ในที่สุดการเดินทางตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ตอนนี้กำลังเข้าสู่ช่วงท้องไตรมาส 3ไตรมาสสุดท้ายของการเฝ้ารอ อีกไม่นานลูกน้อยจะได้ออกมาลืมตาดูโลก เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้ เราจึงได้รวบรวมคำแนะนำจากหมอสูติ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารที่คุณแม่ควรได้รับ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและสุขภาพจิต รวมถึงคำแนะนำต่างๆ เพื่อให้คุณแม่เตรียมรับมือและเตรียมพร้อมสำหรับอาการต่างๆ เมื่อเวลานั้นมาถึงคุณแม่และลูกน้อยจะได้มีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในช่วงท้องไตรมาส 3
ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาส 3 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและสภาพจิตใจของคุณแม่จะเห็นได้ชัด เนื่องจากทารกในครรภ์เริ่มมีปฏิกิริยาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงขนาดตัวที่ขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นในช่วงท้องไตรมาส 3 จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับคุณแม่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีดังนี้
1.น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรเพิ่มเดือนละ 2 กิโลกรัม รวม 6 กิโลกรัม
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว เป็นผลมาจากทารกในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศีรษะ แขน ขา หรือช่วงตัวที่ขยายใหญ่มากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นมาจากเดิมนั่นเอง
2.ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ช่วงท้องไตรมาส 3 การปวดปัสสาวะบ่อย สำหรับคุณแม่ใกล้คลอดถือเป็นเรื่องปกติ เกิดจากขนาดศีรษะของทารกในครรภ์มีขนาดเพิ่มใหญ่ขึ้น จึงทำให้บางบริเวณไปเบียดกับกับกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ ทำให้เกิดอาการปวดเข้าห้องน้ำบ่อยหรือเกิดปัสสาวะเล็ด เวลาไอ จาม หรือวิ่งในบางที
3.เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สบายอึดอัด
ในช่วงท้องไตรมาส 3 คุณแม่บางคนอาจมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เป็นข้างเคียงมาจากมดลูกขยายตัว ซึ่งไปดันอวัยวะด้านบนส่วนอื่นๆ ให้ขยับขึ้นไปเบียดกะบังลมอีกที ทำให้พื้นที่ช่องปอดเหลือน้อย เมื่อหายใจเข้าปอด จึงไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ ทำให้คุณแม่รู้สึกหายไม่อิ่ม หรือหายใจได้สั้น
4.ปวดหลัง
จากสาเหตุน้ำหนักของมดลูกและตัวเด็กที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากกว่าปกติ ทำให้เพิ่มภาระแก่กล้ามเนื้อหลังเป็นอย่างมาก รวมไปถึงเพิ่มภาระแก่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ อีกด้วย
5.ตะคริว
เกิดจากกล้ามเนื้อขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ เนื่องจากขนาดตัวของคุณแม่และเด็กเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน กระดูกเชิงกรานของคุณแม่ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงใกล้คลอด ซึ่งจะทำให้รู้สึกปวดหน่วงบริเวณข้อสะโพกหรือหัวหน่าวไปด้วย
คำแนะนำการดูแลตัวเอง จากหมอสูติ
คำแนะนำจากหมอผู้เชี่ยวชาญในสุขภาพการในการตั้งท้องไตรมาส 3 เหล่านี้ ล้วนส่งผลโดยตรงต่อลูกน้อยในท้อง หากต้องการให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงตัวคุณแม่เอง ควรปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ
1.อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีนเช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานได้ทั้งก้าง นมพร่องมันเนย เป็นต้น
2.การนัดตรวจครรภ์ ในไตรมาสสุดท้ายนี้การตรวจนัดครรภ์จะบ่อยครั้งมากขึ้น จะมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและโปรตีนในปัสสาวะ เช็ดความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3.การดูแลเต้านม ในระยะ 2 – 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนมและบริเวณลานนม ดังนั้นเวลาที่อาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณดังกล่าวให้หายไป ทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
อาหารที่คุณแม่ควรกิน เมื่อตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3
ในช่วงท้องไตรมาส 3 โค้งสุดท้าย สารอาหารต่างๆ ที่คุณแม่ได้รับ มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากต้องการให้ลูกมีพัฒนาที่ดี มีเซลล์สมองที่แข็งแรง ควรทานอาหารในกลุ่ม โปรตีน สังกะสี ซีลีเนียม ไอโอดีน หรือธาตุเหล็ก ที่จะช่วยในการบำรุงเม็ดเลือดแดง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้เพียงพอ และส่งไปถึงเซลล์เต้านม ทำให้ผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น ช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมในปริมาณมากขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น นม งา ถั่วเหลือง ปลา และผักใบเขียวต่างๆ รวมไปถึงอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาของลูกน้อยไปในตัว และอย่าลืมทานวิตามินดีหรือซีในครบ เพื่อให้เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สามารถต้านทานการเกิดโรคต่างๆ ให้กับคุณแม่ได้อีกด้วย
อาการต่างๆ ที่แม่ท้องไตรมาส 3 ต้องระวัง
นับถอยหลังของการเป็นคุณแม่เต็มตัว ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย ทั้งด้านจิตใจและสุขภาพ แต่หากมีอาการเหล่านี้ปรากฏขึ้นมาก ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดหรือพบแพทย์ได้ทันที เนื่องจากเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าว่าคุณแม่กำลังเข้าสู่ระยะคลอดแล้วนั่นเอง
- เจ็บครรภ์ทุกๆ 10 นาที
- มีน้ำเดิน
- ลูกดิ้นน้อยลง
- ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว บวม
โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในช่วงท้องไตรมาส 3 นับเป็นเวลาที่ล้ำค่าและสำคัญต่อตัวคุณแม่และเด็กในท้องด้วยเช่น เพราะไม่ว่าจะทานอะไร หรือปฏิบัติกิจกรรมอะไร แน่นอนว่าส่งผลต่อเด็กโดยตรง ดังนั้นในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้เจ้าตัวน้อยที่กำลังจะออกมาลืมตาดูโลก มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ร่วมถึงตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน
= = = = = = = = = = = =