ท้องแข็งตอน20วีค Q&A ดิฉันอยากทราบว่าอาการท้องแข็งก่อนอายุครรภ์ 20 วีค เป็นอันตรายหรือไม่ และมีวิธีแก้ไขยังไงคะ

ท้องแข็งตอน20วีค

A : ในไตรมาส 2  การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์จะมีความรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งในวีคที่ 16 ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 14-15 เซนติเมตร และยังสามารถกลืนน้ำคร่ำได้แล้ว จนเมื่อถึงวีคที่ 20 พบว่าทารกในครรภ์จะเริ่มมีการหายใจเกิดขึ้น ซึ่งน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 300 กรัม เริ่มมีขนอ่อนขึ้นตามตัว ผิวหนังสดใส และจากนั้นในวีคต่อๆ ไปก็จะเริ่มมีพัฒนาการต่างๆ มากขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ

โดยเมื่อผ่านการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ที่มีอาการแพ้ท้องมาแล้ว ในไตรมาส 2 แม่ตั้งครรภ์จะมีความสุขกับการตั้งครรภ์มากขึ้น สามารถปรับตัวได้แล้ว อาการแพ้ท้องก็หายแล้ว ขณะเดียวกันช่วงวีคที่ 18-20 จะเริ่มรู้สึกได้ถึงทารกในครรภ์ดิ้น ขณะที่แม่ตั้งครรภ์หลังจะรับรู้ได้ถึงทารกในครรภ์ดิ้นในวีคที่ 16-18  ซึ่งทั่วไปอาการที่แม่ตั้งครรภ์ในไตรมาส 2 ต้องเจอ เช่น หิวบ่อย สีผิวบางบริเวณคล้ำขึ้น มีน้ำนมใสไหล หลังกินข้าวอิ่มจะรู้สึกแสบบริเวณอก มีรอยแตกลายบริเวณท้องเนื่องจากท้องเริ่มขยายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นตะคริว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ขี้ร้อนกว่าปกติ อาจมีฝ้าบางๆ ขึ้นบนใบหน้าในแม่ตั้งครรภ์บางคน

และยังมีอาการบีบรัดตัวของมดลูก มดลูกหดรัดตัว เวลาคลำดูจะรู้สึกได้ว่าท้องแข็ง ซึ่งมักเป็นๆ หายๆ ของอาการเจ็บเตือน ทั้งนี้อาการท้องแข็งในแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป และอาการท้องแข็งมีทั้งแบบไม่อันตรายและแบบอันตราย

ท้องแข็งแบบไหนอันตรายและท้องแข็งแบบไหนไม่อันตราย

1.ท้องแข็งอันตราย ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะในแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 5 เดือน เพราะอาจเป็นการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด อาการท้องแข็งอันตราย เกิดจากมดลูกบีบรัดตัว เวลาคลำจะรู้สึกได้ว่าท้องแข็งเป็นก้อน มีอาการเจ็บปวดนาน นอนพักแล้วก็ยังไม่หาย อาการเจ็บยังรากฎเช่นเดิม ร่วมกับมีเลือดออก หากเป็นเช่นนี้อย่านิ่งนอนใจนะคะ รีบไปพบแพทย์

2.ท้องแข็งแบบไม่อันตราย มีสาเหตุจากอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกได้ว่าท้องตึง อาการปวดที่เกิดขึ้นจะเป็นๆ หายๆ อาการเจ็บไม่รุนแรง เจ็บไม่มาก รวมถึงผนังมดลูกถูกกระตุ้น เพราะลูกในครรภ์ตั้งแต่อายุ 5 เดือนขึ้นไป จะเริ่มดิ้นแล้ว หรือเพราะแม่ตั้งครรภ์เปลี่ยนอิริยาบถ เดินไว ลุกเร็ว ก็จะเป็นสาเหตุกระตุ้นให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหว จนไปโดนผนังมดลูกเข้า และเกิดการบีบรัดตัวของมดลูกนั่นเอง ทั้งนี้แม่ตั้งครรภ์สามารถลดอาการท้องแข็งได้ด้วยการ ลดการทำกิจกรรมผาดโผน หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก เคลื่อนไหวให้ช้าลง มีเพศสัมพันธ์ในท่าที่เหมาะสม งดการขับรถเอง ไม่อั้นปัสสาวะ งดการกระตุ้นเต้านม ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มไฟเบอร์ที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดี และช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ดี รวมถึงลดการทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลงด้วย

การปฏิบัติตัวของแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

1.ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

2.ทานยาบำรุงเลือด

3.ทานอาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพครรภ์ โดยควรทานมื้อน้อยแต่ทานบ่อยขึ้น และเพิ่มการทานแคลเซียม เพราะทารกในช่วงระยะนี้จะมีการสร้างกระดูกนั่นเอง

4.หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัดทุดชนิดจะดีที่สุด

5.หลังทานอาหารเสร็จแล้ว แม่ตั้งครรภ์ควรงดการนอนราบในทันที

Sponsored

6.เปลี่ยนเสื้อชั้นในให้เหมาะสมกับรูปร่างที่เปลี่ยนไป ควรเน้นที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่น รวมถึงเสื้อผ้าด้วยเช่นกัน

7.พักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน

8.หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก งานที่ต้องก้มๆ เงยๆ รวมถึงควรยกขาสูงในช่วงกลางวันบ้าง หากมีการทำงาน

9.งดสวมรองเท้าส้นสูง เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดหลังมากขึ้น ควรสวมรองเท้าส้นเตี้ย

10.หลีกเลี่ยงการย้อม ดัด ทำสีผม เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์

11.ในช่วงวีคที่ 24 ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินแล้ว ดังนั้นแม่ตั้งครรภ์ควรกระตุ้นพัฒนาการในช่วงนี้ ด้วยการเปิดเพลง หรือการลูบท้อง พูดคุยกับทารกในครรภ์ หรือในวีคที่ 28 ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการด้านการมองเห็น แม่ตั้งครรภ์สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านนี้ได้ ด้วยการส่งไฟฉายบริเวณท้อง รวมถึงลูบท้องพูดคุยกับเขา ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการได้ดี

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์