ทุกการตั้งครรภ์ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ตลอดระยะเวลาที่คุณอุ้มท้องสามารถเจอปัญหาต่างๆ เข้ามารุมเร้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอนหากคุณมีปัญหาในด้านสุขภาพ อย่างเบาหวาน โดยสำหรับโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์นั้นสามารถเป็นได้ทั้งคุณแม่ที่เคยมีประวัติมาก่อนและคุณแม่ที่ไม่เคยเป็น เพราะทุกการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานด้วยกันทั้งนั้น โดยวันนี้เราจะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจกับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ว่าแบบไหนที่แสดงว่ากำลังเสี่ยงเบาหวาน

ระดับน้ำตาลแบบไหน เสี่ยงเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

ระดับน้ำตาลในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น เป็นตัวชี้บอกได้ว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เพราะโรคเบาหวานจัดเป็นปัญหาที่คนท้องส่วนใหญ่เจอกัน หลายคนคงจะส่งสัยว่าทำไมคนท้องถึงได้เจอกับภาวะการเป็นโรคเบาหวานกันแทบทุกคน นั่นเป็นเพราะว่ารกคอยสร้างฮอร์โมน HCG ที่ออกฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่ออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ค่าน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้นเป็นที่มาของโรคเบาหวานนั่นเอง โดยค่าระดับน้ำตาลที่แสดงว่าคุณแม่เสี่ยงเป็นเบาหวานก็คือ 140-199 mg/dl แต่หากตรวจพบมากกว่า 200 mg/dl ขึ้นไป แสดงว่าเป็นเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์อย่างไม่ต้องสงสัยเลย

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยง เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์มากขึ้น

1. คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินขนาด

2. คุณแม่อาจมีภาวะการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน ไม่แปลกที่ตอนท้องสองจะเกิดภาวะเหล่านั้นซ้ำอีกรอบ

3. มีเครือญาติที่เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน

4. ก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ หรือตรวจเบาหวานเจอนั้น คุณแม่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะสามารถวินิจฉัยว่าคุณเป็นเบาหวาน

5. ตรวจเจอถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่

อาการของโรคเบาหวาน

ก็อย่างที่รู้กันคร่าวๆ อยู่แล้วว่ากรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์เจอกับภาวะเป็นโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ โดยจะเป็นมากที่สุดคือช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ โค้งสุดทายก่อนการคลอด แต่บางคนอาจเจอในช่วง 20 สัปดาห์แรกก็เป็นไปได้ ซึ่งการเกิดเบาหวานลักษณะนี้น้อยคนนักที่จะเจอ

ทั้งนี้การเป็นโรคเบาหวานในช่วยที่คุณตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วทุกเคสจะไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็นเลย ซึ่งแพทย์จะสามารถตรวจได้จากการวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยคุณแม่บางคนมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติ ปากแห้ง และรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อมีระน้ำตาลในเลือดสูง บางคนอาการค่อนข้างคล้ายกับอาการท้องปกติ ดังนั้นควรปรึกษาหรือเข้ารับการตรวจเพื่อคลายข้อสงสัยและความสบายใจ

วิธีควบคุมอาหาร เมื่อเป็นเบาหวานตอนท้อง

หากคุณแม่เป็นเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ จะต้องควบคุมเรื่องอาหารการกิน ดังนี้

1. กรณีที่คุณแม่โชคร้ายเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นหากมีการดูแลและปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่แย่หรือใหญ่โตสักเท่าไหร่ โดยคุณสามารถเริ่มต้นจากการกินอาหารหลัก 3 มื้อแล้วตามด้วยอาหารว่าง 3 มื้อ

2. ควบคุมอาหารให้มีความสมดุลกัน โดยการกินอาหารแต่ละมื้อให้มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

3. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ทานจุกทานจิก

4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอไปทำกิจกรรมได้

5. เมนูในแต่ละวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปมาเพื่อลดความจำเจ

Sponsored

6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาหารที่ส่งผลเสียต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย อย่างเช่น อาหารรสจัด อาหารดิบ เป็นต้น

7. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องของร่างกาย โดยการจิบน้ำบ่อยๆ ในระหว่างวัน

การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับใครที่ไม่เป็นเบาหวาน ก็ไม่ควรชะล่าใจ โดยควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์อยู่เสมอ ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองดังนี้

1. ให้คุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายลูกน้อย โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยสูง แต่คุณต้องดูหรือเลือกอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล หรือแคลอรี่ต่ำด้วย เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อห่างกายคุณแม่และลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนแนะนำให้คุณกินอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม

2. ช่วงระยะเวลาที่คุณแม่ตั้งท้อง ทางคุณหมอย้ำเสมอเลยว่าหากมีการเจ็บป่วยหรือมีเหตุต้องใช้ยานั้นจำเป็นที่จะต้องมาปรึกษาคุณหมอก่อนการกินยาทุกครั้ง ทางแพทย์จะจัดยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินได้ ส่วนยาอื่นๆ อย่าง ยาเพรดนิโซนก่อให้เกิดภาวะดื้อและขัดขวางการทำงานของอินซูลิน

3. คุณแม่มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือระดับปานกลางที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ โดยการ เดินเล่น ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

4. ก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องมีการเตรียมการปรับความสมดุลของน้ำหนักตัวให้เหมาะสมก่อนการตั้งครรภ์ และเมื่อมีการตั้งครรภ์แล้วก็ควรที่จะควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากจนเกินไป

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเป็นได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรดูแลตัวเองให้ดี โดยเลือกทานอาหารอย่างเหมาะสม และเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูความเสี่ยงของโรคนี้นั่นเอง

อ้างอิง : phyathai

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.10 อาหารเพิ่มน้ําหนักลูก เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย

2.อาหารที่แม่กิน มีผลต่อการสร้างน้ำนม จะเลือกกินอย่างไรดี