ไวรัสโรต้า กับการป้องกันเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโรต้าควรดูแลอย่างไร เพราะทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงในทารกและเด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดกับวัย 6 เดือนขึ้นไป แต่ทารกในช่วงเดือนแรกก็มีโอกาสติดเชื้อได้ค่ะ และที่สำคัญอาการจะหนักกว่าเด็กที่โตกว่าเพราะภูมิคุ้มกันน้อยกว่า

ไวรัสโรต้า ติดต่อกันอย่างไร

ติดต่อจากการสัมผัส  เพราะเชื้อมีขนาดเล็กมากซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ที่สิ่งของเครื่องใช้ เมื่อเด็กไปสัมผัสเอามือเข้าปากก็สามารถรับเชื้อได้  เชื้อตัวนี้ค่อนข้างทน  มีชีวิตอยู่ได้นานหลายวัน  แม้การรักษาความสะอาดจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า แต่ก็จะช่วยการลดการแพร่เชื้อได้

อาการที่สังเกตได้

1.ท้องร่วงอย่างรุนแรงและถ่ายเป็นน้ำมากถึง 7 – 8 ครั้งต่อวัน

2.มีไข้สูง อาจถึง 39 องศาเซลเซียส

3.อาเจียนมากถึง 7 – 8 ครั้งต่อวัน

4.หากมีอาการหนักมากเด็กบางคนอาจมีอาการอาเจียนหรือท้องเสียได้มากกว่า 20 ครั้งใน 24 ชั่วโมง

การดูแลเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโรต้าอย่างไร

1.หากลูกมีอาการท้องร่วงและอาเจียนมาก จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน

2.หากเกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงอาจต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือด  ลูกอาจต้องใช้เวลาในการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 – 5 วัน ทารกและเด็กเล็กต้องใช้เวลาในการพักรักษาตัวนานกว่านั้น

วิธีป้องกัน

1.การทำความสะอาดของเล่น  สนามเด็กเล่น  การรักษาสุขอนามัยและการให้นมแม่

Sponsored

2.ปัจจุบันการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน เพื่อช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโลกและลดการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้ามี 2 ประเภท

1.ผลิตจากเชื้อที่ก่อโรคในวัวและมนุษย์ผสมกัน

2.ผลิตจากเชื้อโรคที่ก่อเฉพาะในมนุษย์ หรือวัคซีนโรต้าสายพันธุ์มนุษย์

วัคซีนโรต้าสายพันธุ์มนุษย์ เป็นวัคซีนที่เลียนแบบการกระตุ้นภูมิเหมือนการติดเชื้อตามธรรมชาติของมนุษย์  สามารถป้องกันสายพันธุ์หลักที่พบได้บ่อยในประเทศไทยและยังสามารถป้องกันการข้ามสายพันธุ์ไปยังเชื้อไวรัสโรต้าสายพันธุ์อื่น ๆ ได้

ขอขอบคุณข้อมูลวิชาการโดย  ศ.นพ.สมศักดิ์  โล่ห์เลขา

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม