ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่18 การตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 18 คุณแม่จะพบความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมากขึ้น และลูกในครรภ์ก็จะเริ่มมีการเจริญเติบโตรวมถึงมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ มากขึ้น จนเราสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน จะมีอะไรบ้างและควรดูแลสุขภาพครรภ์ช่วงนี้อย่างไร เรามีข้อมูลดี ๆ มาบอกค่ะ
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่18 ลูกในครรภ์เป็นอย่างไรนะ!
1.ลูกในครรภ์จะเริ่มมีการดูดนิ้วหัวแม่มือได้แล้ว
2.ลูกในครรภ์จะความยาวของลำตัวประมาณ 18 เซนติเมตร
3.ลูกในครรภ์มีการฝึกหายใจด้วยการเอาน้ำคร่ำเข้าปอด พร้อมกับหายใจออกโดยปล่อยน้ำคร่ำออกมา และยังคงอาศัยการหายใจจากทางรกจนกว่าจะคลอด
4.ลูกในครรภ์ยังไม่มีการสร้างไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีลักษณะย่น
5.ระยะนี้จะเป็นระยะที่สามารถรู้ได้ว่า ลูกในครรภ์เพศไหน ซึ่งหากเป็นเพศชายพอมีการอัลตราซาวด์จะเห็นได้อย่างชัดเจน
6.หูของลูกในครรภ์จะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ ซึ่งก็หมายความว่าประสาทสัมผัสการได้ยินของลูกในครรภ์ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลานี้
7.คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกได้ว่า ในระยะเวลานี้ลูกในครรภ์มีการดิ้นที่แรงขึ้น
8.ดวงตาของลูกในครรภ์จะเริ่มรับรู้ถึงแสงสว่าง เริ่มกลอกตาไปมาได้แล้ว เพียงแต่ว่าเปลือกตายังคงปิดสนิทอยู่
9.ลูกในครรภ์จะเริ่มมีลายนิ้วมือและนิ้วเท้าแล้ว
10.ลูกในครรภ์จะมีพัฒนาการด้านนิสัยสำหรับการนอน
การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 18 และเคล็ดลับการดูแลสุขภาพครรภ์
1.เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด ได้ในบางครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ นั่นเพราะมดลูกที่เริ่มขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับลูกในครรภ์ ไปกดทับเส้นเลือดบางส่วน ดังนั้นจะลุก นั่ง เดิน ยืน จึงควรทำอย่างช้า ๆ
2.มีอาการปวดขาหนีบ อาจจะปวดทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง นั่นเพราะมดลูกเริ่มเคลื่อนออกจากเชิงกราน แต่อย่างไรไม่นานอาการนี้จะหายไปได้เอง
3.หากเกิดอาการท้องแข็ง เนื่องจากมดลูกมีการบีบรัดตัว เวลาคลำที่หน้าท้องจะรู้สึกท้องเป็นก้อนแข็ง ซึ่งอาการนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับอายุครรภ์ตั้งแต่ 5 เดือนเป็นต้นไป เพราะมดลูกถูกกระตุ้นจากการที่ลูกในครรภ์ดิ้นไปโดนผนังมดลูก จนแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกเจ็บ หรืออาจจะมาจากการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เท่ากับกระตุ้นให้ลูกในครรภ์มีการดิ้นจนไปโดยผนังมดลูกนั่นเอง ข้อควรระวังหากแม่ตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 5 เดือน หากพบว่ามีอาการท้องแข็ง รู้สึกเจ็บปวด นอนพักแล้วพอตื่นมาอาการเจ็บปวดยังไม่หาย หรือมีเลือดออกร่วมด้วย ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะเสี่ยงกับการแท้ง เคล็ดลับการป้องกันท้องแข็ง แม่ตั้งครรภ์ควรงดการทำงานหนัก ยกของหนัก เคลื่อนไหวช้า ๆ งดเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ ไม่อั้นปัสสาวะ และระวังอุบัติเหตุที่จะมากระทบกับหน้าท้อง
4.ทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น เช่น คะน้า ผักโขม มะละกอ ส้ม ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า องุ่น เป็นต้น เพื่อช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย และลดโอกาสในเกิดอาการริดสีดวงทวาร เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ไปกดทับอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เป็นต้น ทั้งนี้หากเบื่อผักผลไม้ อาจจะเปลี่ยนเป็นโยเกิร์ตหรือน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน
5.หัวใจของแม่ตั้งครรภ์จะมีการทำงานหนักขึ้น 40-50 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราก่อนตั้งครรภ์
6.ควรนอนตะแคงเพื่อป้องกันมดลูกกดทับหลอดเลือด และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวันควรหาโอกาสงีบให้ได้ วันละ 30 นาที
7.รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ไม่ทานอาหารรสหวานจัด
8.ดื่มน้ำให้เพียงพอและพอดี ประมาณ 7-8 แก้วต่อวัน เพราะหากดื่มมากกว่านี้ จะทำให้รบกวนการนอนได้ คือต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อย ผลเสียตามมา คือ อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือหากดื่มน้อยกว่านี้ก็จะส่งผลให้ ปากแห้ง ผิวแห้ง ผิวท้องแตกลาย ปัสสาวะสีเข้ม ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำให้พอดีและเพียงพอนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..