อยู่ไฟหลังคลอดเป็นวิธีดูแลสุขภาพร่างกายของผู้หญิง ที่นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะเชื่อว่าหลังคลอดทำให้ร่างกายของผู้หญิงสูญเสียสมดุล โดยเฉพาะธาตุไฟ ส่งผลทำให้รู้สึกหนาวง่าย และมักจะปวดเมื่อยตามร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น การอยู่ไฟจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงฟื้นตัวได้เร็ว ช่วยขับน้ำคาวปลา มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น จึงนิยมทำตามกันเรื่อยมา แต่ข้อเท็จจริงนั้น อยู่ไฟหลังคลอด ดีจริงหรือไม่ ในบทความนี้เราจะพาคุณแม่ทุกท่านมาหาคำตอบไปด้วยกัน
การอยู่ไฟหลังคลอด คืออะไร
การอยู่ไฟหลังคลอดเป็นการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของคุณแม่หลังคลอดให้กลับมาแข็งแรง ช่วยปรับสมดุลเลือดลมในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติให้เร็วที่สุด อยู่ไฟหลังคลอด เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่นิยมทำสืบต่อกันเรื่อยมา เพราะเชื่อว่าการอยู่ไฟมีประโยชน์ช่วยฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนล้าจากการคลอด ช่วยขับน้ำคาวปลา กระตุ้นน้ำนม ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น เพราะหากเลือดลมไหลเวียนไม่ดี จะทำให้ร่างกายไม่สามารถขับของเสียที่เกิดจากการคลอดออกมาไม่หมด และจะส่งผลต่อร่างกายตามมาเช่น ทำให้เกิดอาการคล้ายลมพิษ มีผื่นแดงคันเมื่ออากาศร้อน หรือเย็น มีอาการหนาวเย็นเข้ากระดูก มักจะปวดเมื่อยร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ และจากสาเหตุดังกล่าวทำให้นิยม การอยู่ไฟ หลังคลอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การ อยู่ไฟหลังคลอด ยังต้องมีอยู่อีกหรือไม่
ในปัจจุบันการอยู่ไฟหลังคลอดไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ในพื้นที่ที่เจริญแล้ว เนื่องจากการแพทย์ในปัจจุบันเชื่อว่าการอยู่ไฟไม่จำเป็นกับคุณแม่สักเท่าไหร่ โดยนายแพทย์พนิตย์ จิวะนันทประวัติ สูตินรีแพทย์ ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ เพราะ
- ประการแรก การคลอดทำให้คุณแม่เสียเลือดจำนวนมาก และอาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่น ซึ่งคนในสมัยก่อนไม่มีอุปกรณ์ในการช่วยให้ความอบอุ่นการได้นอนผิงไฟช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้ แต่ในปัจจุบันหากคุณแม่ท่านใดมีอาการดังกล่าวสามารถใช้ผ้าห่มไฟฟ้าห่มแทนได้ และอาการหนาวสั่นนี้จะหายไปเองภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง
- ประการที่สอง การคลอดลูกต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้ออย่างมาก เมื่อผ่านพ้นการคลอดหรือเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วแน่นอนว่าคุณแม่ต้องรู้สึกปวดเมื่อยเนื้อตัวเป็นธรรมดา ซึ่งการอยู่ไฟ ความร้อนจากไฟช่วยให้กล้ามเนื้อร่างกายได้ผ่อนคลายหายปวดเมื่อยได้ แต่ในปัจจุบันคุณแม่สามารถรับประทานยาแก้ปวดที่คุณหมอจัดให้ก็จะทุเลาจากอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน
- ประการที่สาม การคลอดเองตามธรรมชาติแน่นอนว่าจะเกิดกรณีช่องคลอดฉีกขาด คุณหมอจะทำการเย็บแผลฝีเย็บให้ แต่ถ้าเป็นเมื่อก่อนที่คลอดกันโดยธรรมชาติไม่มีการเย็บแผลฝีเย็บ การอยู่ไฟ จะช่วยให้แผลฝีเย็บติดกันๆ ได้อย่างสนิทแนบเทียบได้กับการเย็บโดยแพทย์เลยทีเดียว เพราะการนอนนิ่งขาชิดกันเวลาอยู่ไฟหลายๆ วันย่อมทำให้แผลกลับมาสนิทแนบชิดเหมือนเดิมได้
