ในช่วงการตั้งครรภ์โดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ ท้องไตรมาสแรก นี้คุณแม่อาจจะมีข้อสงสัยหลาย ๆ ประการโดยเฉพาะ เรื่องการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้ง 3 ไตรมาสนี้

มาดูกันค่ะว่าใน ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรปฏิบัติตนอย่างไร

มีคำแนะนำดี ๆจากคุณหมอสูตินรีแพทย์มาบอกเล่าค่ะ

ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 1-3 เดือน)

การเปลี่ยนแปลง

1.ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด

2.มีอาการแพ้ท้องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.เต้านมขยายใหญ่ขึ้น มีอาการคัดเจ็บเต้านม

4.เหนื่อย อ่อนเพลีย อยากนอนพักมาก ๆ

5.น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือคงที่ 1 – 3 กิโลกรัม ในรายที่คุณแม่ไม่แพ้ท้อง

คำแนะนำ

1.อาหาร ให้คุณแม่ทานอาหรตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้เพราะคุณแม่บางคนที่มีอากรแพ้ท้องมากอาจจะทานอาหารไม่ลง ไม่เป็นไรค่ะ ไม่ต้องฝืนทาน แต่ควรทานเป็นอาหารที่ย่อยง่ายหรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ แทน เช่น น้ำหวาน และควรทานแต่ละน้อย ๆ วันละ 4 – 6 มื้อ แต่พออิ่มไม่ต้องบังคับว่าต้องทานมาก ๆ เพราะเป็นกังวลกลัวลูกจะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอทำให้ตนเองเกิดความเครียดให้กับตนเอง หลักสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหาร ไม่จำเป็นต้องครบถ้วนก็ได้ค่ะ

2.การฝากครรภ์ มีความสำคัญ เพื่อให้คุณแม่และลูกในท้องได้รับการดูแลและคำแนะนำที่ถูกต้องตลอดทั้ง 9 เดือน โดยในระยะแรกคุณหมอจะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์จนถึงไตรมาสที่ 2 และจะนัดถี่ขึ้นเป็น 3, 2 และ1สัปดาห์ตามลำดับในช่วงใกล้คลอด

3.เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ในช่วงตั้งครรภ์ไม่ได้มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ ยกเว้น คุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีประวัติการแท้งมาหลายครั้งหรือมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์และมาพบคุณหมอ

Sponsored

4.การฉีดวัคซีน ในรายที่แม่ท้องไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน จะฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ในไตรมาสที่ 1 – 2 ส่วนวัคซีนอื่น ๆ จะไม่นิยมฉีด ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นและอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอ

อาการที่ควรมาพบคุณหมอ

1.แพ้ท้องมากจนไม่สามารถทานอาหารได้เลย

2.มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ไม่ว่าจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ สาเหตุที่มีเลือดออกในระยะนี้คือ ภาวะแท้งคุกคาม ครรภ์ไข่ฝ่อ

3.ปวดมากบริเวณท้องน้อย ในระยะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อาจเกิดจากภาวะแท้งคุกคาม หรือเกิดจากการฝังตัวอ่อนผิดที่ หรือที่เรียกกันว่า ตั้งครรภ์นอกมดลูก

4.ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โยมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยเหมือนไม่สุด ปัสสาวะเป็นเลือด

หากคุณแม่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้อย่ารอช้ามาพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ ส่วนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ไตรมาส 2 ก็คลิกที่นี่ ไปติดตามอ่านกันต่อได้เลย

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่www.konthong.com
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์