ออมเงินเพื่อลูก คุณพ่อและคุณแม่สมัยใหม่นี้ให้ความสนใจกับการออมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการออมเพื่อการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีของลูกรักตั้งแต่ยังตัวเล็ก ๆ กันอยู่โดยให้ชื่อเจ้าของทรัพย์เป็นของลูก ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายสำหรับการออมไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน การซื้อพันธบัตรของรัฐบาล การซื้อหุ้นในชื่อของบุตร แต่เนื่องจากว่าลูกที่ยังเล็กนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะจะสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านี้ได้หรือไม่ วันนี้เรามีรายละเอียดและวิธีการมานำเสนอดังนี้

ออมเงินเพื่อลูก

การออมด้วยการฝากเงินเข้าบัญชี

  1. ในกรณีที่ลูกยังเล็กและไม่มีบัตรประชาชนนั้น (อายุน้อยกว่า 7 ปี) การจะเปิดบัญชีเงินฝากจะต้องทำโดยการเปิดด้วยชื่อของพ่อ หรือแม่เพื่อลูกน้อย หรืออาจเป็น คุณพ่อและคุณแม่เพื่อลูกน้อย หรืออาจเปิดโดยใช้ชื่อลูกนำหน้าอย่างเช่น ลูกโดยคุณแม่ หรือลูกโดยคุณพ่อ หรืออาจเป็น ลูกโดยคุณพ่อและคุณแม่ เท่านั้น
  2. หากลูกมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปซึ่งมีบัตรประชาชนแล้วก็สามารถเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อของลูกได้เลย แต่คุณพ่อและคุณแม่นั้นจะต้องให้ความยินยอมในการเปิดบัญชีด้วย
  3. หากลูกมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะสามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากพ่อแม่ ซึ่งสามารถเปิดบัญชีได้เช่นเดียวกับคนที่บรรลุนิติภาวะแล้วทั่วไปทุกประการ

สำหรับการฝากเงินในลักษณะนี้นั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีแบบใดก็ตามจะถือเป็นเงินของลูกทั้งสิ้น ดังนั้นหากว่าลูกได้รับเงินดอกเบี้ยถึงเกณฑ์ก็จะต้องยื่นแบบ ภงด. หรือจำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะเงินได้ดังกล่าวนั้นจะเป็นของลูก หากลูกไม่สามารถยื่นแบบ ภงด. ได้ด้วยตนเองคุณพ่อและคุณแม่จะต้องมีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภงด. ให้กับลูกของตนเองด้วย อันนี้คือกรณีของการฝากเงินเพื่อการออมในรูปแบบต่าง ๆ กับทางธนาคาร ซึ่งการออมเงินนั้นหากมองโดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันคือ

การออมระยะสั้น

เป็นรูปแบบการออมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายจิปาถะทั่วไป เช่น ค่าขนม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนพิเศษ ค่าโทรศัพท์ ค่าการท่องเที่ยวเพื่อสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป ดังนั้นเงินออมดังกล่าวจึงควรอยู่ในลักษณะที่เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือสามารถถอนนำมาใช้ได้ตลอดเวลา หรือเมื่อใดก็ได้ การออมระยะสั้นด้วยการฝากเงินออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง เมื่อลูกโตพอที่จะสามารถรับผิดชอบอะไรได้บ้างแล้ว ก็ควรให้เงินก้อนส่วนนี้กับลูกเพื่อจะได้รู้วิธีการจัดการเรื่องเงินได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น ให้ค่าขนมเป็นรายวัน ก็อาจให้เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน หากลูกใช้เงินหมดก่อนกำหนดเราก็ต้องมาดูว่าลูกนำเงินนั้นไปใช้กับอะไรบ้าง เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกคิดว่าจะทำอย่างไรให้ใช้เงินได้พอดีตามระยะเวลาที่ตนเองจะได้รับเงินอีกครั้ง

