เมื่อลูกมีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ ให้คุณแม่สังเกตอาการ บางทีลูกน้อยอาจจะเป็น โรคภูมิแพ้ตัวเอง ก็ได้ โดยในช่วงแรกอาการที่แสดงออกยังไม่ชัดเจนมากนัก จนเมื่อลูกมีอาการรุนแรงขึ้น ภายในร่างกายเกิดการอักเสบ ก็จะเริ่มมีอาการแสดงออกมา ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรบ้าง
โรคภูมิแพ้ตัวเอง คืออะไร
โรคภูมิแพ้ตัวเองหรือที่รู้จักกันว่าโรค sle หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานที่มีอยู่ในร่างกาย ที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า anti body มีการเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดการแยกแยะระหว่างสิ่งแปลกปลอมที่คอยดักจับตามปกติไม่ได้ แถมยังสร้าง Auto Body ขึ้นมาโจมตีร่างกายของตัวเองอีกจนทำให้อวัยวะภายในร่างกายเกิดการอักเสบ โดยอาการที่แสดงออกมาก็จะแตกต่างกันไปตามที่จุดที่เกิดการอักเสบนั่นเอง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม โรค SLE ได้ที่นี่
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ตัวเอง ก็มีหลากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้
1.ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม
หากคุณพ่อคุณแม่ บุหรือคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ นั่นหมายความว่าลูกน้อยก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้ตัวเองได้ด้วย โดยเฉพาะในฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าแฝดไข่คนละใบ
2.การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
เชื้อบางชนิดซึ่งเป็นไวรัสที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบอัตโนมัติที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก็จะทำให้เกิดภูมิแพ้ตัวเองได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เชื้อเริม ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายมาก
3.เพศหญิงมักมีความเสี่ยงมากกว่า
โรค SLE ส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดในเพศหญิงซึ่งมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนหรือโครโมโซม x ที่มีมากกว่าเพศชาย จึงทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูง
4.แสงแดด
แสงแดดซึ่งมีรังสีอุลตร้าไวโอเลตมีผลกระตุ้น และสร้างสารอินเตอร์เฟียรอน มายับยั้งการแบ่งตัวขยายพันธุ์ของไวรัสและแบคทีเรียได้มากขึ้น ส่งผลทำให้ผิวหนังตรงบริเวณที่โดนแดด เกิดเป็นปื้นแดงขึ้นมา และเสี่ยงเป็นโรคพุ่มพวงได้
5.ยาบางชนิด
โดยตัวยาที่เหนี่ยวนำให้เกิด AUTO IMMUNE ได้แก่ ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน รวมถึงยากันชัก ยาไทรอยด์ และยาลดไขมัน เป็นต้น
6.สารเคมีบางชนิด
สารเคมีเหล่านี้อาจจะพบได้ในบริเวณบ้าน ในโรงเรียน ได้แก่ สีย้อมผ้า สีทาอาคาร สีย้อมผม ยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ โดยเมื่อได้รับการกระตุ้นเหล่านี้จะทำให้เด็กมีอาการขึ้นได้

อาการแสดงว่าลูกน้อยป่วย
ภูมิแพ้ตัวเอง อาการเป็นอย่างไร จะมีอาการที่สังเกตได้ดังนี้
1.มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ มีแผลในปากเป็นๆ หายๆ ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลียมากผิดปกติ และมักเป็นอยู่นาน
2.ทานข้าวไม่ได้ เบื่ออาหาร รวมถึงน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.มีผื่นขึ้นบนใบหน้าเป็นรูปผีเสื้อ ซึ่งเกิดจากการโดนแสงแดด รวมถึงบริเวณหลังศีรษะหลังใบหูด้วย ตลอดจนถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยไม่ได้เกิดจากการแพ้สารชนิดอื่น
4.ไขข้ออักเสบมีอาการปวดบวมตามข้อและปวดตามตัวร่วมด้วย มักจะเป็นช่วงตอนเช้าหลังตื่นนอน
5.มีอาการผมร่วงมากผิดปกติ
6.เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจลึกๆ ไอ ร่วมกับมีอาการปอดอักเสบ และหัวใจเต้นผิดปกติ
7.นิ้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเมื่อโดนอากาศเย็น
8.มีอาการบวมบริเวณหลังเท้า ซึ่งเกิดจากการที่ไตอักเสบ รวมถึงมีปัสสาวะผิดปกติ
9.ในบางรายจะมีอาการทางระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
10.มีอาการทางระบบโลหิต เช่น มีความซีดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดแดงต่ำ รวมถึงหลอดเลือดแดงอักเสบ อาจพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัว คล้ายอาการของโรคไข้เลือดออก

วิธีการดูแลรักษา เมื่อลูกเป็นโรค SLE
ด้วยโรคนี้เป็นโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลานานซึ่งแพทย์จะรักษาตามอาการ เพราะเป็นโรคเรื้อรัง ต้องได้รับความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่แล้วทางแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเป็นตัวช่วยควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระดับปกติจนกว่าโลกนี้จะหายขาด ร่วมกับการดูแลรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
- กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรลดหรือเพิ่มขนาดของยาด้วยตนเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้มาก่อน
- ไม่ควรแยกลูกออกไปจากสังคม ให้ลูกได้เล่นตามปกติ นอกจากกรณีแพทย์สั่ง
- หากมีอาการทางไตร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์ จึงจำเป็นต้องจำกัดอาหารบางประเภท โดยจะมีแพทย์เป็นผู้แนะนำ
ภูมิแพ้อื่นๆ ในเด็ก ที่ต้องระวังเช่นเดียวกัน
ป้องการลูกน้อยจากภูมิแพ้ตัวเองได้อย่างไร
โรคแพ้ภูมิตัวเอง ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีใดป้องกันได้ แต่คงมีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคนี้ได้ด้วยการดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ โดยมีคำแนะนำดังนี้
- ให้ลูกออกกำลังกายเดินเล่นตอนเช้า
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- การรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสการติดเชื้อ
- แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยา ก็ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
สรุป
เมื่อลูกเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองแล้ว ก็ต้องดูแลรักษากันไปตามอาการและควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน แต่ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นความโชคดีของคนไข้ ที่วงการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้นสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้เมื่อคนไข้ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ป้องกันลูกเป็นภูมิแพ้ ไม่ยาก แค่จัดห้องนอนลูกให้ถูกวิธี
2.ทำไมลูกถึงแพ้นมวัว? มาทำความเข้าใจกับอาการแพ้นมวัว สารก่อการแพ้ และภูมิแพ้ต่างๆ