และข้อเท็จจริงในเรื่องนี้สรุปได้ว่า คุณแม่ท่านใดต้องการ อยู่ไฟหลังคลอด ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าใครไม่ต้องการอยู่ไฟก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงแค่ทานยา และปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อดีของการอยู่ไฟหลังคลอด
อยู่ไฟหลังคลอด เป็นการดูแลสุขภาพของคุณแม่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายข้อด้วยกันดังนี้
- การอยู่ไฟช่วยสร้างสมดุลร่างกาย ช่วยลดความเหนื่อยล้าหลังคลอด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
- ช่วยกระตุ้นการขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
- ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย ลดอาการปวดเมื่อยร่างกาย และไม่ทำให้รู้สึกหนาวสั่นเข้ากระดูกเวลาอากาศเย็น
- การ อยู่ไฟหลังคลอด แบบอบสมุนไพร จะช่วยให้ผิวพรรณดี ผุดผ่อง สุขภาพดีขึ้น
- ช่วยการปรับอุณหภูมิในร่างกายช่วยให้หน้าท้องยุบเร็ว หน้าท้องแบนเร็วขึ้น
วิธีการอยู่ไฟหลังคลอด ทำอย่างไร
อยู่ไฟหลังคลอด ในปัจจุบันใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง และจะอยู่ติดต่อกันเพียงแค่ 7 – 10 วันเท่านั้น โดยการอยู่ไฟจะเริ่มด้วยการนวด และประคบสมุนไพรก่อน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้เป็นอย่างดี จากนั้นก็จะทับหม้อเกลือทั้งบริเวณหน้าท้อง หลังส่วนล่าง และขา การทับหม้อเกลือจะช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และปิดท้ายด้วยการอบสมุนไพร กลิ่นของสมุนไพรจะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย รู้สึกสดชื่นขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้ผิวพรรณดูผ่องใสขึ้น
ข้อควรระวังในการอยู่ไฟ
การอยู่ไฟ หลังคลอดไม่ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนสามารถอยู่ไฟได้ เพราะหากคุณแม่ผ่าคลอด หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคไต โรคความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะตกเลือด ก็ไม่สามารถอยู่ไฟได้ สำหรับคุณแม่ผ่าคลอด ควรรอให้แผลหายดีประมาณ 30 -45 วันก่อนถึงจะสามารถอยู่ได้ สำหรับข้อควรระวังในการอยู่ไฟนั้น ควรรอให้ครบ 7 วันก่อนค่อยอยู่ไฟ และควรอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรอยู่ไฟที่ร้อนเกินไป เพราะอาจทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย และทำให้ผิวหนังพุพองได้ ที่สำคัญไม่ควรนำลูกอยู่ไฟด้วย เพราะเด็กที่เพิ่งคลอดใหม่ๆ เสียน้ำเกลือแร่มากเกินไปจะทำให้เป็นอันตรายได้
หากไม่อยู่ไฟหลังคลอด ทำวิธีไหนแทนได้บ้าง
สำหรับคุณแม่ที่ไม่ต้องการอยู่ไฟ สามารถดูแลตัวเองหลังคลอดด้วยการให้ความอบอุ่นร่างกายเช่น การดื่มน้ำอุ่น นอนในห้องอุณหภูมิไม่เย็นเกินไป พร้อมทั้งงดทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นเช่น แตงกวา แตงโม ฟัก อาหารหมักดอง ร่วมกับการใช้กระเป๋าน้ำร้อนทาบบริเวณหน้าท้องจะช่วยให้ท้อง หรือจะใช้การอบสมุนไพร แทนการอยู่ไฟก็ได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการ อยู่ไฟหลังคลอด นั้นมีประโยชน์สำหรับคุณแม่อย่างมาก อย่างไรก็ตามสำหรับคุณแม่ที่ไม่สะดวกที่จะอยู่ไฟหลังคลอดก็สามารถทำได้ ด้วยการดูแลตัวเอง พักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำอุ่น ใช้กระเป๋าน้ำร้อนทาบบริเวณหน้าท้อง พร้อมทั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์เย็น ก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแทนการอยู่ไฟได้เช่นกัน
= = = = = = = = = = = =