ป้องกันลูกติดขวด … สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน หลังคลอดได้ 3 เดือน จึงจำเป็นต้องฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดบ่อยขึ้น เพื่อให้ลูกสามารถดูดนมจากขวดได้โดยไม่ร้องไห้งอแง แต่สำหรับคุณแม่ที่เริ่มต้นการฝึกขวดที่เร็วเกินไปอาจส่งผลเสีย ทำให้ลูกติดขวดเร็วขึ้น จนเบื่อการดูดนมจากเต้าเร็วเกิดการกำหนด ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป ระบบการสร้างน้ำนมของคุณแม่ก็จะลดลง เนื่องจากไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดคุณแม่ก็ไม่มีน้ำนมให้ลูกได้ดื่มอย่างเพียงพอ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้ แนะนำให้อ่านเทคนิคป้องกันการติดขวดนมตามรายละเอียดดังนี้ค่ะ

วิธีการป้องกันลูกติดขวด

  1. หลังคลอดถึง 1 เดือน ไม่ควรให้ลูกดูดขวดไม่ว่าจะพบปัญหาใดก็ตาม เช่น คุณแม่มีสุขภาพร่างกายไม่พร้อม คุณแม่มีน้ำนมน้อย หรืออื่นๆ ที่ไม่สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ แนะนำให้คุณแม่ใช้วิธีการป้อนนมลูกด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่ขวด คุณแม่อาจจะใช้ช้อนตักค่อย ๆ ป้อนไปทีละน้อยๆ หรือใช้วิธีการหยดน้ำนมลงมาเพิ่มตอน ให้ลูกดูดนมแม่ก็ได้ แต่ไม่ควรใช้นมขวดหรือใช้จุกยางในช่วงนี้ เพราะอาจจะทำให้ลูกเบื่อดูดนมจากอกแม่เร็วกว่าเวลาอันควรได้ค่ะ
  2. เลือกจุกยางที่มีขนาดเล็กที่สุด เช่น จุกเบอร์ S, SS เพื่อให้ลูกดูดนมได้ช้า เมื่อกับการดูดนมจากเต้า ทำให้ลูกไม่เกิดความรู้สึกสับสน หรือเบื่อการดูดเต้าได้ ถึงแม้ลูกจะมีอายุเพิ่มขึ้นก็ไม่แนะนำให้เปลี่ยนขนาดของจุกยางนะคะ เพราะด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น น้ำนมจะไหลเร็วขึ้น ถ้าลูกกลับมาดูดนมแม่จะเกิดความหงุดหงิด และไม่ยอมดูดนมจากอกอีกเลยนั่นเอง
  3. คุณแม่บางท่านที่ยังไม่ถึงกำหนดกลับไปทำงาน แต่กลับฝึกลูกให้ดูดขวดบ่อยเกินไป เพราะกลัวว่าเวลาไปทำงาน ลูกจะไม่ยอมดูดนมจากขวด ส่งผลให้เกิดความเคยชิน เนื่องจากการดูดขวดดูดง่ายและอิ่มเร็วกว่า ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดขวด แนะนำให้ฝึกเพียงวันละ 1 – 2 ครั้งเท่านั้นค่ะ แต่ต้องฝึกเป็นประจำทุกวันอย่างให้ขาดนะคะ
  4. กรณีที่คุณแม่ไปทำงานแล้ว ผู้ที่ดูแลแทนให้ลูกดูดนมขวดมากเกินไป เช่น คุณแม่ต้องทำงานเกิน 10 ชั่วโมง แนะนำให้เตรียมนมไว้เพียง 5 – 10 ออนซ์เท่านั้น เพื่อให้ลูกเตรียมท้องไว้สำหรับนมแม่
  5. เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน ควรหยุดให้นมขวดกับลูกเวลาตอนกลางคืน เพราะเด็กวัยนี้จะนอนยาวตลอดทั้งคืน คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเตรียมนมไว้กลางดึก

สำหรับ 5 วิธีการป้องกันลูกติดขวดนี้คุณแม่จำต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและความพยายามจะช่วยให้คุณแม่ป้องกันลูกติดนมขวดตอนโตได้ ทั้งนี้คุณแม่หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าเวลาที่เหมาะสมในการเลิกนมของลูกนั้นควรเป็นช่วงใด ซึ่งวันนี้เราก็มีเคล็ดลับการเลิกนมขวดมาแนะนำค่ะ

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเลิกนมขวด

ช่วยอายุที่เหมาะสมคือ ลูกมีอายุได้ 1 ขวบ ถึง 1 ขวบครึ่ง ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะยิ่งมีอายุเพิ่มขึ้นก็จะยากต่อการเลิกนมขวด เนื่องจากเด็กจะเริ่มรู้เรื่องมากขึ้น ทำให้เกิดวิธีต่อรองมากขึ้นนั่นเองค่ะ สำหรับเคล็ดลับการเลิกนมขวดคุณแม่สามารถทำตามได้ดังนี้

เทคนิคการเลิกนมขวดแบบง่าย ๆ

  • เมื่อลูกมีอายุได้ 7 – 8 เดือน คุณแม่ต้องเริ่มให้ลูกฝึกกินน้ำจากแก้ว โดยการเริ่มจากการใช้แก้วหัดดื่มก่อน หรือถ้าใช้แก้วจริง ๆ ก็แนะนำให้เลือกใช้แก้วที่ทำจากพลาสติกและมีหูสองข้าง เพื่อให้ลูกหัดจับถือได้ง่ายขึ้น
  • ใส่น้ำหรือนมในแก้วในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แล้วค่อย ๆ ฝึก โดยการค่อยๆ ป้อน เมื่อลูกสามารถดื่มได้เองก็เริ่มให้ลูกถือแก้วยกขึ้นดื่มด้วยตัวเอง โดยคุณแม่ค่อยดูแลความปลอดภัยอยู่ใกล้ๆ ค่ะ
  • เมื่อลูกสามารถเริ่มกินเองได้คล่องแล้ว ให้คุณแม่เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นทีละนิด พร้อมกับแสดงท่าทางดีใจ ชมเวลาที่ทำได้ และกระตุ้นให้ลูกดื่มนมผ่านแก้วด้วยตัวเองในทุกวัน
  • เมื่อลูกอายุมากกว่า 6 เดือน คุณแม่ก็สามารถฝึกให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตัวเองควบคู่กันไปด้วย เพื่อเพิ่มทักษะการทานอาหาร และการดื่มนมผ่านแก้วไปพร้อมกัน ทำเช่นนี้เป็นประจำจะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับการดื่มนมผ่านแก้วมากขึ้นค่ะ
  • และเมื่อลูกน้อยสามารถดื่มนมจากแก้วได้เก่งแล้ว แนะนำให้คุณแม่เก็บขวดนมไปเลยค่ะ เพื่อป้องกันอาการยากดูดนมขวดอีก เพราะยิ่งเห็นก็ทำให้ลูกไม่สามารถเลิกดูดนมขวดได้ การเลิกนมขวดนี้ช่วงระยะเวลาเป็นเรื่องสำคัญคุณแม่ควรจะเริ่มตัดสินใจให้ลูกเลิกดูดนมขวดตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ เพื่อให้การเลิกเป็นไปอย่างราบรื่น

สร้างความเข้าใจให้ตรงกัน

คุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน สิ่งสำคัญคือคุณแม่จะต้องสร้างความเข้าใจกับผู้ดูแลแทนในการเลี้ยงดูลูกน้อยต่อจากเรา เพื่อให้การฝึกดูดนมขวดของลูกเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเลี้ยงดูลูกน้อยได้แบบสบายขึ้น คุณแม่เองก็จะได้สบายใจว่าลูกของคุณได้รับการฝึกและดูแลอย่างเหมาะสมที่สุด

Sponsored

ดังนั้น คุณแม่จะต้องรู้จักการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน คือ คุณแม่จะต้องกำหนดระยะเวลาในการป้อนนมให้ชัดเจน รวมถึงปริมาณน้ำนมที่ลูกควรจะได้รับต่อครั้งด้วย เพื่อให้ลูกได้รับนมเพียงพอและพอดีกับกระเพาะ ต่อมาคุณแม่จะต้องบอกให้กับคนที่ดูแลแทนด้วยว่า ก่อนที่คุณแม่จะกลับบ้านประมาณครึ่งชั่วโมง ไม่ต้องป้อนนมขวด เพื่อให้ลูกดูดนมจากเต้าของคุณแม่ได้นั่นเอง แต่สำหรับปัญหาในการเลี้ยงดูลูกน้อยในเรื่องอื่น คุณแม่ควรจะจดบันทึกวิธีการดูแลในทุกขั้นตอนอย่างละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบแทนคุณในช่วงเวลาหนึ่งปฏิบัติได้อย่างถูกต้องนั่นเองค่ะ

ของคุณรูปภาพจาก : Parents Magazine

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