ซึมเศร้าหลังคลอด ในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต ที่คุณแม่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอ ก็คือช่วงเวลาที่ลูกลืมตาดูโลก หลายคนอาจคิดว่า น่าจะเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะดีใจ ตื่นเต้น และมีความสุขมากกว่าครั้งไหน ๆ แต่ความเป็นจริงนั้น คุณรู้หรือไม่ว่าคุณแม่หลังคลอดใหม่ ๆ มากกว่าครึ่งจะมีอาการซึมเศร้าในช่วง 2 – 3 วันแรกหลังคลอด นั่นเพราะร่างกายของคุณแม่จะมีอาการแปรปรวน มีอารมณ์ที่อ่อนไหว ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความรู้สึกหงุดหงิดในบางเวลา รวมถึงมีอาการวิตกกังวลจนนอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย ยิ่งคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพังด้วยแล้ว ย่อมเจอกับปัญหาอาการซึมเศร้านานกว่าคุณแม่ที่มีคนในครอบครัวค่อยดูแลอยู่ใกล้ ๆ

ทำความเข้าใจกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรืออาการซึมเศร้าหลังคลอด เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเครียดและอยู่เพียงลำพัง ในช่วงแรกคุณแม่จะมีอาการซึมเศร้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากฮอร์โมนที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอารมณ์ซึมเศร้างหลังคลอดนั้น จะมีอาการรุนแรงแตกต่างกันไป ส่วนมากจะพบในช่วง 2 – 4 วันแรกหลังคลอด และอยู่ประมาณ 7 – 10 วัน แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ

ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่จะมีความสุขที่ได้อยู่เคียงข้างกับลูกน้อย แต่ไม่นานต่อมากลับพบว่าตัวเองรู้สึกเศร้าสร้อย สับสน และเป็นกังวลในเรื่องที่ทำหน้าที่แม่ไม่ดีพอ เพราะกลัวว่าจะเลี้ยงลูกไม่ได้บ้าง กลัวว่าจะเลี้ยงได้ไม่ดีบ้าง ความรู้สึกเช่นนี้อาจจะมาจากสุขภาพร่างกายหลังคลอด ยังกลับมาไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณแม่ยังรู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกไม่ว่าไม่มีแรง ยิ่งนอนพักผ่อนไม่เพียงพอแล้วด้วย ก็ยิ่งทำให้คุณแม่เกิดภาวะเครียดจนกลายเป็นความสับสน และซึมเศร้าหลังคลอดนั่นเอง

ภาวะอาการซึมเศร้า มีผลต่อสุขภาพของคุณแม่อย่างไร

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่มีความสงสัยว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนี้ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่มากน้อยเพียงใด แล้วจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้น คุณแม่จะมีอาการเบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หรือนอนทั้งวัน คิดว่าชีวิตไม่มีค่า ถ้าคุณแม่ไม่ได้รับการรักษา โดยการปลอดโยน หรือการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว อาการอาจจะรุนแรงขึ้นถึงขั้น เป็นโรคจิตหลังคลอดได้ ซึ่งคุณแม่จะมีอาการหงุดหงิด สับสน นอนไม่หลับ ถ้ามีใครขัดใจก็จะมีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ จนบางครั้งอาจถึงขั้นทำร้ายลูกได้ อาการเหล่านี้จำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับการรักษาจะอย่างถูกต้องและเหมาะสมค่ะ

ทั้งนี้ การให้กำเนิดลูกน้อยถือเป็นหน้าที่ และความภาคภูมิใจอย่างมากของคนเป็นแม่ แต่ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดนั้น ระดับฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้อารมณ์ของคุณแม่แปรปรวน และทำให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้าหลังคลอดได้ ดังนั้น เพื่อให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก คุณแม่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกต้องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ผลเสียของภาวะซึมเศร้าที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้า จะทำให้สุขภาพร่างกายของคุณแม่เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เพราะในช่วงหลังคลอดกว่าร่างกายจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ จะต้องอาศัยการบริหารร่างกาย และการรับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน แต่ภาวะอาการซึมเศร้าจะทำให้คุณแม่สามารถรับประทานอาการได้ปกติ ส่วนเรื่องของการบริหารร่างกายก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะ แถมยังไม่สามารถเลี้ยงลูกได้อีกด้วย พอกินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายก็แย่ลงเรื่อย ๆ จริงไหมค่ะ

