ด่วนที่สุด เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้ออกประกาศคำสั่งของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้กับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายโดยด่วน ซึ่งมีหญิงตั้งครรภ์อยู่ในกลุ่มเป้าหมายด้วย เนื่องจากพบคนท้องติดเชื้อโควิด 19 และมีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป รวมถึงส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก

โดยการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในหญิงตั้งครรภ์นั้น มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่จำกัด แต่ก็ยังไม่พบว่าการฉีดวัคซีนจะก่อให้เกิดอันตรายกับหญิงตั้งครรภ์มากกว่าคนทั่วไปแต่อย่างใด โดยเมื่อประเมินดูแล้ว พบว่าการฉีดวัคซีนในคนท้องอย่างไรก็มีประโยชน์มากกว่าผลเสีย จึงมีความเห็นว่าควรให้คนท้องฉีดวัคซีนโควิด – 19 ได้ และจัดอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งฉีดก่อนด้วย โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ก็ได้มีคำแนะนำสำหรับคนท้องที่จะฉีดวัคซีนดังนี้

1.สตรีตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นกรณีที่มีข้อห้าม เช่น มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดครั้งแรก
2.ระยะเวลาที่ควรฉีดวัคซีนคือ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (3 เดือน)
3.สตรีที่ให้นมบุตรสามาถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้
4.วัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ Sinovac และ AstraZeneca จากข้อมูลเบื้องต้นสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชนิด แต่มีข้อสังเกตว่าวัคซีน Sinovacมีอัตราการเกิดไข้หลังการฉีดน้อยกว่า AstraZenecaวัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยในการฉีดให้คนทั่วไปและมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน ในอนาคตอาจจะมีวัคซีนชนิดอื่นๆ ให้เลือกเพิ่มขึ้น
5.ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็น การฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19
การฉีดวัคซีนถือเป็นความสมัครใจ สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโดยละเอียดก่อนตัดสินใจ
ขอขอบคุณ : นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงศ์
= = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่