เสี่ยงแค่ไหน แม่ตั้งครรภ์ในวัย 35+ และการดูแลสุขภาพครรภ์ที่ถูกต้อง ด้วยไลฟ์สไตรของผู้หญิงยุคใหม่ ทำให้ส่วนใหญ่แต่งงานช้าลงพร้อมตั้งครรภ์เมื่อเข้าสู่วัย 35 อัพ ซึ่งการตั้งครรภ์ตอนอายุมาก นับว่าเพิ่มโอกาศเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้
นพ.วิศิษฐ์ ค้อสุวรรณดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ จะมาไขข้อข้องใจกับปัญหาต่างๆที่สร้างความกังวลใจให้คุณแม่ตั้งครรภ์
อายุมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร?
ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่ชัดว่าผู้หญิงควรตั้งครรภ์เมื่ออายุเท่าไรแต่ในช่วงอายุ 20-30 ปี ร่างกายจะมีความสมบูรณ์เต็มที่และพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์และผู้หญิงมีอายุมากขึ้นโดยเฉพาะในวัย 35 ปีขึ้นไป การทำงานของรังไขลดลงส่งผลต่อความแข็งแรงของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงเกิดปัญหาต่างๆ เหล่านี้
มีบุตรยาก เนื่องจากการตกไข่ลดลงหรือไข่ไม่สมบูรณ์
ภาวะแท้งโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เพราะเข้าใจว่าประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด หรือแท้งบุตรง่ายจากสาเหตุบางอย่าง เช่น ไข่ไม่สมบูรณ์ ฮอร์โมนจากรังไข่ไม่เพียงพอต่อการตั้งครรภ์ในระยะแรกโดยพบว่าอายุ 25 ปี มีความเสี่ยงแท้งบุตรร้อยละ 12-15 และหากอายุ 40 ปี ยิ่งมีโอกาศเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25
ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ เช่นความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือภาวะดาวน์ซินโดรมหรือทารกในครรภ์เติบโตช้า หากทารกคลอดก่อกำหนด มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหายใจเร็วเนื่องจากปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูงหรือหากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทารกจะตัวโตมากกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาการคลอดยากตามมา “ตรวจสุขภาพ” ลดความเสี่ยงลูกน้อยพิการแต่กำเนิด
คุณแม่ตั้งครรภ์วัย 35 ปีขึ้นไป ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ หากพบความเสี่ยงแพทย์จะวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมีมากกว่าการตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติหรือคนในครอบครัวเสี่ยงเกิดโรคเช่น ดาวน์ซินโดรม ครรภ์เป็นพิษ หรือโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ควรพบแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ และตรวจสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีการตรวจที่สำคัญดังนี้
- การทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจดูอายุครรภ์และติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์เกินวัย 35 ปีขึ้นไป จะมุ่งเน้นไปที่การตรวจวิเคราะห์หาสัญญาณการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความผิดปกติของทารก
- การตรวจเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อคัดกรองดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ ของทารกในครรภ์
- การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อวินิจฉัยทารกในครรภ์ว่าเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ หรือไม่
- ครรภ์คุณภาพในวัย 35+ คุณสร้างได้ การดูแลสุขภาพคุณเริ่มได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จนถึงช่วงสุดท้ายเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก
- รับประทานโฟลิกให้เพียงพอ เพราะกรดโฟลิกช่วยให้สมองและกระดูกสันหลังของลูกเติบโตดี พบมากในผักใบเขียว ข้าวซ้อมมือ กล้อย นม ไข่ เป็นต้น
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เต็มอิ่มประมาณ 8-10 ชั่วโมง/วัน
- งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์ และการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายแบบเบาๆ หรือปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
- ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะยาหลายชนิกสามารถส่งผ่านจากแม่และมีผลต่อทารกในครรภ์อาจเกิดการแท้งบุตรได้
- ควบคุมน้ำหนัก เพราะหากมีน้ำหนักมากเกินไปอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือครรภ์เป็นพิษได้v
- ทำจิตใจให้แจ่มใส เพราะอารมณ์ของคุณแม่มีผลต่อการตั้งครรภ์
- พบแพทย์ตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงและทราบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ขอบคุณ โรงพยาบาลนนทเวช
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..