ในช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์ลูกน้อยนั้น นอกจากจะได้รับการดูแลจากคุณพ่อหรือคนรอบข้างมากเป็นพิเศษแล้วยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนั่งรถเมล์ การเข้าห้องน้ำ การทานอาหารที่ร้านอาหาร ซึ่งไม่ได้มีเพียงเท่านี้นะคะ เพราะคุณแม่ยังได้รับสิทธิตามกฎหมายอีกด้วย โดยจะมีสิทธิอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ

8 สิทธิตามกฎหมาย ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับ

สำหรับสิทธิตามกฎหมายที่คุณแม่จะได้รับ ก็มีด้วยกัน 8 สิทธิดังนี้

1.คุณแม่มีสิทธิลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน คุณมีสิทธิลางานได้ไม่เกิน 98 วัน โดยการลาคลอดนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

- การที่คุณแม่ลาคลอด 98 วันนี้ จะไม่ได้นับรวมกับวันที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ และตรวจครรภ์ แต่ถ้าช่วงลาคลอดมีวันหยุดก็จะต้องนับรวมไปกับ 98 วันนี้ด้วย

- ในการลาคลอดคุณแม่จะได้รับค่าจ้าง 45 วันทั้งจากนายจ้างและประกันสังคม ในจำนวนร้อยละ 50 ของเงินเดือนเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15000 บาท ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น

- ใน 8 วันที่เหลือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายจ้าง ทางนายจ้างจะจ่ายหรือไม่จ่ายให้กับเราก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงของคุณแม่และนายจ้างเอง

2.คุณสามารถขอรับค่าคลอดบุตรได้อยู่ที่ 13,000 บาท

กรณีที่คุณแม่เป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม ทางประกันสังคม จะมีการจ่ายค่าคลอดบุตรให้คุณแม่แบบเหมาจ่ายเป็นจำนวนเงิน 13,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง สามารถทำเรื่องเบิกจ่ายกับโรงพยาบาลไหนก็ได้ ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

- จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่จะคลอดลูกน้อย

- การเบิกค่าคลอดบุตรสามารถเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

- ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่มีประกันสังคมทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

3.รู้หรือไม่คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องสามารถขอรับค่าฝากท้องได้ 1,000 บาท

นอกจากค่าคลอดบุตรแล้ว ยังสามารถเบิกค่าฝากครรภ์จากสำนักงานประกันสังคมได้อีกด้วย เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท โดยจะมีการแบ่งจ่าย 3 ครั้งดังนี้

- ช่วงอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับเงินจำนวน 500 บาท

- ช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับเงินจำนวน 300 บาท

- ช่วงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับเงินจำนวน 200 บาท

สำหรับเงินค่าฝากครรภ์นั้นคุณแม่จะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วค่อยนำใบเสร็จกับใบรับรองแพทย์มาเบิกได้ในภายหลังที่สำนักงานประกันสังคม

4.ขอเบิกเงินสงเคราะห์บุตรให้แก่ลูกน้อยได้เดือนละ 600 บาท

หลังคลอดคุณแม่สามารถทำเรื่องขอเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้เดือนละ 600 บาทภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

- คุณแม่ หรือคุณพ่อที่มีการจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย (กรณีที่ใช้สิทธฺของคุณพ่อ ) จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หรือ 33 และมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือน

- ต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่นับรวมบุตรบุญธรรม

- จะได้รับเงินสงเคราะห์ ตั้งแต่ลูกน้อยแรกเกิดจนอายุถึง 6 ปีบริบูรณ์ ได้พร้อมกันไม่เกิน 3 คน

Sponsored

- กรณีที่คุณแม่เกิดการเสียชีวิต ลูกน้อยก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจนอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

- กรณีลูกน้อยเสียชีวิต หรือถูกยกให้เป็นลูกบุญธรรมผู้อื่น ก็จะหมดสิทธิ์ในเงินสงเคราะห์บุตรส่วนนี้

5.นายจ้างไม่มีสิทธิ์ไล่ออกจากงานด้วยเหตุผลเพียงเพราะตั้งครรภ์

ในขณะที่คุณตั้งครรภ์ แม้ว่าจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามนายจ้างจะไม่มีสิทธิ์ไล่คุณออกจากงานด้วยเหตุผลเพียงเพราะว่าคุณมีการตั้งครรภ์ ที่สำคัญหากมีการถูกบีบบังคับให้ออกจากงานหลังจากรู้ว่าคุณแม่มีการตั้งครรภ์ คุณสามารถฟ้องร้องนายจ้างฐานปฏิบัติต่อคุณที่กำลังตั้งครรภ์โดยไม่เป็นธรรมได้

6.นายจ้างไม่มีสิทธิ์สั่งให้คุณแม่ทำงานที่เสี่ยงอันตราย

งานที่เสี่ยงอันตรายอาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยและตัวคุณแม่เองได้ ด้วยกฎหมายก็ยังมีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่านายจ้างไม่มีสิทธิ์สั่งให้ลูกจ้างที่กำลังอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ทำงานต่อไปนี้

- ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่มีแรงสั่นสะเทือน

- ทำงานที่ขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ

- แบกยก หรือขนของที่หนักเกิน 15 กิโลกรัม

- ปฏิบัติงานในเรือ

- และสุดท้ายไม่สิทธิ์ไล่คุณออกจากงาน

7.คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถขอเปลี่ยนมาทำงานที่เหมาะสมได้

สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายทั้งต่อตัวเองและลูกน้อย คุณสามารถนำใบรับรองแพทย์มาแสดงเพื่อขอเปลี่ยนงานจากหน้าที่เดิมชั่วคราวจนกว่าจะคลอดได้ ถ้านายจ้างไม่ทำตามก็จะมีโทษทั้งจำและปรับ

8.เจ้านายหรือหัวหน้างานไม่สามารถสั่งให้คุณทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด

ตามกฎหมายแล้วเจ้านายไม่สามารถสั่งให้ลูกน้องที่มีการตั้งครรภ์ทำงานล่วงเวลา 22.00 – 6.00 น. หรือทำงานในวันหยุด เว้นแต่คุณแม่มีตำแหน่งผู้บริหารเอง วิชาการ ธุรการ การเงิน หรือบัญชี แต่ต้องได้รับความยินยอมจากคุณด้วย

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่คุณแม่ตั้งท้องควรจะได้รับ แน่นอนว่านอกจากเรื่องท้อง เรื่องลูกน้อยแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่คุณแม่ควรศึกษาเอาไว้ เพื่อจะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองได้เต็มที่นั่นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : petcharavejhospital และ กระทรวงแรงงาน

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