ใครจะคาดคิดว่า แค่ เขย่าตัวทารก ก็อาจส่งผลร้ายกับลูกได้ถึงชีวิต คุณพ่อคุณแม่บางคนที่ชอบจับลูกเขย่าเพื่อหวังจะเล่น หรือเพื่อให้เขาหยุดจากอาการร้องไห้ รู้ไหมว่านั่นอาจส่งผลให้ลูกตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome ได้ ซึ่งชื่อนี้อาจฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูนักสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ดังนั้นมาทำความรู้จักกับภัยร้ายของโรคนี้กัน เพื่อจะได้ป้องกันและระมัดระวังกันมากขึ้น
ภาวะ Shaken Baby Syndrome จากการ เขย่าตัวทารก คืออะไร
Shaken Baby Syndrome คืออาการที่เกิดจากการเขย่าทารกอย่างรุนแรง จนส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมอง ซึ่งพบว่ามักเกิดกับทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยความรุนแรงของโรคนี้จะส่งผลทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตทารกได้ รวมทั้งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ตาบอด ได้อีกด้วย
สาเหตุเกิดจากอะไร
เนื่องจากสมองของทารกมีขนาดใหญ่ และกล้ามเนื้อคอก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะพยุงศีรษะตนเองได้ เมื่อเกิดแรงเขย่าอย่างรุนแรง ทำให้เนื้อสมองกระแทกกับกะโหลกศีรษะ จนเส้นเลือดบริเวณที่หุ้มสมองซึ่งมีความบอบบางเกิดการฉีกขาด และมีเลือดออกจากสมองในที่สุด ซึ่งก็มีความอันตรายเป็นอย่างมาก
อาการของโรค
ในขณะที่ทารกถูกจับเขย่า จนเกิดบาดแผลภายในที่ไม่สามารถถมองเห็นได้ แต่จะสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทารกได้ โดยเริ่มแรกจะมีอาการอาเจียน เซื่องซึม ไม่ยอมดูดนม ร้องไห้งอแงตลอดเวลา หายใจลำบาก จนไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงเรียก ซึ่งควรพาลูกไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้นานอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
แม้เด็ก1 ใน 3 ที่เป็นโรคนี้จะได้รับการรักษาให้หายได้ แต่ก็พบว่าอีก 1 ใน 3 ของเด็กที่ตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome อาจเสียชีวิตเพราะความรุนแรงของโรค ส่วนเด็กที่เหลือก็กลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต เช่น ตาบอด ลมชัก อัมพาต ปัญญาอ่อน จนทำให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป รู้แบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรจับลูกเขย่าตัวอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจะเป็นการเขย่าแบบเบาๆ ก็ตาม
วิธีการป้องกัน
เมื่อทราบถึงอันตรายที่เกิดจากการเขย่าแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว รวมทั้งไม่เล่นกับลูกแบบรุนแรงอีกด้วย ซึ่งสามารถป้องกันได้ดังนี้
1.ไม่จับลูกโยนขึ้นสูง ๆ เพื่อให้หล่นลงมา เพราะแม้ว่าจะไม่ใช่การเขย่าตัวลูกแบบโดยตรง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสมองของลูกเช่นเดียวกับการเขย่า
2.ไม่จับลูกเหวี่ยงโยนไปมาแรงๆ จนหัวสั่นคลอด จะทำให้เกิดภาวะอันตรายนี้ได้
3.ระวังไม่ให้เด็กนั่งล้มไปด้านหลังอย่างแรง เพราะจะทำให้ศีรษะกระทบกระเทือนจนเสี่ยงภาวะ Shaken Baby Syndrome ได้เหมือนกัน
4.ควบคุมอารมณ์ ไม่ให้โกรธจนเขย่าทารกเมื่อทารกงอแง แต่ควรปลอบประโลมให้ลูกหยุดร้องโดยวิธีอื่นๆแทน
5.เมื่ออุ้มลูกทุกครั้ง อย่าลืมประคองศีรษะทารกด้วย เพื่อไม่ให้ศีรษะทารกสั่นคลอน
เมื่อทราบถึงภัยอันตรายของ ภาวะ Shaken Baby Syndrome แล้ว คุณพ่อคุณแม่ที่ชอบจับตัวลูกเขย่าเป็นประจำก็ควรหยุดโดยด่วน เพื่อป้องกันลูกน้อยจากอาการป่วยด้วยภาวะอันตรายนี้นั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม