เตรียมตัวเป็นคุณแม่ เมื่อถึงวันที่พร้อมจะเป็นคุณแม่ มีหลายสิ่งที่ผู้หญิงต้องเตรียมตัวจะเป็นแม่คน ว่าที่คุณแม่มือใหม่ อาจยังไม่รู้ว่าจะเตรียมตัวอย่างไร ถึงจะมั่นใจว่ามีความพร้อมในการเป็นแม่คนอย่างดีที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่า จะต้องเริ่มเตรียมตัวอย่างไร ในวันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากว่าที่คุณแม่ทุกคนค่ะ ว่าก่อนตั้งครรภ์ต้องเตรียมพร้อมเกี่ยวกับสุขภาพอย่างไร และเมื่อตั้งครรภ์คุณแม่ควรดูแลโภชนาการอย่างไรบ้าง

เตรียมตัวเป็นคุณแม่

  • ตรวจสุขภาพร่างกาย

การตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่ต้องเตรียมพร้อมนั่นคือ สุขภาพร่างกาย เริ่มด้วยการตรวจร่างกายเช็กความพร้อม ก่อนตั้งครรภ์ทั้งสามีภรรยาควรมาตรวจร่างกายกันก่อน เพื่อให้คุณหมอประเมิณความเสี่ยงทั้งคุณพ่อคุณแม่ โดยการซักประวัติทางพันธุกรรม รวมถึงการตรวจเลือดและการตรวจร่างกาย เพื่อเตรียมความพร้อม และตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติในตัวคุณพ่อคุณแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อวางแผนการมีบุตร และเตรียมรับหรือแก้ไขความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ หรือต่อบุตรค่ะ

  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง

หากต้องการให้การตั้งครรภ์ตลอดช่วงระยะเวลา 40 สัปดาห์ราบรื่น คุณแม่จำเป็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยค่ะ เพราะการออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้น จะช่วยให้สรีระคุณแม่พร้อมและรับความเจ็บปวดต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการบริหารสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่าง ๆ จะช่วยป้องกันปัญหาปวดหลัง ปวดเข่าในขณะตั้งครรภ์ได้

  • เลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

การรับประทานอาหารในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถรับประทานได้อย่างปกติ เพียงแต่ว่าควรงดเว้นอาหารในกลุ่มเสี่ยงบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ได้ อย่างเช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ของหมักดอง อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ ที่สำคัญควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ควรรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมาเกินไปค่ะ

ดูแลเรื่องโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์

ร่างกายควรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ สารอาหารต่าง ๆ ยิ่งเป็นเรื่องจำเป็น วิตามินและแร่ธาตุควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งสารอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อคุณแม่และลูกในครรภ์มีดังนี้ค่ะ

  1. “โฟเลต” มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะความผิดปกติของหลอดประสาทของทารก (Neural Tube Defect) ทั้งยังช่วยเสริมสร้างเซลล์สมอง และระบบประสาทของไขสันหลังของทารก ที่สำคัญโฟเลตยังมีบทบาทช่วยสังเคราะห์รหัสพันธุกรรม DNA และ RNA ซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ของทารก ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์คุณแม่ต้องรับประทานโฟเลตเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 3 เดือน และรับประทานอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม ในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ควรได้รับโฟเลตอย่างต่อเนื่อง อาหารที่มีโฟเลตสูง ก็คือ ผักใบเขียว บรอคโคลี่ ผักโขม รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ
  2. “ไอโอดีน” เพิ่มด้วยค่ะ เพราะไอโอดีนมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของสมอง การมองเห็น การได้ยิน ทั้งยังส่งผลต่อระดับไอคิว และความฉลาดของทารกในครรภ์อีกด้วย ไอโอดีนมีความจำเป็นมากต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย ฉะนั้น คุณแม่ควรได้รับไอโอดีนอย่างน้อยวันละ 150 ไมโครกรัม ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง อย่างเช่น อาหารทะเล ปรุงอาหารด้วยเกลือไอโอดีน หรือรับประทานอาหารเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน และปลอดภัยค่ะ
  3. DHA” ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนการของสมอง และระบบประสาทรวมถึงการมองเห็น เพราะช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา สมองของพวกเขาจะมีการพัฒนาถึง 15% ดังนั้น การที่คุณแม่ได้รับ DHA หรือโอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูง จะช่วยให้ลูกน้อยมีสมองที่สมบูรณ์
  4. แคลเซียม การตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่มีความต้องการแคลเซียมมากถึง 2 เท่า ยิ่งในสัปดาห์ที่ 20 – 33 ทารกจะมีความต้องการแคลเซียมมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายของแม่ลดลง จนเกิดภาวะโรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับแคลเซียมมากเป็นพิเศษในขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับอย่างน้อย 50 – 330 มิลลิกรัม เพื่อให้คุณแม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ และป้องกันการเกิดภาวะโรคเกี่ยวกับกระดูกตามมาได้
  5. ธาตุเหล็ก เป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งช่วยลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย เมื่อคุณแม่ไม่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ อาจทำให้คุณแม่เหนื่อยและอ่อนเพลียได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทำให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวน้อย อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อ ผักใบเขียว และตับ
  6. ธาตุสังกะสี มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ของลูกที่อยู่ในครรภ์ พบธาตุสังกะสีมากในเมล็ดฟักทอง งา ผักกาด และกล้วยหอม
  7. วิตามินจำเป็น ได้แก่ วิตามิน B1, B2, B3 และ B6 ซึ่งสำคัญต่อพัฒนาการระบบประสาทสมองส่วนกลาง การขาดวิตามิน B1 อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหน็บชา และคุณแม่ที่ได้รับวิตามิน B6 อย่างเพียงพอจะช่วยลดอาการแพ้ท้องในช่วยไตรมาสแรกได้อีกด้วยค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ควรได้รับวิตามิน E ที่ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อและเซลล์เม็ดเลือดของลูกในครรภ์ และวิตามิน C ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณแม่ ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้นอีกด้วย

นอกจากการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายแล้ว การที่จะเตรียมตัวเป็นแม่คนนั้น ต้องดูแลเรื่องของสภาพจิตใจ และอารมณ์ด้วยนะคะ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณแม่รู้สึก ลูกน้อยในครรภ์จะรับรู้ได้ หากคุณแม่มีจิตใจที่สงบ เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลกพวกเขาก็จะมีจิตใจที่ดี มีอารมณ์ดี เลี้ยงง่ายค่ะ

Sponsored

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ฝากครรภ์ ทำไมต้องตรวจปัสสาวะทุกครั้ง เรามีคำตอบ

2.ฝากครรภ์ช้า แม่รู้ไหม ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด