ทารกคอแข็งเมื่อไหร่ เมื่อชีวิตน้อยๆ ลืมตาออกมาดูโลก สิ่งที่คุณแม่คุณพ่อต้องคอยดูแลเท่าๆ กับความรักที่ให้ไป นั่นคือความใส่ใจในเรื่องพัฒนาการต่างๆ ด้วย ซึ่งเริ่มต้นของทารกนั้นรู้ไหมว่าเขาสามารถมองเห็น ได้กลิ่น ได้ยิน สัมผัสรสได้ และกล้ามเนื้อคอยังสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้แล้ว เพียงแต่การเคลื่อนไหวจะค่อยๆ เริ่มจากช่วงคอพับคออ่อน นี่เองที่มักมีคำเตือนจากผู้ใหญ่เสมอว่า ช่วงนี้ต้องอุ้มทารกด้วยความระมัดระวัง ต้องคอย ต้องคอยใช้มือโอบอุ้มคอไว้ตลอดเวลา อยากรู้ไหม? ทารกจะคอแข็งเมื่อไหร่ และจะแก้ไขอย่างไร เมื่อทารกคอแข็งช้า ทีมคนท้องมีข้อมูลดีๆ มาฝากค่ะ
ทารกจะคอแข็งเมื่อไหร่
มีคุณแม่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ทีมคนท้องเรามีข้อมูลสำหรับเรื่องนี้มาฝากค่ะ
ในช่วงทารกอายุได้ประมาณ 1-2 เดือน
ต้องบอกว่าพัฒนาการต่าง ๆ ก็จะเริ่มต้นขึ้นไปทีละเล็กทีละน้อย กล้ามเนื้อคอก็จะเริ่มแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งหากมีการจับทารกคว่ำ ลองสังเกตดูนะคะว่า ทารกจะสามารถชันคอขึ้นประมาณ 45 องศา ได้แล้ว และยังเริ่มหันไปหันมาได้แล้ว
ดังนั้นช่วงเวลานี้สิ่งที่คุณแม่จะเสริมพัฒนาการทารกได้มากขึ้น หรือแก้ไขอย่างไร เมื่อทารกคอแข็งช้า มาดูกันค่ะ เริ่มต้นลองเขี่ยข้างแก้มทารกทีละข้างลองดูค่ะ เพื่อให้เขาหันไปหันมา หรือลูบกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพื่อกระตุ้นให้ทารกยกศีรษะขึ้น หรือการแขวนโมบายสีสันสดใส ระยะห่างจากสายตาประมาณ 1 ฟุต เพื่อให้ทารกมองโมบาย หรือเล่นกับทารกโดยอาจจะทำเสียงต่างๆ หรือเปิดเพลง เพื่อดึงความสนใจให้เขาหันมา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามอย่างที่เราทราบกันดี พ่อแม่คือ ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย การได้อุ้ม ได้สัมผัส ได้เล่น กับเขาล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นพัฒนาการได้ดีกว่า
ในช่วงทารกอายุได้ประมาณ 3-4 เดือน
ทารกในช่วงเวลานี้จะเริ่มคอแข็งแรงแล้วค่ะ สามารถยกศีรษะได้นาน และยกศีรษะได้ 90 องศาแล้ว จะค่อยๆ มีพัฒนาการมากขึ้น เริ่มใช้ปลายมือยันตัวเองขึ้นได้ เริ่มพลิกคว่ำตัวได้แล้วในช่วงอายุ 4 เดือน ซึ่งคุณแม่สามารถเสริมพัฒนาการได้ หรือแก้ไขอย่างไร เมื่อทารกคอแข็งช้า ดังนี้ ให้ลูบกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพื่อกระตุ้นให้ทารกยกศีรษะขึ้น หรือจัดที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไป เพื่อให้ทารกง่ายต่อการพลิกคว่ำ หรือการหาของเล่นที่มีเสียง หรือสีสันสดใสเป็นที่ต้องตา มาเล่นกับเขาและเปลี่ยนทิศทางสลับกันไปด้วย เพื่อให้ทารกได้ฝึกกล้ามเนื้อคอมากขึ้น หรืออุ้มทารกนั่นตัก โดยหันหน้าของเขาออกไป และให้หลังของเขาห่างจากลำตัวคุณแม่เล็กน้อย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงมากขึ้น
ในช่วงทารกอายุได้ประมาณ 5-6 เดือน
ทารกช่วงเดือนนี้จะเริ่มมีพัฒนาการที่ชัดเจนมากขึ้นอีกหนึ่งระดับ โดยสามารถใช้มือยันตัวเองขึ้นได้ เมื่อจับนั่งจะพบว่าศีรษะเริ่มตรงแล้ว ไม่คอพับคออ่อนเหมือนเดิม พลิกคว่ำได้ เริ่มใช้มือคว้าสิ่งต่างๆ จำชื่อตัวเองได้เมื่อเรียกก็จะหันตาม มีการส่งเสียงโต้ตอบ ซึ่งคุณแม่สามารถเสริมพัฒนาการได้หรือแก้ไขอย่างไร เมื่อทารกคอแข็งช้า ดังนี้ ให้คุณแม่เรียกชื่อเขาบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นชินและหันตามเสียงเรียก หรือคุยกับทารกถึงสิ่งที่กำลังทำ เช่น กำลังอาบน้ำ คุณแม่ลองคุยกับเขาไปเรื่อยๆ ลองดูนะคะ หรือหาของเล่นที่ชิ้นใหญ่และปลอดภัยมาให้เขาเล่น เพื่อความปลอดภัยในการใช้มือคว้ามาเข้าปาก หรือหาสถานที่ที่ปลอดภัยและง่ายต่อการพลิกตัวของทารก
สาเหตุทารกคอแข็งช้า
หากไม่แน่ใจว่าทารกมีความผิดปกติคอแข็งช้าหรือไม่ ลองมาดูสาเหตุกันค่ะ ทารกคอแข็งช้ามาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น มีความผิดปกติด้านร่างกาย ตาบอด หูหนวก มีความด้านการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ คุณแม่คุณพ่อไม่ใส่ใจในเรื่องของพัฒนาการลูกน้อย ไม่มีการเล่น ไม่ชี้ชวนขยับ ไม่ฝึก และอื่น ๆ เป็นต้น
พัฒนาการช้าที่คุณแม่ควรพาลูกไปพบหมอ
หากพบว่าลูกน้อยอายุ 3 เดือน ยังไม่สามารถชันคอได้ หรือลูกน้อยอายุ 4 เดือน จับนอนคว่ำแล้วไม่ยอมชันคอขึ้นได้ ลองสังเกตดูดี ๆ และหากพบว่าเป็นเช่นนี้อย่ารอช้า หรือทิ้งเวลาเนิ่นนานไป รีบพาไปปรึกษาหมอหมอนะคะ
ทั้งนี้ทั้งนั้นการฝึกพัฒนาการลูกน้อย คุณแม่คุณพ่อควรอยู่ในอารมณ์ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด เพียงแต่เพิ่มความใส่ใจ สนใจ และสังเกตให้มากขึ้นค่ะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์