ตัวย่อในการตรวจครรภ์ ทุกครั้งที่ไปตรวจครรภ์ แพทย์จะระบุผลการตรวจลงในสมุดสีชมพูเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะใช้เป็นตัวย่อที่ทำให้คุณแม่ไม่ค่อยเข้าใจมากนัก ว่าตัวย่อในการตรวจครรภ์เหล่านั้นมีความหมายว่าอย่างไร เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจึงรวบรวมความหมายของตัวย่อต่างๆ มาฝากกัน เพื่อที่คุณแม่จะได้ทำความเข้าใจมากขึ้นนั่นเอง

ตัวย่อในการตรวจครรภ์ และความหมาย

มาดูกันว่า ตัวย่อในการตรวจครรภ์ มีอะไรบ้าง และมีความหมายว่าอย่างไร เพื่อความเข้าใจมากขึ้นนั่นเอง

ตัวย่อทางสูติศาสตร์

อักษรตัวย่อทางสูติศาสตร์ เป็นอักษรที่ใช้โดยทั่วๆ ไป ได้แก่

  • G เป็นตัวย่อที่มีความหมายถึงจำนวนการตั้งครรภ์ โดยจะบอกว่าคุณแม่มีการตั้งครรภ์มาแล้วกี่ครั้ง เช่น G2 หมายถึงตั้งครรภ์มาแล้ว 2 ครั้ง และ G3 หมายถึง ตั้งครรภ์มาแล้ว 3 ครั้ง
  • P เป็นตัวย่อที่มีความหมายถึง จำนวนครั้งของการคลอดครบกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด โดย P ตัวแรกจะบอกถึงการคลอดครบกำหนด และ P ตัวสองจะบอกถึงการคลอดก่อนกำหนดนั่นเอง
  • A เป็นตัวย่อที่แสดงถึงจำนวนครั้งที่มีการแท้งบุตร เช่น A2 มีการแท้งบุตรมาแล้ว 2 ครั้ง
  • L เป็นตัวย่อที่หมายถึงบุตรที่รอดชีวิต

โดยอักษรตัวย่อในการตรวจครรภ์เหล่านี้มักจะถูกนำมาเขียนเรียงต่อกันตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าใจกันในทางการแพทย์นั่นเอง

ตัวย่อท่าของทารกในครรภ์

ทารกในครรภ์มักจะเปลี่ยนท่าไปมาบ่อยๆ และจะเริ่มคงที่เมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะกลับหัวลงสู่ช่องคลอด เพื่อเตรียมออกมาสู่โลกภายนอกนั่นเอง และช่วงนี้เองที่แพทย์จะเขียนลงในสมุดบันทึกการฝากครรภ์ว่าทารกอยู่ในท่าอะไร โดยแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งก็จะใช้ตัวย่อในการระบุท่าของเด็กดังนี้

  • ROT คือท่าที่เด็กกลับหัว โดยท้ายทอยจะอยู่ตามแนวขวางของช่องเชิงกราน เป็นท่าที่คลอดยากพอสมควร
  • LOT คือท่าที่เด็กกลับหัว โดยท้ายทอยอยู่ตามแนวขวางของช่องเชิงกราน เป็นท่าที่คลอดยากเล็กน้อย
  • ROP คือท่าที่เด็กกลับหัว โดยท้ายทอยอยู่ด้านหลังข้างขวาของช่องเชิงกราน เป็นท่าที่คลอดยากและอาจเกิดอาการปวดหลัง
  • LOP คือท่าที่เด็กกลับหัว โดยท้ายทอยอยู่ด้านหลังข้างซ้ายของช่องเชิงกราน เป็นท่าที่ต้องใช้เวลาในการคลอดนานขึ้นและอาจมีอาการปวดหลังได้
  • LOA คือท่าที่เด็กกลับหัว โดยท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าข้างซ้ายของช่องเชิงกราน เป็นท่าที่คลอดได้ง่าย
  • ROA คือท่าที่เด็กกลับหัว โดยท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าข้างขวาของช่องเชิงกราน เป็นท่าที่คลอดได้ง่าย

นอกจากนี้ก็มีกรณีที่ทารกอยู่ในท่าก้นหรือท่าขวางอีกด้วย ซึ่งเป็นท่าที่จะต้องคลอดด้วยการผ่าตัดเท่านั้น

ตัวย่อจากการอัลตร้าซาวด์

ตัวย่อจากผลอัลตร้าซาวด์ ตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกตัวย่อในการตรวจครรภ์ที่มักจะพบได้บ่อยๆ โดยมีตัวย่อที่ควรทำความเข้าใจดังนี้

  • CRL หมายถึง ขนาดความยาวของทารก
  • BPD หมายถึง ขนาดความกว้างของศีรษะทารก
  • HC หมายถึง ขนาดเส้นรอบวงศีรษะของทารก
  • AC หมายถึง ขนาดเส้นรอบท้องของทารก
  • FL หมายถึง ขนาดความยาวของกระดูกต้นขาทารก
  • AFI หมายถึง ปริมาณของน้ำคร่ำ
  • EFW หมายถึง น้ำหนักของทารกในครรภ์ โดยการคาดคะเน
  • LMP หมายถึง วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์
  • EDD หรือ EDC หมายถึง กำหนดวันคลอด โดยคำนวณจาก LMP
  • GA หมายถึง อายุครรภ์ในปัจจุบัน ณ เวลาตรวจ

จำเป็นไหม ต้องอ่านตัวย่อเหล่านี้ให้เป็น

ต้องบอกเลยว่า การอ่านตัวย่อเหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะหากอ่านไม่เป็น ก็ไม่อาจรู้ได้เลยว่าลูกน้อยในครรภ์มีขนาดแค่ไหน น้ำหนักประมาณเท่าไหร่ อยู่ท่าไหน และข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นคุณแม่ควรอ่านและทำความเข้าใจกับตัวย่อเหล่านี้ให้ดี จะได้ไม่ต้องงงกับตัวย่อที่คุณหมอเขียนมาในสมุดฝากครรภ์ หรือในใบผลตรวจอัลตร้าซาวด์นั่นเอง

Sponsored

ทีนี้ก็พอจะเข้าใจเกี่ยวกับตัวย่อในการตรวจครรภ์ที่มักจะพบบ่อยๆ แล้วใช่ไหมเอ่ย ใครที่กำลังสงสัยว่าแพทย์เขียนอะไรลงมาในสมุดบันทึกการฝากครรภ์เล่มสีชมพู ก็ลองเทียบความหมายกับตัวย่อต่างๆ กันดู แล้วคุณแม่จะมีความเข้าใจมากขึ้นอย่างแน่นอน

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.แพ้ท้องระดับไหน เช็คสิ อาการแพ้ท้องของคุณ รุนแรงหรือไม่

2.10 อาหารวิตามินบี 6 สูง ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ดี