ถ้าคุณแม่ปล่อยให้ตัวเองเป็นเช่นนี้ต่อไป แน่นอนว่าส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีของลูกรัก อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป ซึ่งเป็นผลมากจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง และที่แย่ไปกว่านั้น อาจถึงขั้นทำร้ายลูก ทำร้ายตัวเองเลยก็มีนะคะ นอกจากนี้ทารกที่มีคุณแม่หลังคลอดป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อโตขึ้นจะแสดงออกถึงพฤติกรรมต่อต้านสังคม เช่น โกหก ขโมยของ อารมณ์ร้อน ชอบใช้กำลัง ชอบแกล้งเพื่อนและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ไม่ได้ จนสุดท้ายไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมต่อไปได้

แนวทางการรักษาภาวะซึมเศร้า

Sponsored

การบำบัดอาการซึมเศร้านั้น สามารถรักษาด้วยยา และการเอาใจใส่ดูแลจากคนในครอบครัว ถึงแม้ยาจะสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าลงได้ แต่การรับประทานยาอาจมีผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม ปากแห้งและมึนงง ถ้าคุณแม่ทนอาการแพ้ยาไม่ไหว ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเปลี่ยนยาถ้าภาวะซึมเศร้ามีอาการรุนแรงในช่วงก่อนมีประจำเดือน คุณแม่ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ เพื่อที่แพทย์จะได้สั่งยาเพิ่ม เช่น ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อป้องกันอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน พักผ่อนให้มาก ๆ ไม่ควรอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักในช่วงนี้ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย

นอกจากนี้ ถ้าคุณแม่รู้สึกว่ามีอาการนอนไม่หลับ หรือรับประทานอาหารไม่ได้จนร่างกายอ่อนเพลียมาก คุณแม่อาจต้องนอนพักโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือ ให้สารอาหารบำรุงร่างกาย และเพื่อป้องกันร่างกายทรุดโทรมไปมากกว่านี้

วิธีป้องกันภาวะอาการซึมเศร้าหลังคลอด

คุณแม่สามารถเริ่มป้องกันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ได้ โดยการเตรียมความพร้อมที่จะเป็นแม่ เริ่มจากการวางแผนการมีลูกร่วมกันกับคุณพ่อ ว่าจะมีลูกเมื่อมีฐานะ และอาชีพที่มั่นคง มีชีวิตการสมรสที่ราบรื่น หรือคุณพ่อ คุณแม่ได้คุยปรึกษาหารือกันมาเป็นอย่างดี แล้วพร้อมรับสมาชิกใหม่ รวมทั้งคุณแม่ควรบำรุงร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อจะเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย ที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เพราะระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะทำงานหนักเพื่อประคับประคองให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์สมบูรณ์แข็งแรงและคลอดออกมาอย่างปลอดภัย การวางแผนที่เป็นไปอย่างราบรื่นจะช่วยลดความวิตกกังวลของคุณแม่ลงได้

นอกจากนี้การฝากครรภ์ ยังเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับคุณแม่มือใหม่ สามารถช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย ลดความกังวลในขณะตั้งครรภ์ได้ เพื่อให้การตั้งครรภ์นั้น ดำเนินไปอย่างปกติ คุณแม่จะได้หมดห่วง ไม่ต้องมานั่งวิตกกังวลกับการตั้งครรภ์และหลังคลอดมากนัก อย่างไรก็ตาม การดูแลของคนในครอบครัวสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าของคุณแม่หลังคลอดได้ดีที่สุด ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้อย่าปล่อยให้คุณแม่หลังคลอดเลี้ยงดูลูกน้อยเพียงลำพังนะคะ คุณพ่อจะต้องช่วยดูแลลูกไปพร้อมกัน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เท่านี้ก็จะผ่านพ้นภาวะอาการเหล่านี้ไปได้ค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ปอดอักเสบ เกิดจากอะไร? แม่ท้องเป็นโรคนี้จะส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม

2.อาการท้องแรก และ 7 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้