เมื่อตั้งครรภ์ ท้องแรก แล้ว สุดยอดปรารถนาของว่าที่คุณแม่ทุกคนการมี ครรภ์คุณภาพ และอยากให้เจ้าตัวน้อยคลอดออกมามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง แน่นอนว่าเจ้าตัวน้อยจะแข็งแรงได้นั้นต้องบำรุงกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การมี ครรภ์คุณภาพ นั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่เรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาหรือวิตามิน รวมไปถึงการพบแพทย์ตามที่นัดหมายทุกครั้ง ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ควรปฏิบัติแล้วรับรองว่าจะมีสุขภาพครรภ์ที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ

10 ข้อที่คุณแม่ ท้องแรก ควรปฏิบัติ

เมื่อตั้งครรภ์ท้องแรกคุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง นี่คือ 10 ข้อที่คุณแม่ควรทำนั่นเอง

1.การรับประทานอาหาร

เมื่อพูดถึงเรื่องการรับประทานอาหาร คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ใช่ว่ารับประทานไม่ลงก็ไม่กงไม่กินมันเลย อันนี้ขอบอกว่ามีผลเสียต่อเจ้าตัวน้อยนะคะ เพราะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและการนำไปใช้ในการเจริญเติบโตในครรภ์ พยายามเข้าค่ะ รับประทานอาหารหลากหลายในครบ 5 หมู่

แนะนำอาหารที่คนท้องควรกิน มีอะไรบ้างคลิก!!

2.หยุดบุหรี่ ภัยร้ายทำลายครรภ์

สิ่งนี้คงเป็นที่ทราบกันดีนะคะ ไม่เพียงแต่คุณแม่เท่านั้นนะคะที่ควรเลิก ตัวคุณพ่อเองก็หยุดพ่นควันปุ๋ยๆ ด้วยค่ะ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่มีประกาศแจ้งเตือนมาว่า ผู้หญิงที่มีครรภ์ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งสูงถึง 100 % ทั้งนี้เพราะการสูบบุหรี่มีผลต่อการเจริญพันธุ์และการเติบโตของทารกในครรภ์ สำหรับหญิงมีครรภ์มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ เช่น  ครรภ์เป็นพิษ  ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะ คลอดก่อนกำหนด ทารกมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์   เมื่อคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จะมีน้ำนมน้อยกว่าปกติ นี่เป็นเพียงเหตุผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะคะที่อาจะเกิดอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้ หยุดเถอะค่ะบุหรี่ไม่ดีสำหรับทั้งตัวคุณและลูกน้อย

3.อย่าลืมรับประทานโฟลิกเอซิด

โดยในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานโฟลิกเอซิด ทั้งนี้เพราะโฟลิกเอซิด มีกรดที่มีความสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ หรือคุณแม่อาจจะรับประทานผักจำพวก บล็อกโคลี่ ผักปวยเล้ง ขนมปังโฮลวีต ถั่วลิสง เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยกรดโฟลิคทั้งนั้นค่ะ

4.หยุดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

อย่าลืมนะคะว่าขณะที่คุณดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทารกในครรภ์ก็กำลังดื่มไปกับคุณด้วย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณแม่ดื่มเข้าไปนั้น จะเข้าสู่ทารกโดยตรงผ่านทางรก คุณอาจต้องตกใจเมื่อรู้ว่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของทารกในครรภ์จะสูงพอ ๆ กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราเข้าไป แต่ทารกกลับต้องใช้เวลาในการขับสารพิษนี้ออกจากร่างกายมากกว่าถึงสองเท่า

5.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทสุกๆดิบๆ

คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิหรือปลาดิบทั้งหลาย   ช่วงที่กำลังตั้งครรภ์คงต้องงดอาหารอันแสนอร่อยเหล่านี้ไว้ก่อนนะคะ หรือแม้แต่แหนมหรืออาหารหมักดอง ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากย่อยยาก อีกทั้งเรื่องของพยาธิ สารที่เจือปนในอาหาร ซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสียได้ เพราะยังส่งผลถึงเจ้าตัวเล็กในครรภ์อีกด้วยอาจมีผลทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทสุก ๆ ดิบ ๆ หรือปรุงไม่สุก็ตามแต่ เพื่อความปลอดภัยจะดีที่สุดค่ะ

