รกน้อย คืออะไร? เมื่อคุณแม่เริ่มเริ่มตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ เป็นอันเรียบร้อย ต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ สำหรับคุณแม่ที่มีอายุค่อนข้างมากหรือ 35 ปีขึ้นไป มีความจำเป็นที่ควรเจาะตรวจน้ำคร่ำเพราะมีความเสี่ยงหลายประการ เพราะระยะเวลาตั้ง 9 เดือนอาจเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันขึ้นได้ หากได้ตรวจคุณหมอและคุณแม่จะได้เตรียมตัวรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ แบบนี้ปลอดภัยดีกว่านะคะ
สำหรับอาการที่เกิดขึ้น มักจะเกิดกับทารกน้อย ได้แก่ ความผิดปกติของสมอง อาการดาวน์ซินโดรม ภาวะคลอดก่อนกำหนด ฯลฯ ซึ่งต้องดูองค์ประกอบและสุขภาพของคุณแม่เป็นสำคัญ สำหรับบทความในครั้งนี้ขอกล่าวถึง อาการที่เรียกว่า “รกน้อย”
มาไขข้อข้องใจกันค่ะว่า รกน้อยคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร
รกน้อย คือ ส่วนเกินของเนื้อรกที่งอกเพิ่มมาใหม่อีก 1 ส่วน และรกส่วนเกินนี้จะยึดติดกับรกใหญ่ ด้วยหลอดเลือดจากสายสะดือที่แตกแขนงแยกสาขาออกไป เปรียบเทียบง่ายคล้ายกับถนนสายหลักที่มีถนนสายเล็กแยกออกไปเป็นตรอกซอก ซอย นั่นแหละค่ะ
ซึ่ง “ไม่มีอันตราย” ใด ๆ ต่อตัวคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์
สาเหตุ
ในทางการแพทย์ยังไทราบสาเหตุว่า รกน้อยนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่พบได้ไม่มากค่ะ
แต่มีผลกระทบตอนคลอด ที่ทำให้คุณหมอทำงานยากขึ้นอีกเล็กน้อย เพราะถ้าคลอดแล้วรกออกมาไม่หมดคุณแม่จะมีความเสี่ยง “ตกเลือด” หลังคลอดได้ จากภาวะรกน้อยค้าง ซึ่งจะต้องให้คุณหมอล้วงรกเพื่อให้เอารกที่ค้างออกมาให้หมด ซึ่งคุณหมอจะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง ว่ารกที่คลอดออกมามีชิ้นส่วนครบถ้วนหรือไม่
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..