นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด สปส. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิม 400 บาทต่อบุตร 1 คน เป็น 600 บาท ต่อบุตร 1 คน ไม่เกินอายุ 6 ปี

เงินสงเคราะห์บุตร จาก 400 บาทเป็น 600 บาท

เนื่องจากอัตราเดิมใช้มาตั้งแต่ปี 2554 ขณะที่หากปรับเป็น 600 บาทต่อเดือน ก็ยังไม่กระทบเสถียรภาพของกองทุน เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเฉลี่ย 1,324,848 คนต่อเดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2560) อีกทั้งจำนวนบุตรของผู้ประกันตนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าค่าใช้จ่ายด้านอาหารของเด็กเล็กอยู่ที่ 579 – 812 บาทต่อเดือน จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 600 บาทต่อเดือน ในปี 2561 เป็นเงินประมาณการจำนวน 3,036 ล้านบาท

นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า บอร์ด สปส. ยังได้มีมติให้ สปส.เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้น เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกันตนในปี 2561 ซึ่งการดำเนินการเพิ่มสิทธิประโยชน์ของสำนักงานประกันสังคม ยังคงยึดหลักประโยชน์สูงสุดของผู้ประกันตนเป็นสำคัญ โดยยังคงมุ่งมั่น ทุ่มเทการทำงานและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ตามแนวนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน และนโยบายกระทรวงแรงงานของ พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อันจะนำไปสู่การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืน

ขอบคุณที่มา : social.tvpoolonline.com

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

Sponsored

1.ปอดอักเสบ เกิดจากอะไร? แม่ท้องเป็นโรคนี้จะส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม

2.อาการท้องแรก และ 7 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้