คุณแม่ที่มีลูกอ่อน อาจจะพบว่าลูกแหวะได้ง่ายหลังจากที่กินนมเข้าไปไม่นาน ซึ่งอาการที่แหวะนมสาเหตุมาจากเรื่องอะไร และการที่ลูกแหวะบ่อยแบบนี้เป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ พร้อมทั้งการแก้ปัญหาหรือแนวทางป้องกันไม่ให้ลูกแหวะหลังจากกินนมเสร็จ โดยเราก็มีข้อมูลมาฝากคุณแม่อย่างครบครันกันเลย

ลูกแหวะบ่อย ผิดปกติหรือไม่

โดยปกติเด็กทารกจะมีอาการแหวะนมได้หลังจากกินนมอิ่มแล้ว อาจจะเกิดได้กับเด็กเกือบทุกคน ซึ่งในบางรายอาจจะเห็นลูกแหวะบ่อยหรือทุกครั้งที่กินนมอิ่ม แต่เด็กบางคนก็อาจจะแหวะนมบ้างเป็นครั้งคราว ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของอวัยวะภายในของลูกน้อยด้วย ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วการแหวะนมจะไม่เป็นอันตราย เว้นแต่ว่าจะมีความผิดปกติอื่นๆ ด้วยนั่นเอง

การแหวะนมในทารก เกิดจากอะไร

หลังจากลูกน้อยกินนมแล้วลูกแหวะนมออกมา สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ลูกน้อยอาจจะกินนมมากเกินไป ซึ่งโดยปกติตามธรรมชาติของลูกน้อยจะร้องไห้ทุกครั้งที่ต้องการความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความหิว ความง่วงนอน ความเจ็บปวดจากการปวดปัสสาวะ หรือปวดอยากถ่ายอุจจาระ รวมถึงจะร้องไห้เมื่อต้องการความรักความอบอุ่น คุณแม่ที่ยังไม่ได้ทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของลูกน้อย อาจจะคิดว่าลูกหิวและมีการป้อนนมให้ลูกบ่อยเกินไปจนกระเพาะอาหารของลูกเต็มไปด้วยน้ำนม และมีการล้นออกมานอกหูรูดของกระเพาะ ทำให้ลูกแหวะบ่อย ซึ่งที่เป็นแบบนี้เพราะระบบย่อยอาหารของลูกน้อยยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารยังทำงานไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังปิดไม่สนิท จึงทำให้นมไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหาร และออกมาทางปากได้ง่าย สำหรับอาการลูกแหวะบ่อยที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กมักไม่อันตราย และไม่ได้ส่งผลต่อสารอาหารที่ลูกน้อยได้รับ แต่หากคุณแม่พบว่าลูกแหวะบ่อยจนผิดปกติ ต้องเฝ้าระวัง สังเกตของเหลวที่ลูกแหวะออกมาว่ามีสิ่งเจือปนอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มีเลือดปนออกมา หรือมีสีเหลืองของน้ำดี บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ นอกจากนี้อาจพบว่าน้ำหนักของลูกน้อยไม่เพิ่มตามเกณฑ์มาตรฐาน และในรายที่พบว่าลูกน้อยมีอาการอาเจียนพุ่ง คุณแม่ควรนำลูกน้อยไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อแพทย์จะได้ตรวจหาสาเหตุของอาการเหล่านี้ต่อไป

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีอาการแหวะนมบ่อย

ธรรมชาติของเด็กทารกจะมีความต้องการที่จะดูดนมทุกครั้งที่ตื่น เพื่อต้องการความอบอุ่นและด้วยสัญชาตญาณของการเรียกร้องความสนใจ ที่มีจุดศูนย์รวมอยู่ที่ปาก จึงทำให้ลูกน้อยมีอาการอยากจะดูดทุกครั้งที่ตื่น หากคุณแม่ไม่ได้จัดตารางการให้นมลูกเป็นเวลา ก็จะทำให้ลูกได้รับน้ำนมมากเกินไป จนเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะหูรูดทำงานผิดปกติจะมีอาการแหวะนมได้ ซึ่งคุณแม่สามารถรับมือป้องกันไม่ให้ลูกมีอาการแหวะนมได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.พยายามอย่าปล่อยให้ลูกหิวนมมากเกินไป

เมื่อลูกน้อยหิวจะทำให้ลูกกินนมมากเกินไป รวมถึงการที่ลูกรีบดูดนมแบบเร็วๆ อาจจะทำให้ลูกกลืนลมลงไปสู่กระเพาะอาหารด้วย จึงส่งผลให้ลูกมีอาการแหวะนมได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรให้ลูกดูดนมทันทีเมื่อหิว อย่าปล่อยให้ลูกหิวมากเกินไปเด็ดขาด

