เชื่อว่าคนเป็นพ่อ เป็นแม่ทุกคน ย่อมตั้งความหวังให้เจ้าตัวน้อยมี I.Q. และ E.Q. สูงไปพร้อม ๆ กัน แต่การบ่มเพาะหรือพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านนั้น จะต้องทำอย่างไร แล้วเวลาไหนเหมาะที่จะเริ่มพัฒนามากที่สุด วันนี้เรามีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสริมสร้างพัฒนาการของเจ้าตัวเล็ก

พัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี ควรเริ่มตั้งแต่ลูกน้อยมีอายุได้ 0 – 3 ปี นั่นเพราะช่วงเวลานี้เป็น “เวลาทองแห่งการพัฒนาสมอง” เพราะสมองของเด็กเล็ก จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ ตลอดชีวิต ถ้าคุณแม่ไม่สามารถให้การส่งเสริมพัฒนาสมองน้อย ๆ ของลูกได้ อาจจะพลาดโอกาสที่สำคัญที่สุดในชีวิตไป

การเติบโตและพัฒนาการของสมอง

โดยทั่วไปแล้ว สมองของเด็กจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในช่วงก่อนการคลอดนั้นสมองจะพัฒนา เพื่อใช้ในกิจกรรม พื้นฐานของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการเต้นของหัวใจ การขับถ่าย และอื่น ๆ ที่สำคัญ ในช่วงนี้สมองจะ รับรู้ได้ว่าอวัยวะต่าง ๆ เกิดขึ้นและจะทำหน้าที่ส่งเส้นประสาทไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้อวัยวะนั้น ๆ เกิดการรับความรู้สึกเส้นประสาทจะไปควบคุมการเคลื่อนไหว และการทำงานของกล้ามเนื้อ ถ้าการพัฒนาสมองเกิดล้มเหลว อวัยวะส่วนนั้น ก็จะหายไป และไม่มีพัฒนาการใด ๆ เกิดขึ้นเลย ดังนั้น การเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูกน้อยจึงเป็น เรื่องที่สำคัญอย่างมาก

“โปรตีน (Protein)”ตัวช่วยสำคัญเพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย

โปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเด็กเล็กจึงต้องการโปรตีน เพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ กล้ามเนื้อ เลือด ฮอร์โมน ประมาณวันละ 2.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าวัยอื่นๆ นั่นเพราะในช่วงระยะ 1 ขวบปีแรกนั้น อวัยวะต่างๆในร่างกายของเด็กเล็กจะเจริญเติบโตถึง 80% เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้พัฒนาการไม่ดี เท่าที่ควร

แหล่งโปรตีนที่สำคัญที่ดีที่สุด ก็คือ “น้ำนมแม่” ในระยะ 4 – 6 วันแรก น้ำนมแม่จะมีลักษณะใสสีเหลือง หรือเรียกกันว่า “น้ำนมเหลือง (Colostrums)” ซึ่งมีสารที่ช่วยกระตุ้นคุ้มกันเชื้อโรค ได้แก่ “ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte)” และ “ไลโซไซม์ (Lysozyme)” คุณประโยชน์ของน้ำนมเหลืองเปรียบเสมือนวัคซีนด้านภูมิคุ้มกันเพราะมีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูง ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในทารกแรกเกิด

นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีโปรตีนที่ย่อยง่ายในสัดส่วนที่เหมาะสมอีกด้วย แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แนะนำให้เลือกนมแพะแทนได้ค่ะ เพราะในนมแพะก็มีโปรตีนที่ย่อยและดูดซึมง่าย

Sponsored

ความพิเศษของโปรตีนในนมแพะ

โปรตีนCPP (Casein Phosphopeptides) โปรตีนนุ่ม ที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนไปช่วยเสริมสร้าง การเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียม, เหล็ก, สังกะสี และแมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสามารถนำแร่ธาตุเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการ ที่ดีสมวัย

โปรตีนในนมแพะ ตัวช่วยกระตุ้นพัฒนาการสำคัญของเจ้าตัวน้อย

  1. โปรตีน CPP ในนมแพะ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการต่างๆของร่างกาย เนื่องจากโปรตีน CPP ในนมแพะ ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย
  2. โปรตีน CPP ในนมแพะ ช่วยให้การดูดซึมแร่ธาตุต่างๆที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย
  3. ในนมแพะ มีสัดส่วนของมีเบต้าเคซีน ซึ่งย่อยง่ายในปริมาณสูง และแอลฟ่าเอสวันเคซีน ซึ่งย่อยยากในปริมาณต่ำ ทำให้โปรตีนของนมแพะเกาะกันเป็นก้อนนุ่ม ร่างกายของเจ้าตัวน้อยจึงสามารถย่อยโปรตีนได้ง่าย ทำให้ลูกน้อย สบายท้องนั่นเอง จากข้อมูลทั้งหมดนี้ คุณแม่คงเห็นแล้วว่า โปรตีนCPP ในนมแพะดีต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกอย่างมาก หากคุณแม่อยากเห็นลูกมีพัฒนาการที่ดี และเติบโตสมวัย เลือกนมแพะ เพื่อเป็นผู้ช่วยให้ลูกน้อย มีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ ที่อยู่รอบตัวและช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยสมบูรณ์แข็งแรงบวกกับ พัฒนาการที่ดีสมวัย เป็นสิ่งที่คนเป็นแม่ทุกคนคาดหวัง อย่ามัวรอแล้วพลาดโอกาสดี ๆ นี้ไป ดื่มนมแพะทุกวัน เพิ่มความสุขให้กับลูกรักกันดีกว่าค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์