแม่ได้เข้าใจกันค่ะ ดังนั้นไปดูกันเลย
สาเหตุอาการ เท้าบวมคนท้อง
คุณแม่ตั้งครรภ์ทำไมจึงถึงเท้าบวมได้ อาการเท้าบวมคนท้อง อาจเกิดได้หลายประการ แต่หลักๆ ที่พบบ่อยคือ
1.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นขนาดของมดลูกได้ขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้ไปกดทับเส้นเลือดบริเวณขา ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก นอกจากนี้คุณแม่ที่มีกิจวัตรประจำวัน ซึ่งจำเป็นต้องยืน เดิน หรือนั่งในท่าเดิมนานๆ ก็ทำให้มีโอกาสเกิดเท้าบวมได้เช่นกัน
2.การทานอาหารที่ทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากๆ
อาการเท้าบวมคนท้อง ที่พบได้บ่อยอีกสาเหตุคือ อาหารซึ่งมีโอกาสทำให้ร่างกายเกิดการสะสมน้ำไว้ในร่างกายได้มาก เช่นอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นรสเค็ม เผ็ด และหวานจัด ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้ทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่คุณแม่จะมีอาการบวมทั่วตัว แต่ที่สังเกตได้ชัดก็คือบริเวณเท้า
3.การใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับเท้า คับ แน่น และร้อน เป็นเวลานานๆ
คุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอด หากใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม คับแน่นจนเกินไปก็อาจทำให้เท้าบวมได้ ซึ่งหากบวมไม่มากและหายไปเองก็ไม่เป็นอะไร แต่หากเท้าบวมมากตั้งแต่หลังเท้ามาจนถึงหน้าแข้ง และมีอาการบวมบริเวณหน้าท้อง รวมถึงบวมตามนิ้วมือ และใบหน้า จัดว่าเป็นอาการผิดปกติ จะต้องพบแพทย์โดยด่วน
อาการเท้าบวมแบบไหนไม่ปกติ
สำหรับอาการเท้าบวมที่จัดว่าผิดปกติ ที่เป็นสัญญาณว่าหากปล่อยไว้อาจส่งผลอันตรายค่อคุณแม่ได้ อาการ เท้าบวมคนท้อง จะมีลักษณะแบบไหนได้บ้างนั้นมาดูกัน
ในกรณีที่แม่ท้องเท้าบวมตั้งแต่เหนือตาตุ่มขึ้นมาถึงหน้าแข้ง และบวมไล่มาทางลำตัวตลอดมาจนถึงใบหน้า แบบนี้จัดมาเป็นอาการเท้าบวมคนท้องที่ผิดปกติ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นอันตรายมาก เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเป็นอาการของครรภ์เป็นพิษก็ได้ ซึ่งคุณแม่ที่มีอาการแบบนี้ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ความดันโลหิตสูง และพบโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนี้คุณแม่อาจมีอาการปวดศีรษะ และมีสายตาพร่ามัว ร่วมด้วยก็ได้ จะพบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด
วิธีบรรเทาเมื่อมีอาการเท้าบวม
เมื่อมีอาการเท้าบวมคนท้องจะแก้อาการได้อย่างไรบ้าง ก็มีวิธีการบรรเทาดังนี้
1.ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
การดื่มน้ำสะอาดมากๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้เท้าบวมมากกว่าเดิมได้ ดังนั้นคุณแม่ควรกินน้ำให้เยอะๆ อยู่เสมอ
2.คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
อาการเท้าบวมเกิดจาก การกินอาหารที่มีรสเค็มมากไปได้เหมือนกัน ดังนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็ม ก็จะช่วยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว เลือดลมไหลเวียน จึงช่วยลดอาการคั่งค้างของเลือดและน้ำเหลืองตามข้อต่อต่างๆ ได้ โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคนท้องเช่น
- การเดิน ว่ายน้ำ หรือกีฬาอื่นๆ ตามความสะดวกและชื่นชอบ แต่กีฬาบางชนิด เช่นโยคะ พิลาทีส ฟิตเนส ซึ่งใช้กำลัง จนเหงื่ออกเยอะ ทำให้ร่างกายมีความร้อนและเสียเหงื่อมาก ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนออกกำลังกาย
- คุณแม่ควรออกกำลังเท้า และข้อเท้าให้แข็งแรง ด้วยวิธีการกระดกปลายเท้าขึ้นลง รวมถึงการหมุนข้อเท้าอย่างช้าๆ เป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น และช่วยลดอาการบวมได้ดีอีกด้วย
4.หลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนนานๆ
คุณแม่ไม่ควรเดินหรือยืนนานๆ ซึ่งหากจำเป็นควรพักบ่อยๆ โดยการนั่ง แล้วยกเท้าสูงขึ้น จะลดอาการบวมได้ดี
5.ไม่นั่งไขว่ห้าง
ควรงดการนั่งไขว่ห้าง เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เท้าบวมได้ หากคุณแม่จำเป็นต้องนั่งทำงานติดต่อกันนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการเหยียดขาตรงๆ บ้าง และหมุนข้อเท้า หรือลุกเดินบ้างก็ได้
6.เสื้อผ้า-รองเท้าต้องไม่คับ
หากคุณแม่สวมเสื้อผ้า กางเกง ถุงเท้า รองเท้า ที่รัดแน่นเกินไป จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ในกรณีที่เท้าบวมคุณแม่ต้องเปลี่ยนรองเท้าให้เท่ากับขนาดเท้าที่เปลี่ยนไปด้วย โดยเลือกขนาดที่พอดีไม่คับเกินไป ส้นเตี้ย และยึดเกาะพื้นได้ดี
7.แช่เท้าในน้ำอุ่น
การแช่น้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมที่เท้าได้ คุณแม่อาจจะหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบลงไปด้วย จะช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น
8.นอนยกเท้าสูง
ให้คุณแม่ใช้หมอนรองขา นอนราบแล้วยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจสัก 2-3 ครั้ง จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีและลดอาการบวมได้นั่นเอง
อาการเท้าบวมคนท้อง ถึงแม้ว่าจะพบได้บ่อยในคุณแม่ช่วงใกล้คลอด แต่หากได้ตรวจประเมินอาการเบื้องต้นแล้ว พบว่าไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นอาการเท้าบวมคนท้อง ที่เป็นอันตราย คุณแม่สามารถป้องกันและแก้ไขตามคำแนะนำที่ได้ให้ไว้ในบทความนี้ได้ แต่หากอาการเท้าบวมเกิดจากอาการข้างเคียงของภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่