2.จับลูกเรอเป็นระยะๆ ตลอดการกินนม

การให้ลูกกินนมคุณแม่ควรอุ้มลูกให้เรอเป็นระยะๆ เพื่อไล่ลมในท้อง จะช่วยให้ลูกลดอาการแหวะนมได้ รวมถึงจะต้องจับลูกเรอหลังดูดนมจนอิ่มแล้วด้วย

3.ถ้าลูกดูดนมจากขวด คุณแม่ต้องมั่นใจว่าขวดนมไม่ใหญ่เกินไป

ขนาดของจุกนมไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป หากจุกนมใหญ่นมอาจไหลเร็วจนลูกดูดลมเข้าไปแทนนม ซึ่งวิธีแก้ลูกแหวะนม สำหรับลูกที่กินนมขวดคือ ให้ลูกกินนมทีละครึ่ง เช่น หากลูกน้อยกินอิ่มมื้อละ 4 ออนซ์ คุณแม่ควรแบ่งให้ลูกกิน 2 ออนซ์ หมดแล้วอุ้มลูกให้เรอก่อน แล้วค่อยกินอีก 2 ออนซ์ แล้วเอาลูกมาไล่ลมให้เรออีกครั้งหลังกินอิ่มแล้ว

4.ถ้าลูกกินนมจากเต้า ให้จับลูกเรอก่อนที่จะเปลี่ยนข้าง

สำหรับลูกน้อยที่ดูดนมแม่จากเต้าโดยตรง เมื่อลูกดูดนมข้างหนึ่งหมดแล้วให้อุ้มลูกมาเรอ 1 ครั้งก่อน หากยังไม่อิ่มก็ให้ลูกดูดอีกข้างนึงจนกว่าจะอิ่ม และจับเรออีกครั้ง

Sponsored

5.จับนอนหัวสูง หลังจากลูกกินนมเสร็จหรือว่ากินนมอิ่มแล้ว

เมื่อลูกกินนมอิ่มแล้ว คุณแม่ที่มีความจำเป็นจะต้องให้ลูกนอน ควรจัดท่านอนของลูกให้ส่วนหัวสูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 30-45 องศา และตะแคงไปทางซ้าย 30 นาทีจะช่วยให้กระเพาะอาหารอยู่ทางด้านซ้าย จะทำให้มีแรงโน้มถ่วงไปกดที่กระเพาะอาหาร ช่วยให้นมไม่ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการที่ลูกแหวะบ่อยนั่นเอง

6.หลีกเลี่ยงการกดบริเวณท้อง หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมในช่วงที่กำลังอิ่ม

หากลูกเพิ่งอิ่มนม การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะหากทำแรงเกินไปอาจไปกระตุ้นให้นมที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาได้จนทำให้ลูกแหวะนมนั่นเอง

7.หลังให้นมควรเว้นระยะก่อนให้ลูกนอนอีกครั้งประมาณ 30 นาที

เมื่อลูกกินนมอิ่มแล้วอย่าเพิ่งวางลูกนอนราบกับพื้นทันที คุณแม่ควรอุ้มให้ลูกเพื่อให้นมไหลลงสู่กระเพาะอย่างน้อย 30 นาที แต่หากลูกหลับในขณะให้นม คุณแม่อาจจับศีรษะลูกให้ยกสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยให้นมได้ไหลลงสู่กระเพาะอาหารของลูกได้ง่ายขึ้น จะช่วยลดอาการแหวะนมให้ดีขึ้นได้

คุณแม่เมื่อพบว่าลูกแหวะบ่อยไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เมื่อได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในบทความนี้แล้ว อาการแหวะนมจะดีขึ้น หรือในรายที่เป็นมาก การแหวะนมของลูกก็จะหายไปเองตามธรรมชาติได้ ส่วนใหญ่เมื่อลูกเข้าสู่เดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 6 ซึ่งระบบย่อยอาหารของลูกทำงานได้เป็นระบบ และหูรูดกระเพาะมีความแข็งแรงมากขึ้น จะทำให้อาการแหวะนมของลูกหายสนิทเมื่ออายุครบ 1 ขวบไปแล้ว


= = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.เลี้ยงลูกคนเดียวง่ายๆ กับคำแนะนำ สำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว

2.10 เคล็ดลับ ช่วยคุณแม่รับมือ เมื่อทารกร้องไม่หยุด