ลดอาการแพ้ท้อง เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ สิ่งหนึ่งที่ตามมานั่นก็คือ อาการแพ้ท้อง ซึ่งคุณแม่อาจยังไม่ทราบว่าอาการแพ้ท้องนั้นเกิดจากอะไร เราจึงขออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ แล้วกันนะคะ อาการแพ้ท้องนั้นเกิดจากระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า “HCG (Human Chorionic Gonadotropin)” ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้คุณแม่รู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียนเป็นบางครั้ง มีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย เหม็นกลิ่นต่าง ๆ ได้ง่ายทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หากคุณแม่เริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าว แล้วไม่รู้ต้องทำอย่างไร ในวันนี้เรามีเคล็ดลับบรรเทาอาการแพ้ท้องมาฝากค่ะ ตามนี้เลยนะคะ

ลดอาการแพ้ท้อง

บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • หลังตื่นนอน คุณแม่ควรดื่มนม เครื่องดื่มร้อน ๆ หรือดื่มน้ำผลไม้ก็ได้ พร้อมกับทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่หวาน เพื่อแก้อาการวิงเวียน คลื่นไส้ อย่างเช่น บิสกิต หรือขนมปังกรอบก็ได้ค่ะ แล้วควรนอนพักสัก 20 – 30 นาทีก่อนลุกจากเตียงเพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกายเป็นปกติ
  • รับประทานอาหารบ่อย ๆ ในแต่ละมื้อควรทานน้อย ๆ และมีของว่างที่มีประโยชน์เก็บไว้ทานเวลาหิวด้วยก็จะดีมากค่ะ อย่างเช่น ถั่วหรือธัญพืช ขนมปังกรอบ และโยเกิร์ต
  • คุณแม่ควรทานไข่สุก และขนมปังปิ้ง เพราะมีโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตสูงจะทำให้คุณแม่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ค่ะ
  • เมื่อรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนให้คุณแม่ลองจิบน้ำอุ่น ๆ หรือน้ำขิงอุ่น ๆ (ควรเป็นขิงแท้ 100% ไม่ผสมน้ำตาลนะคะ) ขิงมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก และอาการคลื่นไส้ได้ดี
  • หลังจากที่คุณแม่อาเจียนแล้ว ควรดื่มน้ำอุ่น ๆ ทันที และกลั้วคอล้างกลิ่นที่อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้มาอีก ในระหว่างวันคุณแม่ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพราะหลังจากอาเจียนคุณแม่จะสูญเสียน้ำมาก
  • คุณแม่ควรทานแต่อาหารอ่อน ที่ย่อยได้ง่าย เลือกทานอาหารที่ยังอุ่น ๆ และแบ่งออกเป็นมื้อย่อย ๆ ประมาณวันละ 5 มื้อ วิธีนี้ก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายท้อง ไม่แน่นจนคลื่นไส้อาเจียน

อาการแพ้ท้องไม่ได้แย่อย่างที่คิดหากรู้จักปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อคุณแม่ทำตามคำแนะนำข้างต้นของเราแล้ว เชื่อเถอะค่ะว่า อาการแพ้ท้องที่คุณแม่กังวลจะดีขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อคุณแม่รู้วิธีบรรเทาอาการแพ้ท้องแล้ว ทีนี้ลองมาดูวิธีการป้องกันอาการแพ้ท้องรุนแรงกันบ้าง รายละเอียดตามนี้ค่ะ

วิธีป้องกันอาการแพ้ท้อง

  • เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึกหาเวลาหลับบ้างระหว่างวัน ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด คุณแม่อาจจะนั่งนิ่ง ๆ ทามกลางสวนดอกไม้หลังบ้านก็ได้ หรือฟังเพลงสบาย ๆ เพื่อให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายลงได้ เพราะสาเหตุที่ทำให้มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงเกิดจากสภาพจิตใจเป็นสำคัญ
  • ห้ามงดอาหารโดยเด็ดขาด หากคุณแม่มีความรู้สึกต้องการรับประทานอาหารก็ให้รับประทานเลย ไม่ว่าจะเป็นถั่ว หรือธัญพืช เพราะร่างกายในช่วงนี้มีความต้องการโปรตีนสูงมาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารรสจัด อาหารร้อน ของดองทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือผัก คุณแม่ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้มีอาการจุดเสียดแน่นหน้าอกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
  • หากคุณแม่รู้สึกต้องการอาหารที่มีรสเปรี้ยว คุณแม่ควรเลือกทานยำ สลัด หรือผลไม้สดที่มีรสเปรี้ยว แทนการเลือกของหมักดอง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่มากกว่า
  • คุณแม่ต้องดื่มน้ำก่อน และหลังรับประทานอาหารประมาณ 30 นาที และไม่ควรดื่มน้ำร่วมกับการรับประทานอาหารหรือหลังอาหารในทันที
  • ไม่ควรแปรงฟันทันทีหลังอาหาร แต่ควรรอสักพัก เพราะการแปรงฟันอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการอาเจียน และไม่ควรนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้รู้สึกแน่นหน้าอกได้ค่ะ

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ท่านใด ที่มีอาการแพ้ท้องต่าง ๆ อย่างเช่น รู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย หรืออาเจียนเป็นบางครั้ง ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ เพราะเป็นเรื่องปกติของหญิงตั้งครรภ์ และอาการเหล่านี้จะหายไปเองหลังจากอายุครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน แต่หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงขึ้น อย่างเช่น อาเจียนบ่อยจนคออักเสบ และพบว่าไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

การแพ้ท้องมากผิดปกติมีผลกระทบต่อคุณแม่และทารกหรือไม่

ในกรณีแพ้ท้องไม่มาก ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ มักไม่มีปัญหา เพียงแต่ทำให้ขาดสารอาหารและน้ำเล็กน้อยเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วอาการแพ้ท้องจะเป็นมากในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่สามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น

Sponsored

แต่หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ จนไม่สามารถรับประทานอาหารเข้าไปได้เลย อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ เพราะร่างกายขาดสารอาหารมากเกินไป และมีภาวะขาดน้ำด้วย ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที แพทย์จะให้ความช่วยเหลือแก้ไขอาการที่แพ้มาก ๆ เหล่านี้ เนื่องจากการปล่อยให้มีอาการที่รุนแรงอย่างนี้ต่อไป อาจทำให้คุณแม่มีร่างกายที่อ่อนเพลีย ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้า รวมถึงอาจเกิดความบกพร่องของสมองได้ ดังนั้น หากคุณแม่รู้สึกว่าอาการแพ้ท้องเริ่มมีความรุนแรงขึ้น ถึงแม้จะทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วก็ตาม ลองไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.15 วิธีผ่อนคลาย ความเครียดในคนท้อง จะรับมืออย่างไร

2.7 อาหารแก้เครียด ที่แม่ท้องควรกิน เช็คสิมีอะไรบ้าง