โรคในเด็กเล็กช่วง 3 เดือนถึง 3 ปีที่พบได้บ่อยคือโรค หัดกุหลาบ โดยคนไทยรู้จักกันในชื่อส่าไข้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หัดเทียม และมีอาการคล้ายกับโรคหัด ซึ่งโรคหัดกุหลาบนี้เกิดจากอะไร มีอาการเป็นอย่างไร และอันตรายต่อลูกน้อยมากแค่ไหน วันนี้เราจะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจกับโรคนี้กันมากขึ้น พร้อมวิธีดูแลป้องกันให้ลูกรักห่างไกลจากโรคนี้
หัดกุหลาบ คืออะไร?
โรคหัดกุหลาบ หรือส่าไข้เป็นโรค ไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่พบในเด็กเล็กวัย 6-12 เดือน โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อย่อว่า HHV-6 และ HHV-7 ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการที่เด็กวัย 2-3 ปี ได้สัมผัสกับเสมหะและน้ำลายของผู้ป่วย การสัมผัสละอองเสมหะของผู้ป่วยจากการไอหรือจามรดกัน รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะ จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัวหนังสือตลอดจนถึงของเล่นชนิดต่างๆ
อาการของโรคหัดกุหลาบ
หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ จะมีอาการแสดงดังต่อไปนี้
1.มีไข้สูง 39.5 ถึง 40.5 องศาเซลเซียส
2.อาการไข้สูงเฉียบพลันโดยมีตัวร้อนตลอดเวลา
3.เด็กไม่มีอาการเบื่ออาหาร หรือเบื่อนมแต่อย่างใดและยังเล่นได้ตามปกติ มีส่วนน้อยที่จะพบว่าเด็กที่จะมีอาการหงุดหงิดงอแง เบื่ออาหารเล็กน้อยบ้าง
4.อาจจะมีอาการเจ็บคอไอหรือมีน้ำมูกใส ร่วมกับท้องเดินเล็กน้อยได้
5.ซึ่งในเด็กบางรายที่มีไข้สูงก็อาจจะมีอาการชักร่วมได้เช่นกัน
6.อาการเป็นไข้จะคงอยู่ประมาณ 1 ถึง 5 วัน แล้วไข้จะลดลงเป็นปกติอย่างรวดเร็ว
7.ในช่วงที่ไข้ลดลงหลังจากได้ยาลดไข้ ก็จะมีผื่นขึ้นบางลง โดยผื่นนจะมีสีชมพูคล้ายดอกกุหลาบขึ้นทั่วไปตามผิวหนัง ลำตัว ในบางรายผื่นอาจขึ้นไปที่หน้าหรือลงไปที่ขาด้วยก็ได้ ซึ่งผื่นที่ขึ้นมานี้จะไม่ค่อยมีอาการคัน โดยเมื่อเอามือกดผื่นจะเป็นสีจางๆ
8.อาจมีผื่นขึ้นอยู่นาน ตั้งแต่ 3 ชั่วโมงจนถึง 3 วันแล้วค่อยๆ จางหายไปอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นเด็กก็จะกลับมาแข็งแรงได้ตามปกติ
9.ในรายที่เป็นรุนแรงเด็กอาจจะมีอาการคอแดง หนังตาบวม เยื่อบุตาแดงร่วมด้วย รวมถึงมีอาการอักเสบของแก้วหูและในบางรายก็อาจจะคลำพบต่อมน้ำเหลืองโต ที่บริเวณหลังหูและท้ายทอย และที่พบได้บ่อยในเด็กแถบเอเชียก็คือมีแผลบริเวณด้านหลังของเพดานอ่อนติดกับโคนลิ้นและลิ้นไก่
10.ในเด็กบางรายอาจจะไข้สูงเพียงอย่างเดียวไม่มีผื่นขึ้น หรือมีแบบจางๆ ก็เป็นสาเหตุของการทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ชัดเจนนัก
คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม โรคหัดกุหลาบ
โรคหัดกุหลาบอันตรายแค่ไหน
หัดกุหลาบส่วนใหญ่จะไม่อันตรายถึงชีวิตและมีเปอร์เซ็นต์น้อยที่จะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตในเด็ก นอกจากจะมีอาการชัก จากไข้สูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง รวมถึงช่วงแรกอาการจะไม่สามารถแยกโรคได้ชัดเจนว่าลูกป่วยเป็นอะไรกันแน่ จึงมักจะทำให้เด็กมีอาการรุนแรงขึ้นจากการรักษาไม่ถูกวิธี ทั้งนี้ยังพบอีกว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัดที่เกิดจากเชื้อ HH-6 จะทำให้มีอาการแทรกซ้อนที่อันตรายคือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะเกร็ดเลือดต่ำแทรกซ้อน โรคปอดบวม และโรคตับอักเสบ รวมถึงภาวะไขกระดูกไม่ทำงาน ทั้งนี้จะต้องสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนนั่นเอง
แนวทางการรักษา
เมื่อลูกป่วยเป็นโรคหัดกุกลาบ หรือส่าไข้ ก็จะมีแนวทางการดูแลรักษาดังต่อไปนี้
1.รักษาโรคตามอาการเนื่องจากส่วนใหญ่เมื่อเป็นโรคนี้เด็กมักจะมีไข้สูง ดังนั้นการให้ยาพาราลดไข้และดื่มน้ำมากๆ รวมถึงการเช็ดตัวโดยวิธีเช็ดย้อนรูขุมขนก็จะทำให้ไข้ลดลงได้ รวมถึงการไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่หนาจนเกินไปเพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายได้อีกทางหนึ่ง
2.สำหรับผื่นที่ขึ้นหลังไข้ลดสามารถหายเองได้ภายใน 1 ถึง 2 วัน โดยส่วนใหญ่เด็กยังไม่มีอาการคันจึงไม่ต้องใช้ยาและเมื่อหายแล้วก็จะไม่มีแผลเป็นใดๆ เกิดขึ้นด้วย
3.หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพลิน เพราะยาชนิดนี้อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้
4.ถ้าหากลูกน้อยร้องโยเย คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มเดินเพื่อช่วยให้ลูกคลายความเจ็บป่วยลง
วิธีป้องกันลูกน้อยจากโรคหัดกุหลาบ
ในวงการแพทย์ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคหัดกุหลาบแต่สามารถป้องกันได้โดย
1.อย่าให้ลูกน้อยอยู่ใกล้กับผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคหัดกุกลาบ โดยเฉพาะในระยะการติดต่อของโรคคือ 2 วันก่อนมีไข้ จนถึง 2 วันหลังไข้ลด
2.คอยระวังไม่ให้ลูกเอามือเข้าปาก เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน ซึ่งจะทำให้ลูกเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคส่าไข้ได้
3.หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเช็ดมือด้วยเจลให้ลูกบ่อยๆ
4.ป้องกันไม่ให้ลูกเอาของเล่นหรือสิ่งต่างๆ เข้าปาก รวมถึงควรทำความสะอาดของเล่นเป็นประจำ
5.งดใช้สิ่งของร่วมกันกับเด็กอื่น ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ขวดนม ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ หรือทานอาหารถ้วยด้วยเดียวกัน
ลูกมีผื่นแต่ไม่ใช่หัดกุหลาบ เป็นเพราะอะไรคลิกๆ
สรุป
โรคหัดกุหลาบ เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็ต้องระวังในช่วงที่ลูกมีไข้ เพื่อป้องกันการชัก รวมถึงเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ที่สำคัญควรดูแลรักษาอย่างถูกวิธี และหากพบอาการผิดปกติที่รุนแรงก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ก่อนจะดีที่สุด
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..