น้ำคร่ำช่วยปกป้องทารกที่อยู่ในครรภ์ ไม่ให้ได้รับแรงกระทบกระเทือนจากภายนอก แต่ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น เช่น เกิด ตะกอนในน้ำคร่ำ ก็จะนิ่งนอนใจไม่ได้เลยเพราะนับเป็นภาวะอันตราย ที่สร้างปัญหาให้กับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างนั้น ต้องไปดูกันเลย
ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร
น้ำคร่ำ คือ ของเหลวที่มีลักษณะใส ไม่มีสี โดยจะเริ่มมีน้ำคร่ำตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เลย โดยอาจเกิดจากน้ำเหลืองและเลือดของแม่ หรือของเหลวจากทารก ซึ่งการมีน้ำคร่ำน้อยหรือมากเกินไป สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ เฉกเช่นเดียวกับ การเกิดตะกอนในน้ำคร่ำ ที่มีลักษณะเป็นตะกอนสีขาวอยู่ในน้ำคร่ำ และน้ำคร่ำจะมีขาวเขียวคล้ายกับหนอง ซึ่งอันตรายเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่ ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของน้ำคร่ำให้ดี เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที
สาเหตุของการเกิด ตะกอนภายในน้ำคร่ำ
โดยทั่วไปคุณแม่คงเคยได้ยิน กรณีที่เกิดน้ำคร่ำแตกในระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนการมีตะกอนในน้ำคร่ำนั้น คุณแม่หลายท่านอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยนัก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดตะกอนในน้ำคร่ำนั้น เกิดจากการอักเสบ ทั้งนี้ในบางคนอาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย ในกรณีที่พบว่าคุณแม่มีตะกอนในน้ำคร่ำ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
ผลกระทบ จากการมีตะกอนภายในน้ำคร่ำ
อันตรายจากการมีตะกอนอยู่ในน้ำคร่ำนั้น ถือเป็นความผิดปกติของน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำเดินก่อนคลอด จนคุณแม่ต้องคลอดทารกก่อนกำหนด โดยการอักเสบนั้นจะทำลายปากมดลูก จนทำให้ปากมดลูกอ่อนแอ และส่งผลทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก และทารกคลอดก่อนกำหนดได้นั่นเอง
การตรวจหา ตะกอนภายในน้ำคร่ำ
โดยปกติแล้ว เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์จะนัดตรวจร่างกายทั้งการเจาะเลือดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ การตรวจปัสสาวะดูโปรตีนและเบาหวาน การใช้สายวัดหน้าท้องดูขนาดมดลูก ซึ่งการตรวจเหล่านี้ไม่ทำให้เห็นความผิดปกติ หรือตะกอนในน้ำคร่ำได้ ดังนั้นการตรวจหาตะกอนในน้ำคร่ำสามารถตรวจได้ด้วยวิธีการอัลตราซาวด์
ซึ่งการอัลตร้าซาวด์ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะทำการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งการตรวจครั้งแรกนั้น มักเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ คุณหมอจะทำการอัลตร้าซาวด์ให้ เพื่อคำนวณหาวันครบกำหนดคลอด จำนวนทารกในครรภ์ การเต้นของหัวใจ ดูสภาพรังไข่และมดลูก รวมทั้งวัดความหนาของน้ำบริเวณต้นคอของทารก และหาความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ส่วนครั้งที่ 2 ของการอัลตร้าซาวด์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 18-22 สัปดาห์ แพทย์จะทำการตรวจเพื่อดูความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆของทารกในครรภ์ รวมทั้งการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งช่วงนี้คุณแม่จะได้ทราบเพศของทารก และยังทำให้คุณแม่ได้เห็นหน้าของทารกอย่างชัดเจนด้วย
ดังนั้นการตรวจอัลตร้าซาวด์จึงมีประโยชน์เพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารก โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีประวัติของครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจ รวมทั้งการได้รับยาบางชนิดที่มีผลต่อทารก และคุณแม่ที่มีอายุเกิน 35ปี ขึ้นไป ซึ่งการเกิดตะกอนในน้ำคร่ำนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน จึงควรให้ความสำคัญกับการนัดตรวจอัลตร้าซาวด์ของแพทย์ทุกครั้ง เพราะหากพบความผิดปกติใดๆ หรือมีตะกอนอยู่ในน้ำคร่ำ ก็จะได้ทำการรักษาได้ทัน ก่อนจะส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยนั่นเอง
การมีตะกอนในน้ำคร่ำของคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งภาวะเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งจะต้องตรวจโดยการอัลตร้าซาวด์เท่านั้น ดังนั้นอย่าละเลยการไปพบแพทย์ตามนัด โดยเฉพาะการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่สำคัญเป็นอย่างมาก
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.อาหารที่คนท้องควรกิน และไม่ควรกิน สำหรับคนท้องกรุ๊ปเลือด B
2.อาหารบํารุงครรภ์ และอาหารควรเลี่ยง สำหรับคุณแม่กรุ๊ปเลือด O