6.พบคุณหมอทุกครั้งที่มีการนัด

คุณแม่ควรไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้งเพื่อตรวจดูสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตามหากเกิดอาการผิดปกติใดเกิดขึ้นก่อนที่คุณหมอนัด เช่น มีเลือดออก หรือมีความรู้สึกความทารกไม่ดิ้นก็อาจไปพบคุณหมอก่อนนัดได้นะคะ เรียกว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่าใจเย็นหรือรอให้ถึงวันนัดอาจจะไม่ทันการณ์

7.หลีกเลี่ยงการกินยาที่คุณหมอไม่ได้สั่ง

แน่นอนว่าในช่วงตั้งครรภ์อาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ตัวร้อน อะไรก็ตามแต่มักจะเกิดขึ้นได้ง่าย คุณแม่บางท่านเมื่อปวดศีรษะขึ้นมามักรับประทานยาพาราเซตามอลไว้ก่อน แม้ว่าจะไม่มีคำยืนยันว่ายาพาราเซตามอลมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ก็ตาม แต่ยาตัวนี้มีฤทธิ์สะสมในตับและไตได้ เอาเป็นว่าหากเราทนได้ก็ควรอดทนหรือหาวิธีการอื่นที่ช่วยลดอาการปวด เช่น นวดเพื่อผ่อนคลาย เป็นต้น   หรือถ้าคุณแม่ท่านใดมีโรคประจำตัวก็ให้แจ้งคุณหมอตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปฝากครรภ์เพื่อคุณหมอจะได้ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานยาที่ถูกต้องและเหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์ค่ะ

Sponsored

8.พักผ่อนและออกกำลังกายให้เหมาะสมและเพียงพอ

การพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนท้อง แต่ถ้าคุณแม่มีอาการดังนี้ ก็ควรงดการออกกำลังกาย หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อน ได้แก่

  • มีปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด เช่น เนื้องอกมดลูกโต ๆปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดครรภ์แฝด
  • กำลังมีเลือดออกจากช่องคลอด  หรือมีประวัติ เลือดออกขณะตั้งครรภ์
  • มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด  ข้อนี้เป็นข้อห้ามเด็ดขาด นอกจากนี้อาจมีอาการหรือโรคที่เป็นอยู่แล้วบางอย่างก่อนหรือขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง  เป็นต้น

แต่ถ้าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่เป็นปกติและไม่มีข้อห้ามใดๆจากคุณหมอ การออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อทั้งตัวคุณแม่เองและต่อทารกในครรภ์ สิ่งสำคัญก่อนออกกำลังกายใดๆก็ตามควรทำการ warm ร่างกายก่อนสัก 5-10 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำได้จะดีมาก และมักจะทำได้ดีในครึ่งแรกของการตั้งครรภ์คือ ก่อน 5 เดือน  หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะทำให้ออกกำลังกายลำบากขึ้น  และมีข้อจำกัดมากขึ้น ในการเริ่มต้นออกกำลังกายควรเริ่มทำน้อย  ๆ ระยะเวลาสั้น  ๆ ก่อน เช่น เริ่มต้นที่ 5 นาที  แล้วค่อยเพิ่มทุก ๆ 5 นาทีต่อสัปดาห์  จนถึงวันละ 30 นาที สำหรับกีฬาที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ เดิน เป็นต้น

