โรคSLE Q: ดิฉันกำลังวางแผนตั้งครรภ์ค่ะ พอดีอ่านเจอข้อมูลในเว็บไซต์เกี่ยวกับโรค SLE รู้สึกสงสัยว่าตัวเองเป็นหรือเปล่า คือกลัวมาก ๆ ค่ะ เพราะเขายังบอกว่าโรคนี้มีผลกับการตั้งครรภ์ ก็เลยอยากขอคำแนะนำ
โรคSLE คือโรคที่เกี่ยวกับอะไร หากแม่ท้องเป็นแล้วจะรักษายังไง?
A: โรค SLE หรือโรคเอสแอลอี (systemic lupus erythematosus) หรือโรคลูปัส เป็นโรคที่พบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่ต่อต้านเนื้อเยื่อ และอวัยวะบางอย่างในร่างกาย เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่รักษาได้ด้วยการควบคุมไม่ให้โรคนี้ลุกลามไปกระทบต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ทั้งนี้หากแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรค SLE ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่เกิดขึ้นจะมีได้ทั้งต่อแม่และทารกในครรภ์
ปกติแล้วเมื่อเป็นโรค SLE ในแม่ตั้งครรภ์ หมอจะใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ในการรักษา ซึ่งก็อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ไม่มากก็น้อย ทางที่ดีแนะนำว่า ในผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคนี้และรักษาด้วยยา ควรมีการคุมกำเนิดก่อนเบื้องต้น รอเวลาในการรักษาโรคนี้ให้ซบเซาลงก่อน อาจจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น ค่อยวางแผนในการตั้งครรภ์ต่อไป
ในระยะที่โรคไม่แสดงอาการ ระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานได้ดี แต่เมื่ออาการของโรคกลับมาก ก็ต้องกลับมาทานยารักษาอีกครั้ง ซึ่งผลเสี่ยงก็ย่อมมีต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ได้อีก คือ ในแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจเกิดการแท้งได้ง่ายกว่าแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นปกติ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถพบในบ่อยในแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคนี้ร้อยละ 50 และมักคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกมีขนาดเล็กมากกว่าอายุครรภ์ ทารกมีภาวะตายคลอด ทารกมีภาวะตายในครรภ์ ความผิดปกติที่หัวใจในทารกลูปัส และอื่น ๆ ฉะนั้นก่อนคิดจะตั้งครรภ์ คุณแม่คนไหนที่ป่วยเป็นโรคนี้ ควรปรึกษาหมอให้ดี เพราะในปัจจุบันมีการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคนี้เอื้อต่อการเกิดโรค SLE
ส่วนอาการของโรค SLE จะไม่แน่นอนอาจเป็นลักษณะขึ้น ๆ ลงๆ โดยสามารถสังเกตอาการต่าง ๆ ได้ เช่น มีผื่นแดงอักเสบลักษณะนูน ผมร่วงจนสังเกตได้ถึงความผิดปกติ ข้อบวมอักเสบ ซึ่งในแม่ตั้งครรภ์ปกติข้อจะบวมและปวดข้อแต่ไม่อักเสบ ผิวหน้ามีผื่นขึ้นคล้ายปีกผีเสื้อ ฮีโมโกลบินต่ำ ไตเสื่อม ไตอักเสบ มีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจกับปอดอักเสบ ระดับเกร็ดเลือดต่ำ ครรภ์เป็นพิษ มีอาการเขียวและปวดตามปลายนิ้วเมื่อสัมผัสอากาศเย็น มีอาการทางระบบประสาท เป็นต้น
หัวใจของการป้องกันดูแลโรค SLE ในแม่ตั้งครรภ์ คือการควบคุมโรคให้สงบ เพราะโรคนี้อย่างที่ทราบกัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการอยู่ในความดูแลของหมอ เพื่อเฝ้าดูอาการประกอบกับรักษาให้ยาไปตามอาการ จะมีความปลอดภัยและสามารถตั้งครรภ์ตามปกติได้
ส่วนคุณแม่ที่สงสัยว่าตนเองเป็นโรค SLE หรือไม่ ก็ควรไปตรวจสุขภาพร่างกาย ให้ทราบผลที่ชัดเจนก่อน เพราะจะได้สบายใจ และไม่ต้องกังวลกับความคิดที่ว่า เอ๊ะ! เรามีอาการแบบนี้เป็น หรือ ไม่เป็นเป็นนะ!? เคลียร์ๆ ไปให้ชัดเจน …จะได้ไม่เครียดไม่ต้องกังวล
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..