การออมระยะปานกลาง

การออมระยะปานกลางนี้เป็นรูปแบบการออมเพื่อเป็นค่าเทอมของลูกในระดับอนุบาลจนกระทั่งเรียนจบมัธยมปลาย ซึ่งต้องอาศัยวินัยสำหรับการออมค่อนข้างสูงโดยจะเป็นลักษณะของการออมแบบบังคับ หรือห้ามขาย เช่นการออม LTF ที่กำหนดให้ขายได้เมื่อถือครบ 5 ปีแล้วเท่านั้น รูปแบบการออมเพื่อการศึกษาโดยใช้ LTF ซึ่งเริ่มสะสมเงินตั้งแต่ลูกอายุได้ 1 ขวบเพื่อนำเงินที่ได้นั้นมาเป็นค่าเทอมให้ลูกเรียนชั้นอนุบาล (อายุ 5 ปี) การออมในลักษณะนี้นั้นจะทำให้คุณพ่อและคุณแม่ได้ประโยชน์ถึงสองต่อด้วยกันคือ เก็บเงินเป็นค่าเทอมลูกได้และยังสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

การออมระยะยาว

เป็นรูปแบบการออมเงินเพื่อใช้ในการศึกษาของลูกในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป โดยต้องใช้วินัยในการออมค่อนข้างสูงมาก รูปแบบการออมนั้นควรเป็นแบบอัตโนมัติโดยใช้ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะยาว ที่มีช่วงเวลาในการได้รับเงินคืนพอดีกับช่วงเวลาจ่ายค่าเทอม โดยเริ่มการออมเพื่อสะสมเงินส่วนนี้ตั้งแต่ลูกมีอายุได้ 3 ขวบเพื่อเป็นค่าเทอมในระดับ มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 (อายุ 18 ปี) ใช้รูปแบบการออมประกันชีวิตสะสมทรัพย์ระยะเวลา 15 ปี ออมตั้งแต่อายุ 3 ขวบจะได้ได้เงินคืนตอนลูกอายุประมาณ 18 ปี ซึ่งประเด็นสำคัญของผลประโยชน์ในการออมลักษณะนี้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบคือ ได้รับความคุ้มครองชีวิตเป็นเงินออมเพื่อการศึกษา สามารถลดหย่อนภาษีได้ และในระหว่างการออมนั้นหากมีสาเหตุจำเป็นต้องใช้เงินยังสามารถกู้กรมธรรม์ตนเองได้ เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนก่อนได้ ทั้งนี้การกู้เงินดังกล่าวควรดูรายละเอียดและเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ก่อนการตัดสินใจกู้

Sponsored

การออมด้วยพันธบัตรที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกัน

การออมในลักษณะนี้นั้นสามารถซื้อได้ในชื่อของลูกเองเลย แม้ว่าลูกจะยังเป็นผู้เยาว์ (มีอายุน้อยกว่า 20 ปี) โดยลูกจะต้องมีบัตรประชาชนและมีพ่อแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองยินยอม ต้องลงนามกำกับในเอกสารสำคัญ ทั้งนี้เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากพันธบัตรเงินได้ดังกล่าวจะเป็นของลูกเช่นเดียวกันกับการได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก ดังนั้นหากลูกยังไม่สามารถยื่นแบบ ภงด. ได้ด้วยตนเอง คุณพ่อและคุณแม่ หรือผู้ปกครองก็มีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภงด. ให้ลูกด้วยเช่นเดียวกัน

ความร่ำรวยและความมีอิสรภาพทางการเงินนั้นเรามักเริ่มต้นด้วยการ “ออม” เสมอซึ่งใครที่สามารถเก็บออมได้เร็วกว่าก็ย่อมรวยได้เร็วกว่า และเมื่อคุณต้องการที่จะก้าวเดินเข้าสู่ความพร้อมทางด้านการเงิน คุณสามารถออมได้อย่างแน่นอน เพียงเปลี่ยนความคิดจากที่เคยเป็นอยู่ว่าเราจะใช้จ่ายก่อนแล้วที่เหลือค่อยเก็บออมมาเป็นการเก็บออมก่อนแล้วส่วนที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่ายทั่วไป ซึ่งการออมนั้นจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่แต่ละบุคคลเอาเท่าที่สามารถทำได้ เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตามการเก็บออมเพื่ออนาคตที่ดีของลูกนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากสำหรับอนาคตที่ดีของลูกตลอดไป

= = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด ควรเลือกแบบสายผูก หรือแบบกระดุมดีกว่ากัน

2.เสื้อผ้าเด็ก อันตราย ไม่ควรให้ทารกใส่ชุดแบบนี้