ข้อแนะนำ

1. หลังครรภ์ 3 เดือนแล้ว  ไม่ควรออกกำลังกายอะไรที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูกหลัง
2. หลีกเลี่ยงออกกำลังกายมาก ๆ ในที่ร้อน อบอ้าว หรือ ขณะที่มีไข้
3. ใส่เสื้อผ้าที่อากาศถ่ายเทสะดวก
4. ใส่ยกทรงที่พยุงทุก  ๆ ส่วนของเต้านม
5. ดื่มน้ำมาก ๆ ขณะออกกำลังกาย
6. รับประทานอาหารให้เพียงพอ

9.การติดเชื้อปรสิต

เชื้อปรสิตที่ว่านี้จะมาจากไหน ขอบอกเลยค่ะว่าคุณแม่ท่านใดที่เลี้ยงสุนัข หรือโดยเฉพาะเจ้าแมวเหมียวช่วงท้องเป็นอันว่าห่างๆกันไว้จะดีที่สุด เพราะแมวนั้นมักจะได้รับเชื้อปรสิตมาจากากรกินเจ้าหนูหรือนกที่มันชอบจับมากินหรือเล่น เชื้อปรสิตจะเข้าสู่ร่างกายของแมว เมื่อมันถ่ายออกมาก็จะมีเชื้อปรสิตนี้ออกมาด้วย เมื่อเรามีการสัมผัสกอดรัดฟัดหวี่ยงอย่างที่เราเคยทำ เข้าเชื้อปรสิตนี้อาจผ่านเข้าสู่ร่างกายเราและส่งผ่านไปยังทารกได้ เช่น เมื่อคุณแม่หยิบจับอาหารรับประทานเข้าปาก เชื้อก็จะเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้ง่าย ทั้งนี้รวมถึงการกินผักผลไม้สดต้องล้างทำความสะอาดให้ดีที่สุดเพื่อความมั่นใจค่ะ

10.อารมณ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

หญิงตั้งครรภ์มักจะมีสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิดง่าย เบื่อ เซ็ง เหล่านี้เป็นต้น ทางที่ดีเราควรปฏิบัติตนให้อยู่ในสภาวะที่ไม่ตึงเครียด หลีกเลี่ยงสถานที่หรือบุคคลที่ทำให้เรารู้สึกเครียดหรือเป็นทุกข์  เพราะอารมณ์นั้นจะส่งผลถึงทารกในครรภ์ เชื่อกันว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่มักจะอารมณ์หงุดหงิดอยู่เสมอ ลูกที่คลอดออกมาจะเป็นเด็กโยเยเลี้ยงยากนะคะ แบบนี้คุณแม่คงไม่ปรารถนาอย่างแน่นอนใช่ไหมคะ เพราะใครก็อยากให้ลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่ายไม่ร้องไห้โยเยจนเกินไปนัก ต้องเริ่มที่ตนเองเสียตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ อันนี้เป็นคำแนะนำของผู้เขียนเองนะคะ เพราะตนเองได้ปฏิบัติแล้เห็นผลดีค่ะ คือ   ตอนตั้งครรภ์ก่อนนอควรสวดมนต์และนั่งสมาธิ   คุณแม่ที่อาจไม่เคยปฏิบัติก็เริ่มตั้งแต่บทสวดสั้นๆและนั่งสมาธิวันละ 5-10 นาทีก็ได้ค่ะ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเท่าที่ร่างกายจะเอื้ออำนวยนะคะ ท่านั่งไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิก็ได้เพราะเมื่อท้องโตมากๆจะค้ำท้องค่ะ นั่งในท่าที่เราสบายที่สุดค่ะ เมื่อเราฝึกไปเรื่อยๆจิตใจของเราจะสงบ เชื่อไหมค่ะว่า ลูกคนเล็กที่คลอดออกมาเลี้ยงง่ายไม่โยเย

สรุป

10 เคล็ดลับตั้งครรภ์ ท้องแรก อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เรื่องยากเลยแต่ได้ผลดีอย่างมาทั้งแต่ตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์อีกด้วย เพราะฉะนั้นมาทำตามเคล็ดลับเหล่านี้กันดู

อ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ pregnancy handbook

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่www.konthong.com
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