อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ของคุณแม่เป็นการอาการหนึ่งแสดงถึงการบีบตัวของมดลูกหรือบางครั้งอาจจะเป็นสัญญาณการคลอด แต่แท้ที่จริงแล้ว อาการท้องแข็ง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุนะคะ มาดูกันว่าท้องแข็งเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง ติดตามอ่าน

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ แบบต่างๆที่แม่ท้องควรรู้

อาการท้องแข็งในทางการแพทย์ หมายถึง การที่มดลูกบีบตัว แข็งตัวขึ้น โดยเวลาที่คุณแม่มาตรวจท้อง คุณหมอจะสังเกตอาการท้องแข็ง เมื่อเจ้าตัวน้อยในท้องดิ้น แหวกว่ายไปมาในท้องคุณแม่ทำให้มีการเอาศอกมากระทุ้งผนังท้องของคุณแม่ เข่าบ้าง ส้นเท้าบ้าง ที่เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้คุณแม่ท้องแข็งได้ค่ะ ซึ่งหากถามว่าท้องแข็งบ่อยอันตรายไหม ก็คงต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วยเช่นกัน

ท้องแข็งเพราะเจริญอาหาร

คุณแม่บางคนมักจะมีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์หลังจากทานอาหารเสร็จแล้ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย 7 – 8 เดือน สาเหตุหนึ่งคือคุณแม่รับระทานอาหารมากไปทำให้ท้องแน่นตึง มดลูกที่มีขนาดใหญ่อยู่แล้วทำให้เกิดการเบียดเสียดกันระหว่างกระเพาะอาหาร ลำไส้ มดลูก ส่งผลให้เกิดการจุกเสียดแน่นท้อง และท้องแข็งตามมา ดังนั้น ในช่วงใกล้คลอดควรรับประทานอาหารน้อย ๆ แต่เพิ่มจำนวนมื้อให้มากขึ้น เพื่อให้มื้อเดิมย่อยเสียก่อนจะช่วยให้คุณแม่มีอาการดีขึ้นค่ะ และที่สำคัญต้องพยายามขับถ่ายทุกวันนะคะ จะช่วยลดอาการแน่นจุกเสียดได้ดียิ่งขึ้น

มดลูกก็ทำให้ท้องแข็ง

มดลูกคือสาเหตุของการท้องแข็งที่เกิดเรียกว่า การบีบตัวของมดลูก หากท้องอ่อน ๆ จะยังไม่มีอาการท้องแข็งนะคะ อาการท้องแข็งจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วง เดือนที่ 7 เป็นต้นไป และอาการท้องแข็งจะเกิดได้บ่อยที่สุดในช่วงเดือนที่ 8 หรือประมาณสัปดาห์ที่ 32 อาการท้องแข็งในช่วงไตรมาสสุดท้าย มักจะบีบตัวเบาบ้าง หนักบ้าง ช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่ส่วนมากจะไม่เกินวันละ 10 ครั้ง หากคุณแม่มีอาการท้องแข็งเกินกว่า 10 ครั้ง / วัน บวกกับปวดท้องร่วมด้วยและความปวดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้อย่านิ่งเฉยนะคะเพราะอาจเป็นสัญญาณการคลอดได้

4 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำเมื่อรู้สึกท้องแข็ง

มาดูกันเลยว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่คุณแม่ไม่ควรทำเมื่อมีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

อย่าจับท้องบ่อย

การลูบหรือจับท้องบ่อย จะทำให้ท้องแข็งบ่อย เพราะมดลูกไปเป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วย กล้ามเนื้อมากมายและไวต่อการกระตุ้นมาก ดังนั้น ไม่ควรใช้มือไปลูบท้องบ่อย ๆนะคะ

ห้ามมีเพศสัมพันธ์

คุณหมอมักจะต้องสั่งงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่คุณแม่มีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์บ่อย ๆ เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะไปกระตุ้นแถวบริเวณปากมดลูก ซึ่งจะทำให้มีการบีบตัวของมดลูกตามมา ยิ่งทำให้เกิดอาการท้องแข็งมากขึ้น ที่สำคัญหากถึงจุดสุดยอดขึ้น มดลูกก็จะมีการบีบตัวเป็นจังหวะตามมาอีก นอกจากนั้นในทางการแพทย์ก็ยังพบว่า ในน้ำอสุจิจะมีสารเคมีที่ชื่อว่า โปรสต้าแกลนดิน สารตัวนี้เป็นตัวการสำคัญของธรรมชาติที่ทำให้ปากมดลูกขยายตัวในระหว่างการคลอด ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์คุณหมอจะสั่งห้ามให้หลีกเลี่ยงการปล่อยน้ำเชื้อเขาไปข้างในเพราะจะกระตุ้นให้เกิดอาการท้องแข็งและการคลอดได้

ห้ามบิดขี้เกียจ

Sponsored

คุณแม่อ่านไม่ผิดหรอกคะ ห้ามบิดขี้เกียจจริง ๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการท้องแข็ง เปรียบเทียบง่าย ๆ

เหมือนกับตอนที่เราบิดผ้าเปียก ๆ นั่นแหละน้ำที่ค้างอยู่ในผ้าจะไหลออกมา เช่นเดียวกับตอนเราบิดขี้เกียจเหมือนกัน ช่องท้องของเราปริมาตรจะเล็กลง ความดันในมดลูกก็สูงขึ้น ท้องก็เลยแข็ง

ห้ามกลั้นปัสสาวะ

เพราะบริเวณดังกล่าวอยู่ตรงตำแหน่งที่มดลูกอยู่เดิมเคยเป็นพื้นที่ของกระเพาะปัสสาวะมาก่อน   พอท้องโตขึ้นมากระเพาะปัสสาวะกับมดลูกก็เลยต้องเบียด แย่งที่กันอยู่ตรงนั้น ยิ่งท้องโตขึ้นเรื่อย ๆ กระเพาะปัสสาวะยิ่งจะถูกเบียดเล็กลงเรื่อย ๆ คุณแม่เลยต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น คราวนี้หากกลั้นปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะก็จะโป่งมากขึ้น แล้วก็จะไปกดเบียดมดลูกจนมดลูกมีความดันสูงขึ้น ดังนั้น คุณแม่ก็มักจะท้องแข็งบ่อย ตอนกำลังจะปวดปัสสาวะ พอปัสสาวะออกไปแล้วอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ก็บรรเทาลง

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่ทั้งนี้หากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย ก็ควรไปพบแพทย์ทันที อย่าได้นิ่งนอนใจเลยเชียว

อ้างอิงข้อมูลจาก

scarymommy.com, diarylove.com

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