น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ ตลอดระยะเวลาทั้ง 9 เดือน ควรหนักเท่าไหร่  เมื่อถึงเวลาตั้งครรภ์ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว ทั้งเรื่องของ รูปร่างที่เปลี่ยนไป อารมณ์ที่เปลี่ยนไป การกินที่เปลี่ยนไป รวมถึงอื่น ๆ ที่แม่ตั้งครรภ์ไม่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้

น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์  ควรหนักเท่าไหร่

ขณะเดียวกันความโชคดีของแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนไม่มีอาการแพ้ท้อง กินอยู่สบายเหมือนก่อนหน้านี้ ขณะที่บางคนอาจจะแพ้จนจนถึงขั้นแม้แต่น้ำเปล่าก็ยังดื่มไม่ได้ นี่เองเป็นที่มาของสุขภาพครรภ์ เพราะทุกอย่างในระหว่างตั้งครรภ์ ย่อมส่งผลกับลูกน้อยในครรภ์นั่นเอง

น้ำหนักเท่าไหร่ ถึงจะได้มาตรฐานแม่ตั้งครรภ์

ต้องบอกว่าการกินเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์อย่างยิ่ง หากแม่ท้องสามารถควบคุม วางแผนการกินเป็นอย่างดี ก็เท่ากับว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ขณะที่หากแม่ตั้งครรภ์กินไม่ได้ ลูกในครรภ์ก็จะไม่ได้รับสารอาหารนั่นเอง ซึ่งหากเป็นเรื่องของน้ำหนักตามความจริงแล้ว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของแม่ตั้งครรภ์ ต้องสัมพันธ์กับส่วนสูงและน้ำหนักตัวด้วย ซึ่งโดยเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ควรจะหนักเพิ่มขึ้นประมาณ  10-15 กิโลกรัม

น้ำหนักของแม่ตั้งครรภ์ ที่ควรจะเป็นตามแต่ละไตรมาส

อย่างที่บอกไปข้างต้น ตลอดการตั้งครรภ์แม่ตั้งครรภ์ควรน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 กิโลกรัม โดยหากแบ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักในไตรมาสแรกหรือ  3 เดือนแรก ช่วงนี้น้ำหนักจะเพิ่มไม่มาก ประมาณ 2 กิโลกรัม นั่นเพราะเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ขนาดท้องของแม่ตั้งครรภ์ไม่ใหญ่มาก บวกกับในบางรายมีอาการแพ้ท้อง จึงทำให้ยังกินอาหารได้น้อย หรือแทบจะกินไม่ได้เลย
ส่วนในไตรมาสที่ 2 และ 3 น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณ ไตรมาสละ 5 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัมต่อเดือน หรือ ครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์  ขณะที่หากเป็นแม่ตั้งครรภ์ครรภ์แฝด น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20 กิโลกรัม หรือโดยเฉลี่ย 0.7 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
ทั้งนี้น้ำหนักตัวของแม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่แพทย์ใช้ดูประกอบในระหว่างการฝากครรภ์เท่านั้น น้ำหนักตัวทารกในครรภ์ต่างหากคือสิ่งสำคัญ ซึ่งแพทย์ต้องการให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ของน้ำหนัก และสัดส่วนในแต่ละอายุครรภ์ แม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรกังวลกับการขึ้นลงของน้ำหนักจนมากเกินไป

Sponsored

แม่ตั้งครรภ์กับการกินอย่างมีคุณภาพ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี

  1. ท่องไว้อาหารสดใหม่ใกล้เคียงกับธรรมชาติดีที่สุด ยิ่งหากเป็นอาหารที่ผ่านขั้นตอนการปรุงน้อย ก็จะยิ่งดี แต่ทุกวันนี้แม่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะต้องซื้อหรือต้องกินอาหารแช่แข็ง ก็สามารถกินได้เช่นกัน แต่ไม่ควรกินทุกมื้อควรจะสลับกับการกินอาหารสดใหม่จากธรรมชาติบ้าง ก็จะดี และ ควรหลีกเลี่ยงอาหารบรรจุกระป๋อง
  2. เพิ่มการกินให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยควรกินอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มขึ้นอีก 500 แคลอรีต่อวัน นั่นเพราะจะได้เพียงพอต่อ แม่ตั้งครรภ์และเพียงต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์นั่นเอง
  3. เน้นว่ากินน้อย แต่เพิ่มมื้อกินบ่อยมากขึ้น เพราะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ในแม่ท้องบางคนที่แพ้ท้องมาก ๆ อาจจะกินอะไรแทบจะไม่ได้เลย ดังนั้นลองเปลี่ยนจากกินมื้อใหญ่ มาเป็นแบ่งการกินเป็นมื้อย่อย วันละ 5-6 มื้อแทน เป็นต้น
  4. กินให้ครบคุณค่า 5 หมู่  อาทิ โปรตีน เพราะมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อย รวมถึงอาหารจำพวกที่มีวิตามินและเกลือแร่  โดยเฉพาะธาตุเหล็ก เช่น ไข่แดง เนื้อแดง ขนมปังโฮลวีต ลูกพรุน ผักโขม งา ถั่วแดง สาหร่ายทะเล ถั่วลันเตา เป็นต้น เพราะจำเป็นสำหรับการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยให้ไม่รู้สึกเหนื่อยง่าย และยังลดอาการ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม