อาการหลังคลอด ในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ น้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ประมาณ 3-4 กิโลกรัม จนกระทั่งกลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งหากต้องการให้ร่างกายเข้าที่เร็วมากขึ้น คุณแม่สามารถดูแลตนเองควบคู่กันไปได้ ด้วยการทานอาหารดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน รวมถึงการออกกำลังกาย อีกทั้งควรมีการเพิ่มเติมใส่ใจในเรื่องของการดื่มนม กาทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพื่อทดแทนการเสียเลือดหลังคลอด และการให้นม เช่น ไข่ เนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม เป็นต้น ทั้งนี้หลังคลอดยังมีเรื่องที่คุณแม่ควรรู้ นั่นคือ 7 อาการที่ต้องเจอ ซึ่งเรารวบรวมมาบอกดังนี้

อาการหลังคลอด 7 อาการที่คุณแม่ควรสังเกต

1.น้ำคาวปลา เรื่องที่คุณแม่หลังคลอดควรสังเกตให้ดี โดยน้ำคาวปลาหลังคลอดจะมีประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรืออาจจะนานมากกว่านั้นได้ถึง 2 เดือน ซึ่งหากเป็นน้ำคาวปลาเป็นปกติ จะสังเกตได้คือ เริ่มจากมีสีแดงจากนั้นจะค่อย ๆ จางลงเรื่อยๆ จนเป็นสีเหมือนน้ำเหลือง และแห้งไปในที่สุด แต่หากตรงกันข้ามหากน้ำคาวปลาผิดปกติ จะมีปริมาณเลือดไหลออกมาเยอะ หรือเลือดออกมาเป็นก้อน ในเวลา 4 วันหลังคลอด จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง ซึ่งนี่แสดงให้เห็นว่ามีอาการตกเลือดหลังคลอด ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้  วิงเวียน ปัสสาวะขัด ปวดเอว แสดงความน้ำคาวปลาผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

2.มดลูกจะค่อย ๆ มีขนาดลดลง จนถึงขนาดปกติภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งในระยะเวลานี้อาจมีอาการปวดบริเวณมดลูก โดยเฉพาะเวลาลูกดูดนม เนื่องจากฮอร์โมนออกซีโตซีนที่หลั่งออกมาจะช่วยขับน้ำนม รวมถึงมีฤทธิ์ในการบีบมดลูกร่วมด้วย แต่อย่างไรอาการปวดจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ

3.ปวดเมื่อยตามตัว แขน ขา เป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ เนื่องมาจากระหว่างการคลอด คุณแม่มีการบิดเกร็งในท่วงท่าที่คลอดนานจนเกินไป แต่ไม่นานอาการนี้ก็จะหายไปเอง รวมถึงให้ระวังระวังในการเดิน นั่น ลุก ไม่ควรนั่งขัดสมาธิในระยะ 3 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อให้เวลาแผลมีการสมานกันได้ดีขึ้น

4.ถ่ายปัสสาวะและอุจจาระลำบาก อาจจะไม่ได้พบอาการนี้ทันทีหลังคลอด โดยมากอาการนี้จะพบ 1 สัปดาห์หลังคลอด และสามารถแก้ไขง่าย ๆ โดยให้คุณแม่ดื่มน้ำมากๆ รวมถึงการทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

5.เจ็บปวดจากแผลฝีเย็บ มีอาการบวม แผลแยกออกจากกัน แผลฝีเย็บมีกลิ่น  สามารถบรรเทาได้ ด้วยการทานยาแก้ปวด หรือการนั่งแช่น้ำอุ่น หรืออบแผลด้วยความร้อน รวมถึงมีการดูแลแผลฝีเย็บอย่างถูกต้อง วันละ 2 ครั้ง โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น จากนั้นค่อย ๆ เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้ง ข้อควรระวงไม่เช็ดจากหลังมาหน้า หรือเช็ดสลับกันไปมา เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

6.คัดเต้านม แม่หลังคลอดจะมีอาการคัดเต้านมอย่างมาก ในช่วงประมาณวันที่ 3 – 4  นั่นเพราะน้ำนมจะเริ่มมามากขึ้น ซึ่งหากต้องการลดอาการเต้านมคัด  ให้ใช้แผ่นเย็นวางลงบนที่เต้านม หรืออาบน้ำอุ่น หรือปั๊มนมออก ก็จะช่วยลดอาการนี้ลงได้

Sponsored

7.อาการเจ็บปวดจากการแยกกันของกระดูกบริเวณหัวหน่าว คุณแม่สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการทานยาแก้ปวด และสามารถเดินบริหารร่างกายเบา ๆ ได้ เช่น เดินไปมา หรือขมิบก้น โดยในแม่ที่ผ่าคลอดสามารถทำได้ทันทีหลังคลอด ประมาณครั้งละ 20-30 ครั้ง  และในแม่ที่คลอดธรรมชาติ ควรเริ่มทำหลังคลอดประมาณ 2 สัปดาห์

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.6 คุณประโยชน์ของนมแพะ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

2.นมแพะดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยเสริม ที่ดีต่อลูกรัก