อาการแพ้ท้องนั้น เชื่อว่าแม่ตั้งครรภ์ทุกคนคงเจอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีอาการมากหรืออาการน้อยแค่ไหน แพ้ท้องอย่างรุนแรง มีผลอย่างไรกับแม่ตั้งครรภ์และลูกในครรภ์ และจะป้องกันอย่างไร เรามีคำแนะนำมาบอกค่ะ
แพ้ท้องอย่างรุนแรง มีผลอย่างไร
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คือ การที่แม่ตั้งครรภ์มีการคลื่นไส้ อาเจียน ผิดปกติ และจะมีอาการแบบนี้เป็นเวลานาน ทั้งยังไม่สามารถควบคุมอาการเหล่านี้ได้ ซึ่งในแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจพบว่าตนเองมีการแพ้อย่างรุนแรงตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ตั้งครรภ์จนไปจนตั้งครรภ์เดือนสุดท้าย
สาเหตุ ที่ผ่านมายังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมาจากสาเหตุดังนี้ คือ ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน ที่มีปริมาณมากขึ้น และพบได้ในแม่ตั้งครรภ์แรก หรือตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์ไข่ปลาอุก และอื่น ๆ กับ สาเหตุทางด้านจิตใจ นั่นคือความเครียด ความกังวล ความสับสน ไม่มั่นใจต่าง ๆ ต่อการตั้งครรภ์ครั้งนี้
อาการที่แสดงออก หากการแพ้ท้องอยู่ในระดับปานกลาง จะพบว่า แม่ตั้งครรภ์มีการอาเจียนมากกว่า 5-10 ครั้ง ต่อวัน และจะอาเจียนต่อเนื่องภายใน 2-4 สัปดาห์ จนนำมาซึ่งอาการอ่อนเพลีย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ น้ำหนักลด ขาดสารอาหาร เป็นต้น ขณะที่หากแพ้ท้องรุนแรง พบว่าจะมีการอาเจียนมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน และอาเจียนต่อเนื่องเกิน 4 สัปดาห์ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ผลที่ตามมาคือ อ่อนเพลีย เหนื่อย ซูบผอม น้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด ขาดสารอาหาร มีไข้ ท้องผูก ตัวเหลือง มองภาพไม่ชัดเจน เป็นต้น
ผลที่เกิดกับแม่ตั้งครรภ์ แน่นอนว่าหากแพ้ท้องอย่างรุนแรง แม่ตั้งครรภ์ย่อมทานอะไรไม่ได้ ทำให้ขาดสารอาหาร เกิดภาวะขาดสารน้ำ และความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะทำให้ร่างกายขากวิตามินซี วิตามินบีรวม ทำให้การแข็งตัวของเลือดเสียไป มีเลือดออกตามไรฟัน บางครั้งทำให้ซึม หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
ผลที่เกิดกับลูกในครรภ์ ลูกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้า อาจส่งผลให้เกิดความพิการ เพราะขาดสารอาหาร รวมถึงอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้
การป้องกัน
1.ปรับพฤติกรรมการทาน โดยเปลี่ยนมาทานแบบน้อย ๆ แต่ทานบ่อยครั้งมากขึ้น หรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการทานต่อครั้ง
2.ทานอาหารที่มีโปรตีนไขมันน้อย หรืออาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ผักต่าง ๆ ผลไม้ต่าง ๆ ข้าว ขนมปัง อาหารที่มีวิตามินบี เป็นต้น
3.ควรดื่มน้ำซุปหรือน้ำผลไม้ ระหว่างมื้ออาหาร เพื่อป้องกันการยืดขยายของกระเพาะอาหาร
4.หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีกลิ่นเหม็น และอาหารที่มีไขมัน
5.หลังทานอาหารไม่ควรนอนทันที แม่ตั้งครรภ์ควรทำกิจกรรมเบา ๆ เป็นการย่อยอาหารก่อน จะช่วยให้ไม่คลื่นไส้อาเจียน
6.ทานอาหารย่อยง่าย ๆ ก่อนเข้านอน เช่น โยเกิร์ต ผลไม้ แซนวิช เป็นต้น
7.หลังตื่นนอนในตอนเช้า หรือเมื่อมีอาการคลื่นไส้ ให้ทานอาหารที่ย่อยง่ายทันที เช่น ข้าวต้ม ขนมปังกรอบ เป็นต้น
8.ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมถึงการทำทุกอย่างให้ช้าลง เช่น ไม่รีบลุก รีบเดิน รีบนั่ง เป็นต้น
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..