โดยปกติแล้ว เราอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายแรงงานในส่วนของการลาคลอด ที่ได้ระบุให้ลูกจ้างหญิงที่มีการตั้งครรภ์ สามารถลาคลอดได้ต่อ 1 ครรภ์ไม่เกิน 90 วัน โดยที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ในช่วงระยะเวลาที่ลาคลอดไม่เกิน 45 วัน ซึ่งก็เท่ากับว่า หากหยุดลาคลอด 3 เดือน จะได้รับเงินเดือน 1 เดือนครึ่งนั่นเอง (ถึงหยุดไม่ถึง ก็ได้รับเงินเดือนครึ่งเช่นกัน) ส่วนคุณพ่อหากเป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างราชการ สามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดเพื่อมาเลี้ยงดูลูกได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาเพียง 15 วัน แต่รู้หรือไม่ว่า การลางานเพื่อไปทำหมัน ก็มีระบุในกฎหมายแรงงานว่าสามารถทำได้เช่นกัน และยังได้ค่าแรงชดเชยอีกด้วย มาดูกันว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร และเราสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้หรือไม่ ?

การ ทำหมัน คืออะไร ?

ในสภาพสังคมปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับในคำกล่าวที่ว่า “มีลูกมากจะยากจน” เป็นความจริงที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การจะเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีค่าใช้จ่ายที่มหาศาล เริ่มตั้งแต่นม ผ้าอ้อม เสื้อผ้า ไปจนถึงค่าเทอม และค่าอื่น ๆ อีกจิปาถะ เมื่อมีลูกเพิ่มขึ้นอีกคน ค่าใช้จ่ายก็จะมากขึ้นเป็น 2 เท่า ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหานี้ขึ้น ก็ต้องมีวิธีการคุมกำเนิดที่ดี และแน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุด ก็คือการทำหมันนั่นเอง โดยการทำหมัน สามารถทำได้ทั้งในฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ขึ้นอยู่กับความสะดวกและการตกลงปลงใจกันระหว่างทั้งสองฝ่าย แต่ส่วนมากแล้ว มักจะพบการทำหมันในผู้หญิงมากกว่า เนื่องจากสามารถทำหลังคลอดได้ทันที ก็คือทนเจ็บครั้งเดียวนั่นเอง เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถใช้ชีวิต หรือมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ

การทำหมันหญิง มีกี่ประเภท แบบใดบ้าง ?

การทำหมันหญิง มีด้วยกันหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือการทำหมันเปียก และการทำหมันแห้ง โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

การทำหมันเปียก เป็นการทำหมันภายหลังจากการคลอดบุตรตั้งแต่ 48 ชั่วโมงแรก ไปจนถึง 6 สัปดาห์ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสะดวก และมีประสิทธิภาพที่ดี ถึงแม้อาจจะมีการเจ็บเพิ่มอีกเล็กน้อยหลังจากคลอดบ้าง แต่ก็ถือว่าเจ็บเพียงครั้งเดียว

การทำหมันแห้ง เป็นการทำหมันในช่วงเวลาปกติ หรือช่วงที่ไม่ได้อยู่ภายหลังการคลอดบุตร 6 สัปดาห์แรก วิธีการทำหมันแห้ง จะอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก ซึ่งก็มีทั้งการผ่าตัดผ่านกล้อง และการผ่าตัดที่หน้าท้อง ถึงแม้จะดูน่ากลัว แต่ทั้ง 2 วิธีนี้ ใช้เวลาพักฟื้นลังผ่าตัดเพียง 2-3 ชั่วโมง ก็กลับบ้านได้ทันที

หากจะใช้สิทธิ์ลาเพื่อทำหมัน ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ.2541 ในมาตรา 33 ได้ระบุไว้ว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง” โดยสิทธิ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และมนส่วนของมาตรา 57 วรรค 2 ยังได้ระบุเพิ่มเติมไว้อีกว่า “ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตามมาตรา ๓๓ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย” นั่นก็หมายความว่า การลาเพื่อไปทำหมัน สามารถลาได้ตามความเหมาะสมของแพทย์ โดยที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามปกติ

Sponsored

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะลาไปทำหมัน จะต้องส่งใบลาล่วงหน้าให้นายจ้างทราบก่อน เนื่องจากการทำหมัน สามารถกำหนดวันเวลาตามที่ได้นัดกับแพทย์ไว้ ไม่เหมือนการลาป่วยที่ไม่สามารถระบุระยะเวลาไว้ล่วงหน้าได้ โดยในกฎหมายแรงงานได้ระบุเพิ่มเติมไว้อีกว่า สามารถลาทำหมันได้ 2 กรณี คือลาเพื่อไปทำหมันจริง ๆ และลาเพราะมีการทำหมัน (มีผลข้างเคียง ต้องนอนพัก)

ใครที่กำลังคิดจะทำหมัน แต่ไม่กล้าหยุดงาน จะไปทำวันเสาร์อาทิตย์ ก็กลัวผลข้างเคียงการทำหมันจะทำให้ไม่สามารถไปทำงานได้ ก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้แล้ว เช็คร่างกายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ นัดแพทย์ไว้ล่วงหน้าแล้วก็เตรียมยื่นใบลางานได้เลย

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม