เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านอาจจะไม่คุ้นชิน หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับ อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เนื่องจากโรคนี้พบได้ไม่มากนัก ซึ่งอาการโปรตีนรั่ว เป็นสัญญาณที่แสดงถึงโรคไตอักเสบ ทำให้เกิดอาการ ตาบวม ตัวบวมตามมา และจะพบมากในเด็กเล็ก หากพบว่าลูกมีอาการลักษณะนี้ คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพราะอาการที่เกิดจากโปรตีนรั่วจำเป็นจะต้องได้รับการรักษา อาการโปรตีนรั่ว เกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน และควรรักษายังไง เราจะพาคุณแม่มาทำความรู้จักกับอาการของโปรตีนรั่วให้ในปัสสาวะมากขึ้น เพื่อจะได้รู้แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวได้

อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เกิดจากอะไร

อาการโปรตีนรั่ว ในปัสสาวะ หรือ (nephrotic) เป็นสัญญาณที่แสดงถึงโรคไตอักเสบ ความผิดปกติของไตที่ยังสามารถกรองของเสียได้อยู่ เพียงแต่มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากเกินไป เกิดจากการเป็นโรคไตอักเสบ ลูปัสหรือภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) การเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันเรื้อรัง มีระดับไขมันคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีระดับโปรตีนในเลือดต่ำ โปรตีนรั่วจากน้ำหนักตัวเกิน เป็นต้น พบบ่อยในเด็กช่วงอายุ 1-8 ปี แต่ทั้งนี้เกิดได้ทุกช่วงอายุ และมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไป สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดูจากปัสสาวะมีความเปลี่ยนแปลง หรือมีฟองมากขึ้น มีอาการตัวบวม ขาบวม ท้องบวม ตาบวมปิด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการโปรตีนรั่วได้นั่นเอง

สาเหตุของอาการโปรตีนรั่ว

สาเหตุที่ทำให้เกิด โปรตีนรั่ว ยังไม่ทราบแน่ชัด เด็กที่ป่วยบางรายพบว่าเกี่ยวข้องกับทางพันธุกรรม หรือจากไตอักเสบโปรตีนรั่ว ที่มักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุเช่น minimal change disease, Focal segmental glomerulosclerosis , membranous nephropathy เป็นต้น และอีกสาเหตุหนึ่งคือ เกิดได้จาก โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อเรื้อรังบางชนิด โรคไตอักเสบโปรตีนรั่วจากยา ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูงเรื้อรัง โรคไตอักเสบ ลูปัสหรือภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะได้

โปรตีนรั่วในปัสสาวะ อันตรายแค่ไหน

อาการโปรตีนรั่ว ทำให้ผู้ป่วยตัวบวมผิดปกติ และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนทั่วไป อาการนี้จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา เพราะอาการดังกล่าวยังส่งสัญญาณถึงการอักเสบของไต มีการขับโปรตีนชนิดที่เรียกว่าอัลบูมินออกมาทางปัสสาวะมากเกินไป ทำให้เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ มีอาการตัวบวม ตาบวม ปัสสาวะเป็นฟอง และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายในอนาคตได้

อาการโปรตีนรั่ว เป็นอย่างไร

สาเหตุของการเกิด โปรตีนรั่ว ในเด็กยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เด็กที่มี อาการโปรตีนรั่ว คุณแม่สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

- ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะเป็นฟอง

- มีอาการตัวบวม ท้องบวม เท้าบวม หนังตาส่วนบนบวม

หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ควรพามาพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยตามอาการที่เหมาะสม จะได้รักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

- มีน้ำในช่องผู้ที่ป่วย โปรตีนรั่ว ในปัสสาวะ จะมีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างที่ต้องคอยระวัง และต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังก็คือ

- ภาวะตัวบวม อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายบวม

- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างผิดปกติ

- ไขมันในเลือดสูง หากไม่ตอบสนองต่อการรักษา ก็จะมีผลต่อเส้นเลือดที่หัวใจได้

- ปอด ช่องท้อง จำนวนมาก ส่งผลทำให้เกิดท้องบวม

- เสียงต่อการอุดตันของเส้นเลือด เนื่องจากเลือดข้นหนืด

- เสี่ยงที่จะเกิดภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อนได้ง่ายและรุนแรง

Sponsored

- มีภาวะความดันโลหิตต่ำ

- ปัสสาวะออกน้อย/ปัสสาวะไม่ออก/ไตวาย

ภาวะแทรกซ้อนต่างๆเหล่านี้ถือว่าค่อนข้างอันตราย แพทย์จะเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด รวมถึงผู้ป่วยก็ต้องปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น

โปรตีนรั่วในปัสสาวะ รักษายังไง

การรักษา อาการโปรตีนรั่ว ในปัสสาวะ ในเด็กส่วนมากเป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะเด็กที่ป่วยอาการนี้ 80 % ตอบสนองต่อการรักษา จะมีเพียงแค่ 20 %เท่านั้นที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา โดยการรักษา อาการโปรตีนรั่วในเด็ก แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาดังนี้

1. รักษาด้วยการให้ยา Steroid

ยาสเตียรอยด์ ถือเป็นยาที่เป็นมาตรฐานในการรักษา อาการโปรตีนรั่ว ในปัสสาวะ ซึ่งจะใช้เวลาในการรักษาหลายเดือน โดยจะปรับตามการตอบสนองของการรักษา แพทย์จะเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงระหว่างรักษา

2. รักษาด้วยการให้ยากดภูมิคุ้มกัน

ยากลุ่มนี้จะใช้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ steroid ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือมีการตอบสนองเพียงเล็กน้อย หรือผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งยากลุ่มนี้มีหลายชนิด และมีราคาค่อนข้างสูง แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อไตร่วมด้วยก่อนการใช้ยารักษา

3. ให้ยาขับปัสสาวะ

แพทย์จะมีการใช้ยาฉีด หรือยากิน เพื่อขับปัสสาวะ ในผู้ป่วย โปรตีนรั่ว ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ หรือปัสสาวะลำบาก และบวมค่อนข้างมาก ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

4. ให้ Albumin

การให้ อัลบูมิน ทางเส้นเลือดร่วมกับการให้ยาขับปัสสาวะ ทั้งนี้จะให้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง บวมมาก มีภาวะน้ำเกินในร่างกายมาก และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอันตราย การให้อัลบูมินเพื่อให้ผู้ป่วยมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและใช้ยากินต่อไปได้

อาการโปรตีนรั่ว ในปัสสาวะ ถือเป็นอาการที่ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือการกินยาต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือเพิ่มยาเอง หากมีปัญหาในการรักษาจะต้องรีบติดต่อแพทย์ เพื่อปรับการใช้ยา นอกจากนี้ ควรดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่สุก สะอาด เพื่อลดการติดเชื้อ และเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารปรุงด้วยเกลือปริมาณมาก เพราะจะทำให้ตัวบวม และไปกระตุ้นความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.คนท้องห้ามเย็บผ้า ความเชื่อโบราณที่ทุกคนต้องเคยได้ยิน

2.คลอดยาก จริงหรือ? ถ้านั่งขวางบันไดตอนท้อง